xs
xsm
sm
md
lg

GISTDA โชว์ “นวัตกรรมโควิดไอแมพ” คว้ารางวัลเลิศรัฐ 2 ปีซ้อน ในการใช้เทคโนโลยีอวกาศทำงานเพื่อสังคม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2565 ด้านการบริการภาครัฐระดับดี ประเภทนวัตกรรมการบริการ จากผลงาน “นวัตกรรมเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ COVID - 19 iMAP เพื่อการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19” โดยเข้ารับมอบรางวัลฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี

ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ โฆษก GISTDA และผู้อำนวยการสำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งและครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่ GISTDA ได้รับรางวัลประเภทนี้ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา GISTDA ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในการทำงานเพื่อสังคมมาโดยตลอด รางวัลนี้ยิ่งช่วยตอกย้ำได้ว่าผลงานของ GISTDA เป็นที่ประจักษ์ในสังคมสามารถช่วยเหลือสังคมได้อย่างแท้จริง และยังนำความภาคภูมิใจส่งต่อไปยังทีมงานและผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมในการทำงาน ทุ่มเทแรงกายแรงใจและมีส่วนในการคิดเพื่อให้โครงการนี้ได้ไปต่อ จนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้


โฆษก GISTDA กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการ “นวัตกรรมเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ COVID-19 iMAP เพื่อการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19” นี้ เป็นเรื่องของนวัตกรรมบริการที่มีประโยชน์ต่อประเทศและสังคมโดยตรง เพราะที่ผ่านมารัฐบาลโดยศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศปก.ศบค.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขสถานการณ์โควิด 19 ได้นำระบบและแนวทางการบริหารสถานการณ์นี้ไปใช้และต่อยอดการพัฒนาระบบของแต่ละหน่วยงาน เพื่อการเชื่อมโยง เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการติดตาม การประเมิน การป้องกันและเฝ้าระวังพื้นที่ จนส่งผลให้เกิดการบริหารสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที


นอกจากนี้ ระบบ COVID-19 iMAP ยังสามารถต่อยอดการพัฒนาไปสู่พื้นที่อื่น จนเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานระดับนโยบายและหน่วยงานกำกับ ที่นำไปขยายผลให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศอีกกว่า 1,000 หน่วย เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/อำเภอ สำนักงานจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด สำนักงานแรงงานจังหวัด เป็นต้น จนเกิดแรงขับเคลื่อนให้หน่วยงานอื่น นำแนวคิดไปพัฒนาระบบเชิง Digital Platform เพื่อใช้ในภารกิจที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานจนเกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกว่า 30 เครือข่าย เช่น หน่วยงานจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จังหวัดสมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ทำให้การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างทันท่วงที โฆษก GISTDA กล่าว ทั้งนี้ หลังจากที่เราได้ภาพถ่ายจากดาวเทียมมาแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการผลิตและการจัดทำข้อมูลภาพเพื่อใช้ประโยชน์ตามภารกิจที่สำคัญของประเทศต่อไป


การส่งดาวเทียมภายใต้โครงการ THEOS-2 ขึ้นไปเป็นการยกระดับเทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประโยชน์การใช้งานที่มากขึ้น อีกทั้งยังทำเพื่อให้ไทยโชตและ THEOS-2 อีก 2 ดวง สามารถสนับสนุนกันและกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ และตอบโจทย์ความต้องการใช้งานได้มากขึ้นอีกด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น