xs
xsm
sm
md
lg

ภาพพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่ใกล้ที่สุด ถ่ายด้วยกล้องบนโลกเราเอง

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่บันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์ DKIST บนโลก (HO / NSO/NSF/AURA / AFP)
เปิดภาพพื้นผิวดวงอาทิตย์ความละเอียดสูง ที่เผยให้เห็นพื้นผิวดวงอาทิตย์ในมุมที่ใกล้ที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ ซึ่งเต็มไปด้วย “แก๊สเดือด” ที่ปกคลุมดวงอาทิตย์ทั้งดวง

หอสังเกตดวงอาทิตย์แห่งสหรัฐฯ (National Solar Observatory) หรือ NSO ได้เผยภาพพื้นผิวดวงอาทิตย์ความละเอียดสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกได้นี้ ภาพดังกล่าวบันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์ศึกษาดวงอาทิตย์แดนียล เค อิโนเย (Daniel K. Inouye Solar Telescope) หรือกล้อง DKIST

ภาพพื้นผิวดวงอาทิตย์บันทึกที่ความยาวคลื่น 789 นาโนเมตร ทำให้เราเห็นรายละเอียดของดวงอาทิตย์เล็กลงไปได้ถึงระดับ 30 กิโลเมตร ซึ่งเป็นความละเอียดสูงสุดที่เคยบันทึกได้เป็นครั้งแรก โดยภาพได้เผยให้เห็นแก๊สที่กำลังเดือดปกคลุมทั่วดวงอาทิตย์ทั้งดวง

ลักษณะโครงสร้างที่คล้ายเซลล์ (บางก็ว่าคล้ายเมล็ดข้าวโพดคั่ว) แต่ละเซลล์นั้นมีขนาดเท่ากับรัฐเท็กซัส และเป็นลักษณะจำเพาะของการเคลื่อนไหวอันดุเดือดที่นำส่งความร้อนจากภายในดวงอาทิตย์ขึ้นสู่พื้นผิวของดวงอาทิตย์เอง

สสารที่ร้อนจัดของดวงอาทิตย์พลาสมา (plasma) นั้นพุ่งออกจากศูนย์กลางอันสว่างจ้าของ “เซลล์” เมื่อเย็นลงก็ตกสู่พื้นผิวด้านล่างบริเวณที่เป็นเส้นทึบ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเรียกว่า “คอนเวกชัน” (convection)

บริเวณเส้นทึบนั้นเรายังเห็นสนามแม่เหล็กที่สว่างเจิดจ้าเป็นแถบเล็กๆ ซึ่งเป็นรายละเอียดที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน เชื่อว่าแถบสว่างเหล่านี้เป็นช่องทางให้ช่องทางพลังงานที่ปล่อยออกสู่พื้นผิวชั้นนอกของชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า “โคโรนา” โดยจุดสว่างเหล่านี้อาจเป็นแก่นของสาเหตุว่าทำไมโคโรนาของดวงอาทิตย์นี้จึงมีอุณภูมิสูงมากกว่าล้านองศาเซลเซียส

ภาพพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่บันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์ DKIST บนโลก (HO / NSO/NSF/AURA / AFP)

กล้องโทรทรรศน์ DKIST บนโลก ที่บันทึกภาพพื้นผิวได้ความละเอียดสูงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ (HO / NSO/NSF/AURA / AFP)


กำลังโหลดความคิดเห็น