xs
xsm
sm
md
lg

“ฮิมาวาริ – 8” ดาวเทียมค้างฟ้าสัญชาติญี่ปุ่น ที่ทำให้มนุษย์รู้จักพายุมากยิ่งขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ดาวเทียมฮิมาวาริ” (Himawari-8) ได้กลายมาเป็นหนึ่งในดาวเทียมชื่อคุ้นหูในช่วงฤดูฝนนี้ เนื่องจากเป็นดาวเทียวที่ได้บันทึกภาพพายุหมุนเขตร้อนในมุมมองจากอวกาศที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ และพยากรณ์ระดับความรุนแรงของพายุ ทิศทางการเครื่องที่ของพายุ ในพื้นที่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก ไม่ว่าจะเป็น “ซูเปอร์ไต้ฝุ่นหินหนามหน่อ” ที่พัดถล่มประเทศญี่ปุ่นด้วยความรุนแรงในรอบ 70 ปี หรือ พายุไต้ฝุ่นโนรู ที่พัดถล่มประเทศฟิลิปปินส์ อินโดจีน และไทย ทำให้การเตือนภัยพิบัติมีประสิทธิภาพและลดความสูญเสียได้มากขึ้น MGROnline Science จึงขอพาไปทำความรู้จักกับดาวเทียมดวงนี้กัน


ฮิมาวาริ -8 เป็นดาวเทียมค้างฟ้าที่ใช้ในทางอุตุนิยมวิทยาที่ดำเนินการโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาประเทศญี่ปุ่น
(JMA) ในพื้นที่เอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ บินขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557 โดยจรวดนำส่ง H-IIA คำว่า “ฮิมาวาริ” นั้นเเปลว่า “ดอกทานตะวัน” โดยชื่อนี้มาจากการโคจรค้างฟ้าที่จะหันหน้าเข้าสู่โลกเพียงด้านเดียวและโคจรอยู่ที่ตำแหน่งเดิมซึ่งเปรียบเหมือนกับดอกทานตะวันที่หาพระอาทิตย์อยู่เสมอ ซึ่งสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นคือพระอาทิตย์


ดาวเทียมค้างฟ้าดวงนี้มีหน้าที่สังเกตการณ์บันทึกสภาพอากาศ สนับสนุนการพยากรณ์อากาศ สังเกตการณ์และติดตามพายุหมุนเขตร้อนติดตาม และอุตุนิยมวิทยาวิจัย ของหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาในประเทศต่างๆ ดาวเทียมสามารถสังเกตการณ์และถ่ายภาพได้ทุกๆ 10 นาที และข้อมูลที่บันทึกจากดาวเทียมฮิมาวาริ 8 หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาในประเทศอื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างเสรี จึงทำให้การคาดการความรุนแรง ทิศทางของพายุหมุนเขตร้อนในปัจจุบันสามารถทำได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทำให้มนุษย์โลกได้เห็นภาพพายุหมุนเขตร้อนจากมุมมองอวกาศอย่างชัดเจนอีกด้วย


สำหรับข้อมูลในเรื่อง “ดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า” นั้น ดาวเทียมประเภทนี้จะโคจรในอวกาศด้วยความสูงจากพื้นโลกประมาณ 35,700 กิโลเมตร โดยที่ความสูงระดับนี้ จะทำให้ดาวเทียมมีความเร็วในการโคจรรอบโลกเท่ากับความเร็วที่โลกหมุนนั่นเอง (ตามการคำนวณทางพลศาสตร์อวกาศ Space Dynamics) ทำให้ดาวเทียมจีโอและโลกจะเคลื่อนที่ไปพร้อมๆ กัน คือ อยู่ตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ไม่ขยับเคลื่อนที่ไปไหน


ดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นไปเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลก และมีทิศทางการโคจรทวนเข็มนาฬิกาเหมือนทิศทางการหมุนของโลก
วัตถุที่อยู่ในวงโคจรดังกล่าวจะมีคาบการโคจรเกือบเท่ากับของโลก คือ 23 ชั่วโมง 56 นาที 4 วินาที จึงทำให้เมื่อสังเกตวัตถุที่อยู่ในวงโคจรนี้จากโลก วัตถุจะปรากฏนิ่งในตำแหน่งเดิมตลอดเวลา จึงเรียกดาวเทียมในวงโคจรค้างฟ้านี้ว่า ดาวเทียมประจำที่ซึ่งส่วนมากเป็น ดาวเทียมสื่อสาร และ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ GISTDA


กำลังโหลดความคิดเห็น