xs
xsm
sm
md
lg

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ยอดพืชสมุนไพรท้องถิ่นผลิตเครื่องสำอาง ปลอดภัยไม่มีสารเคมี รุกขยายพื้นที่ปลูกกัญชาถูกกฎหมายทำสารสกัด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ยอดพืชสมุนไพรท้องถิ่นผลิตเครื่องสำอาง ปลอดภัยไม่มีสารเคมี ผสมผสานกับภูมิปัญญาและเทคโนโลยีการผลิตภายใต้ระบบมาตรฐาน GMP ทำห้องสกัดมาตรฐาน อย. รุกขยายพื้นที่ปลูกกัญชาถูกกฎหมายทำสารสกัด

เมื่อวันที่ 25 พ.ค.น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผอ.กลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ ภายใต้กองส่งเสริมและประสานเพื่อประ โยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ หรือ อว. เปิดเผยว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพะเยา ดำเนินโครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศและโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ซึ่งกำกับดูแลโดย สกสว.ผ่านแผนงานการพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนชีววิถีตำบลน้ำเกี๋ยน จ.น่าน ที่เน้นการนำพืชสมุนไพรในท้องถิ่น เช่น ใบหมี่ ดอกอัญชันมะเฟือง มะกรูด มะขาม ขมิ้นชัน มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอางสมุนไพร ปลอดภัยไม่มีสารเคมีผสมผสานกับภูมิปัญญาและการใช้เทคโนโลยีการผลิตภายใต้ระบบมาตรฐาน GMP สามารถพัฒนาจนผลิตภัณฑ์มีคุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) รางวัลคุณภาพการผลิต อย.ควอลิตี้ อวอร์ตปี 2557 ปี 2560 และได้รับรางวัลวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับประเทศของกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2559 ผลิตภัณฑ์ทุกชนิด เน้นการใช้สมุนไพรเพื่อสนับสนุนให้สมาชิกปลูกสมุนไพร นำรายได้สู่ชุมชน เพิ่มโอกาสให้คนในท้องถิ่นมีงานทำและมุ่งมั่นที่จะเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม นำผลกำไรที่ได้ในแต่ละปีมาพัฒนาชุมชน

น.ส.ทิพวัลย์ กล่าวต่อว่า อุทยานฯ ได้เข้ามาสนับสนุนการจัดทำระบบจัดเก็บวัตถุดิบและการพัฒนาผลิต ภัณฑ์ชาเชียงดา(ชนิดซอง) ผ่านโครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรมและจัดตั้งหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเข้าร่วมแผนงานการพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการรวมทั้งการพัฒนาพื้นที่สำหรับการจัดตั้งหน่วยวิจัยและพัฒนาและอยู่ระหว่างการปรับปรุงพื้นที่ของห้องสกัดสารสกัดสมุน ไพรรวมถึงการรับรองมาตรฐาน GHP จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เป็นต้น

“วิสาหกิจชุมชนชีววิถีมีแผนขยายพื้นที่สำหรับปลูกกัญชาถูกกฎหมายและได้มองถึงการทำหน่วยวิจัยและพัฒนาที่ได้จัดตั้งภายใต้แผนงานการพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ(IRD Cap) ที่จะสามารถสนับสนุนการสกัดสารสกัดจากกัญชาได้ในอนาคต” น.ส.ทิพวัลย์ กล่าว








กำลังโหลดความคิดเห็น