xs
xsm
sm
md
lg

ถ่ายดาวดอยไหน ห่างไกล PM 2.5

เผยแพร่:   โดย: ศุภฤกษ์ คฤหานนท์




อันดับ 2 ดอยผ้าห่มปก อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,285 เมตร

อันดับ 3 ดอยหลวงเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,225 เมตร

อันดับ 4 ภูสอยดาว อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,102 เมตร

อันดับ 5 ดอยลังกาหลวง จ.เชียงราย มีมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,031 เมตร

อันดับ 6 ขุนแม่ยะ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,020 เมตร

1. ค่าความสว่างของท้องฟ้า (Sky brightness) มีผลต่อการถ่ายภาพที่มีความสว่างน้อยๆ หากท้องฟ้ามืดไม่สนิท วัตถุบางอย่าง เช่น เนบิวลามืดก็ยากที่จะถ่ายภาพให้ได้รายละเอียดที่ดี

2. ค่าทัศนวิสัยท้องฟ้า (Seeing Test) ที่วัดจากค่า FWHM ซึ่งส่งผลต่อความนิ่งของท้องฟ้าที่ตาเปล่าไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ซึ่งความสั่นไหวของสภาพอากาศนั่นก็มีผลอย่างมากกับภาพที่ใช้ทางยาวโฟกัสสูงๆ

3. ค่าความชื้นในอากาศ (Humidity) เพราะหากมีความชื้นสูงมากๆ ก็มักทำให้หน้ากล้องเกิดฝ้า ไอน้ำเกาะได้ง่าย และการถ่ายภาพประเภทที่ต้องใช้เวลาถ่ายภาพนานๆ นั้นความชื้นในอากาศไม่ควรมีค่าสูง เนื่องจากส่งผลต่อเวลาในสการถ่ายภาพที่สั่นลง (กล้องเปียก) แต่ในช่วงหน้าหนาวของดอยอินทนนท์ อากาศค่อนข้างแห้งเหมาะแก่การถ่ายภาพตลอดทั้งคืน


4. มลภาวะทางแสง (Light Pollution) คือปัญหาหลักของการถ่ายภาพเลยทีเดียว ปัจจุบันบริเวณรอบเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ได้ดำเนินโครงการลดมลภาวะทางแสง โดยการเปลี่ยนหลอดไฟทั่วทั้งอุทยานให้เป็นแบบ LED ป้องกันแสงที่อาจจะฟุ้งกระจายขึ้นบนท้องฟ้า เพื่อทำให้บริเวณยอดดอยอินทนนท์เป็นเขตอนุรักษ์ความมืดของท้องฟ้าของประเทศไทย (Dark Sky Area)

ถ่ายภาพ Deep Sky ภายใน 30 วินาที กับฟ้าดีๆ ที่อินทนนท์



นอกจากภาพถ่ายวัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึกแล้ว ดอยอินทนนท์ยังมีมุมถ่ายภาพอีกมากมายไว้คอยให้นักถ่ายภาพตามเก็บภาพวิวธรรมชาติกับดวงดาวกันอีกหลากหลายรูปแบบ ดังนี้

แสงสนธยา (Twilight) และแสงจักรราศี (Zodiacal Light)


ในการถ่ายภาพแสงจักรราศี นั้นหากสภาพท้องฟ้าไม่ใสเคลียร์และไม่มืดสนิท จะไม่สามารถถ่ายภาพได้เลย ดังนั้นในบริเวณที่มีสภาพท้องฟ้าที่ดี เช่น ยอดดอยอินทนนท์ ก็สามารถถ่ายภาพแสงจักรราศีออกมาได้ไม่ยากครับ โดยอาจเรียกได้ว่า ที่ไหนฟ้าจะดีไม่ดี ใช้วิธีการถ่ายภาพแสงจักรราศีนี้วัดกันดูได้ครับ

ภาพเส้นแสงดาวที่สามารถถ่ายแบบลากยาวๆ ได้ทั้งคืน



การถ่ายภาพเส้นแสงดาวที่มีคุณภาพท้องฟ้าดีนั้น เราจะได้เส้นแสงดาวที่ต่อเนื่องมีความสม่ำเสมอของเส้นแสงดาว ซึ่งบ่งบอกถึงค่าทัศนวิสัยของท้องฟ้าที่ดีได้อีกด้วย
ภาพถ่ายทางช้างเผือก


การถ่ายภาพทางช้างเผือกให้ได้รายละเอียดของทั้งเนบิวลาสว่าง เนบิวลามืดและกระจุกดาว ให้ครบนั้น จำเป็นต้องอาศัยท้องฟ้าที่ใสเคลียร์และมืดสนิทเท่านั้น จึงจะทำให้เราได้ภาพถ่ายที่มีรายละเอียดที่ครบถ้วน และสามารถนำมาปรับแต่ง ดึงรายละเอียดในส่วนต่างๆ ได้ในภายหลัง

ภาพถ่ายทางช้างเผือกพาโนรามา


จากปัจจัยต่างๆ มีผลกระทบจากที่กล่าวมานั้น ทำให้ "ยอดดอยอินทนนท์” ถูกจัดเป็นอันดับ 1 ของสถานที่ถ่ายดาวที่ดีที่สุดของประเทศ เพราะสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับสร้างหอดูดาวระดับต้นๆ ของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับช่วงนี้หากใครที่กำลังมองหาสถานที่ถ่ายดาว ก็ลองหาสถานที่ตามที่แนะนำ ไม่ว่าจะเป็นความสูง ความมืด ความชื้น และการเดินทางที่สะดวกประกอบการตัดสินใจเลือกสถานที่กันด้วยนะครับ เพราะหาวางแผนดี เราก็มีโอกาสได้ภาพสวยๆ กันไม่ยากครับ



เกี่ยวกับผู้เขียน
ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ปัจจุบันเป็นหัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”

“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”

อ่านบทความ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์" โดย ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน



กำลังโหลดความคิดเห็น