xs
xsm
sm
md
lg

ไทย-เยอรมันใช้พลังงานแสงอาทิตย์นำร่องโรงงานแอร์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

(ซ้ายไปขวา) นายไพรัตน์ เอื้อชูยศ ประธานกรรมการบริษัทสตาร์ (ประเทศไทย) จำกัด, ดร.คริสทิเนอ ฟัลเคน-โกรสเซอร์ ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการค้า สถานเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย นายโทมัส โครเม็ทซ์กา ผู้อำนวยการโครงการพลังงานทดแทน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) นายมาริอุส เมฮ์เนอร์ รองผู้อำนวยการและหัวหน้าแผนกการบริการให้คำปรึกษา หอการค้าเยอรมัน-ไทย และนายอภิรักษ์ เกตุมณี กรรมการผู้จัดการของบริษัท BISReZeca ซึ่งติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เยี่ยมชมระบบโซลาร์ดังกล่าว
ไทย-เยอรมัน ร่วมผลักดันการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ นำร่องโรงงานแอร์ ประหยัดค่าใช้จ่าย 500,000 บาทต่อเดือน

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย จัดงานเปิดโครงการโซลาร์รูฟท็อปไทย-เยอรมัน ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาของโรงงานสตาร์แอร์ เมื่อ 14 มิ.ย.60 ที่ผ่านมา โรงงานดังกล่าวติดตั้งเป็นระบบโซลาร์ขนาด 1 เมกะวัตต์ที่ใช้เทคโนโลยีเยอรมัน ปัจจุบันใช้ไฟฟ้าจากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาของโรงงานแทนการซื้อไฟฟ้าจากสายส่งไฟฟ้า ประหยัดค่าใช้จ่ายของโรงงานได้ประมาณ 500,000 บาทต่อเดือน การคืนทุนของระบบลดลงจากระยะเวลาปกติ 7 ปีเหลือเพียง 3 ปีครึ่ง จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อประหยัดพลังงานจึงได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี

ภายหลังเปิดงานแล้ว นายไพรัตน์ เอื้อชูยศ ประธานกรรมการบริษัทสตาร์ (ประเทศไทย) จำกัด, ดร.คริสทิเนอ ฟัลเคน-โกรสเซอร์ ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการค้า สถานเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย นายโทมัส โครเม็ทซ์กา ผู้อำนวยการโครงการพลังงานทดแทน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) นายมาริอุส เมฮ์เนอร์ รองผู้อำนวยการและหัวหน้าแผนกการบริการให้คำปรึกษา หอการค้าเยอรมัน-ไทย และนายอภิรักษ์ เกตุมณี กรรมการผู้จัดการของบริษัท BISReZeca ซึ่งติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เยี่ยมชมระบบโซลาร์ดังกล่าวด้วย

สำหรับโปรแกรมพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน (PDP) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งดำเนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ได้ติดตั้งระบบติดตามประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเก็บข้อมูลปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงงานสตาร์แอร์ ทั้งนี้เจ้าของโรงงานและผู้พัฒนาโครงการเชื่อมั่นว่าจะมีการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
กำลังโหลดความคิดเห็น