xs
xsm
sm
md
lg

ภาพชุด...ความลำบากในการผสมพันธุ์ “สตรอว์เบอร์รี”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

มงคล ศิริจันทร์ สาธิตการผสมพันธุ์สตรอว์เบอร์รี
กว่าจะเป็น “สตรอว์เบอร์รี” อร่อยๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย วันนี้ “ผู้จัดการวิทยาศาสตร์” จะพาไปชมขั้นตอนการผสมพันธุ์สตรว์เบอร์รีเพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ๆ สาธิตโดยนักศึกษาปริญญาเอกผู้จับงานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้สตรอว์เบอร์รีพันธุ์ใหม่สำหรับโครงการหลวง

มงคล ศิริจันทร์ นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งทำวิทยานิพนธ์เรื่องการปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รีพระราชทาน บอกถึงความยากลำบากในการปรับปรุงพันธุ์ว่าอยู่ในขั้นตอนการผสมพันธุ์สตรอว์เบอร์รี

เนื่องจากดอกของสตรอว์เบอร์รีเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีทั้งรังไข่เพศเมียและเกสรตัวผู้อยู่ในดอกเดียวกัน ในการผสมเกสรตัวผู้จากต้นสตรอว์เบอร์รีต้นพ่อที่มีลักษณะตามต้องการเข้ากับต้นแม่ที่มีลักษณะตามที่เลือกไว้ มงคลจึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการผสมกันเองภายในต้นแม่ โดยต้องเด็ดละองงเกสรของต้นแม่ออกให้หมด แล้วนำละอองจากเกสรจากต้นที่ต้องการมาผสมต้นแม่

เมื่อผสมพันธุ์เกสรจากต้องพ่อที่ต้องการให้ต้นแม่แล้ว ก็ต้องคลุมถุงป้องกันละอองเกสรตัวผู้จากที่อื่นปลิวมาผสมกับต้นแม่ เมื่อดอกสตรอว์เบอร์รีผ่านการผสมพันธุ์แล้วดอกสตอรว์เบอร์รีจะบานออก ซึ่งในการปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รีนั้นมงคลต้องผสมเกสรให้สตรอว์เบอร์รีนับเป็นพันๆ ต้น

ชมลำดับการผสมเกสรและขั้นตอนการเพาะเมล็ดสตรอว์เบอร์รี



เลือกดอกที่ยังตูม ซึ่งแสดงว่ายังไม่ผ่านการผสมเกสร แล้วเด็ดกลีบเลี้ยงออกให้หมด
จากนั้นเด็ดกลีบดอกออกตามลำดับ
เด็ดเกสรตัวผู้ซึ่งเป็นตุ่มสีเหลืองออกให้หมด
ใช้พู่กันเก็บละอองเกสรตัวผู้ของต้นพ่อที่ต้องการ
ใช้พู่กันเก็บละอองเกสรตัวผู้มาผสมดอกของต้นแม่
ใช้ถุงคุลมป้องกันการผสมจากละอองเกสรของต้นอื่น พร้อมระบุพันธุ์ต้นพ่อ ต้นแม่ และวันที่ผสมเกสร
รอจนกระทั่งผลสตรอว์เบอร์รีโต
ใช้มีดฝานเก็บเมล็ดสตอรว์เบอร์รีแล้ววางบนกระดาษทิชชู่เพื่อตากแดดจนแห้งเพื่อเก็บเมล็ด
หลังจากเก็บเมล็ดแล้วนำเมล็ดไปแช่ตู้เย็น 3 วันเพื่อหยุดระยะพักตัว แล้วจึงนำไปโรยบนวัสดุเพาะเมล็ด
รอจนเมล็ดงอก
จากนั้นย้ายต้นอ่อนใส่ถ้วยแยกเพาะเพื่อเลี้ยงจนโต
รอสตรอว์เบอร์รีโตจนออกผลแล้วเก็บตัวอย่างไปศึกษาหาคุณสมบัติที่ต้องการ
สำหรับวิทยานิพนธ์ของมงคลนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน ซึ่งได้รับการสนันสนุนจากโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมูลนิธิโครงการหลวง

ติดตามเรื่องการราวการปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รีเพื่อให้ได้พันธุ์ที่สามารถ “กินเป็นยา” จากผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ที่นี่

- สักวันเราจะได้กิน “สตรอว์เบอร์รีเป็นยา”






กำลังโหลดความคิดเห็น