xs
xsm
sm
md
lg

สำนักงานการวิจัย แนะแนวทางการให้ทุนวิจัยแบบพหุภาคี GRC สนับสนุนการวิจัยร่วมระหว่างประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมนำเสนอแนวทางการให้ทุนวิจัยแบบพหุภาคีในเวทีการประชุมสภาวิจัยโลก (Global Research Council: GRC) ประจำปี 2565 ณ ประเทศปานามา


ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ Governing Board Member of Global Research Council (GRC) ร่วมนำเสนอแนวทางการให้ทุนวิจัยแบบพหุภาคีในการประชุมหัวข้อ “Multilateral funding for research: What are the challenges? What is the role of the GRC?” ซึ่งจัดขึ้นภายใต้การประชุมสภาวิจัยโลก (GRC) ประจำปี 2565 ณ ประเทศปานามา ในรูปแบบ Hybrid ร่วมกับผู้แทนอีก 4 หน่วยงาน ได้แก่ 

1. Dr. Pavel Kabat จากโปรแกรม The Human Frontier Science Programme (HFSP), 
2. Dr. Maria Uhle จากโปรแกรม Belmont Forum 
3. Dr. Marc Schiltz, President of Science Europe จากโปรแกรม Weave 
4. Prof. Fulufhelo Nelwamondo, CEO of National Research Foundation, South Africa จากโปรแกรม SDG GRC pilot


ดร.วิภารัตน์ฯ ได้กล่าวถึง e-ASIA Joint Research Program หรือ e-ASIA JRP ว่าเป็นโครงการความร่วมมือแบบพหุภาคีในระดับนานาชาติที่ประสบความสำเร็จของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีสมาชิกรวม 15 ประเทศ 22 หน่วยงาน ได้แก่ ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และมีประเทศที่สนใจเข้าร่วม เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา เพื่อสนับสนุนการวิจัยร่วมระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกบนพื้นฐานความร่วมมือแบบพหุภาคีในรูปแบบ "Co-funding" ทั้งนี้ วช. ได้เข้าร่วม e-ASIA JRP เมื่อปี พ.ศ.2562 เนื่องจากเล็งเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างสาขาการวิจัยที่เป็น Priority ของ วช. กับกลุ่มสาขาการวิจัยเป้าหมายของ e-ASIA JRP และเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิจัยไทยได้มีโอกาสพัฒนาข้อเสนอโครงการร่วมกับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกอื่นๆ จากทั่วทุกมุมโลก


วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เข้าร่วมการประชุม GRC Annual Meeting อย่างต่อเนื่องทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2557 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2558 ณ ประเทศญี่ปุ่น และครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 โดย ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ณ สหพันธรัฐรัสเซีย และเข้าร่วม GRC Regional Meeting ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 4 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2555 ณ ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2556 ณ สาธารณรัฐเกาหลี และถัดมาในปี พ.ศ. 2562 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติในขณะนั้น ได้เข้าร่วมประชุม ณ ประเทศอินโดนีเซีย และครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมี ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว.เข้าร่วมด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น