xs
xsm
sm
md
lg

จาก “ทรัมเป็ต” เครื่องดนตรีเสียงสูง สู่ต้นแบบ “เครื่องช่วยฟัง” อุปกรณ์สื่อสารช่วยผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในปัจจุบันเรารู้กันว่า “เครื่องช่วยฟัง” เป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยิน (หูหนวก) และผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยิน ในการเป็นตัวช่วยในการรับเสียงและแปลความหมาย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการสื่อสารที่สำคัญในสังคมของมนุษย์

แต่ก่อนที่จะกลายมาเป็นอุปกรณ์ที่ทันสมัย เครื่องช่วยฟังนั้นมีต้นแบบมาจาก “ทรัมเป็ต” เครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง (แตร) ประเภทเสียงสูง ที่มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นท่อโลหะกลวงยาว บานตรงปลายคล้ายรูปถ้วย ส่วนนี้จะเป็นลำโพงที่เสียงจะถูกขยายให้เสียงดัง ก่อนหน้าที่กลายมาเป็นเครื่องดันตรี ได้ถูกเริ่มใช้ในการเป็นแตรสัญญาณล่าสัตว์หรือออกคำสั่งในทางทหาร แต่แตรลักษณะนั้นโดยมากจะไม่มีปุ่มกดเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้ไม่สามารถสร้างระดับเสียงที่แตกต่างกันได้มากนัก จนกระทั่งมีการคิดประดิษฐ์ปุ่มกดและกลไกต่างๆ ในการปรับระดับเสียง บุคคลที่ถือว่าเป็นผู้ออกแบบทรัมเป็ตที่สำคัญ คือ Johann Wilhelm Haas ชาวเยอรมัน ในช่วงปี ค.ศ. 1649 - 1723


จากกลไกในการขยายเสียงของทรัมเป็ต จึงได้ถูกนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาให้กลายมาเป็นเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการได้ยินเสียง ในชื่อ “ทรัมเป็ตหู” การใช้ทรัมเป็ตหูสำหรับคนหูหนวก ถูกบันทึกไว้โดยว่ามีขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 จากนักบวชนิกายเยซูอิตชาวฝรั่งเศส และนักคณิตศาสตร์ฌอง เลอเรชอน ในปี 1634 ซึ่งวัตถุที่นำมาใช้ช่วงแรกนำมาจาก แผ่นโลหะ ไม้ เงิน เขาสัตว์ เปลือกหอย


ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 การใช้งานทรัมเป็ตหูเริ่มแพร่หลายมากขึ้น และมีการออกแบบให้ทรัมเป็ตหูเป็นแบบพับได้ ให้เหมาะแก่การพกพาหรือจัดเก็บ ส่วนใหญ่จะเป็นการสำหรับลูกค้าเฉพาะรายเท่านั้น โมเดลที่มีชื่อเสียงของยุคนั้น ได้แก่ ทรัมเป็ตทาวน์เซนด์ ที่สร้างโดย จอห์น ทาวน์เซนด์ นักการศึกษาคนหูหนวก ทรัมเป็ตเรย์โนลด์ส สร้างขึ้นเป็นพิเศษสำหรับ จิตรกรโจชัว เรย์โนลด์ส


รูปแบบพื้นฐานของทรัมเป็ตหู จะมีกรวยที่ขยายเสียงรอบข้างและหลอดที่เสียบเข้าไปในหู เมื่อผู้ใช้ส่งเสียงจากแหล่งกำเนิด กรวยจะรับเสียงและส่งเสียงดังขยายเสียงแล้วนำไปไว้ในหลอดและส่งผ่านไปยังหูชั้นในทำให้ได้ยินชัดเจนขึ้น

บริษัทแรกที่เริ่มผลิตทรัมเป็ตหูในเชิงพาณิชย์ก่อตั้งขึ้นโดย เฟรเดอริก ซี. ไรน์ ในปี ค.ศ. 1800 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นอกจากการผลิตทรัมเป็ตหูแล้ว Rein ยังจำหน่ายพัดลมช่วยฟังและท่อสำหรับพูดด้วย เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้พลังงานเสียงมีสมาธิในขณะที่ยังพกพาได้ อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์เหล่านี้โดยทั่วไปแล้วจะเทอะทะและต้องได้รับการสนับสนุนทางร่างกายจากด้านล่าง ต่อมามีการใช้ทรัมเป็ตและโคนหูมือถือขนาดเล็กกว่าเป็น “อุปกรณ์ช่วยฟัง”


ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องช่วยฟังให้มีความทันสมัยและมีรูปลักษณ์ที่เหมาะสมกับใบหู อีกทั้งยังมีการรับและแปลภาษาได้หลากหลายมากขึ้น โดยอุปกรณ์หลักๆ ของเครื่องคือ ไมโครโฟน ลำโพง และเครื่องขยายเสียง โดยไมโครโฟนจะเป็นตัวรับเสียง และส่งต่อไปยังตัวขยายเสียงให้เสียงที่ได้รับดัง และลำโพงจะเป็นตัวที่ปล่อยเสียงออกมา


การสังเกตกลไกของเครื่องดนตรี จนได้ถูกพัฒนาให้ได้กลายมาเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถช่วยผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยิน ให้ได้ยินและสื่อสารได้เหมือนคนปกติทั่ว เราจึงต้องขอบคุณเหล่านักประดิษฐ์ในยุคก่อน ที่ได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จนได้กลายมาเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือการสื่อสารของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม ให้มีชีวิตได้อย่างราบรื่นในปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : หูอื้อหูตึง.com / hmong.in.th /eent.co.th 


กำลังโหลดความคิดเห็น