xs
xsm
sm
md
lg

นักวิจัยญี่ปุ่นรับ “โนเบลแพทย์” จากการค้นพบกลไกกินตัวเองของเซลล์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ภาพ โยชิโนริ โอซูมิ เผยแพร่โดยคณะกรรมการรางวัลโนเบลระหว่างประกาศผลเมื่อวันที่ 3 ต.ค.2016 (JONATHAN NACKSTRAND / AFP)
นักวิจัยญี่ปุ่นรับ “โนเบลแพทย์” จากการค้นพบกลไกกินตัวเองของเซลล์ ซึ่งหากกระบวนการดังกล่าวถูกรบกวนจะเป็นสาเหตุของพาร์กินสันและโรคเบาหวานได้

คณะกรรมการรางวัลโนเบล ประกาศผลรางวัลโนเบล สาขา สาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์ ประจำปี 2016เมื่อวันที่ 3 ต.ค.2016 เวลา 16.30 น. ตามเวลาประเทศไทย แก่ โยชิโนริ โอซูมิ (Yoshinori Ohsumi) จากการค้นพบ “กลไกการกินตัวเองของเซลล์” (mechanism for autophagy)

คณะกรรมการรางวัลโนเบลอธิบายว่า กระบวนการที่เซลล์กลืนกินตัวเองนี้ หากถูกขัดขวางจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคพาร์กินสัน (Parkinson) หรือโรคเบาหวานได้

“การกลายพันธุ์ในกระบวนการกลืนกินตัวเองในยีนนี้จะเป็นสาเหตุของโรคต่่างๆ ได้ และกระบวนการกลืนกินตัวเองนี้ยังพบมีส่วนในการเจ็บป่วยหลายๆ อย่าง ซึ่งรวมถึงมะเร็ง และโรคทางประสาทด้วย” คณะกรรมการระบุ

สำหรับโอซูมินั้นเกิดที่เมืองฟูกูโอกะ ญี่ปุ่น เมื่อปี 1945

ส่วน รางวัลโนเบล สาขา สาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์ มอบรางวัลโดย สมัชชาโนเบลที่สถาบันแคโรลินสกา (The Nobel Assembly at the Karolinska Institute) สตอกโฮล์ม สวีเดน

ทั้งนี้ โอซูมิจะได้รับเงินรางวัล 8 ล้านโครน หรือประมาณ 32 ล้านบาท

อ่านเพิ่มเติม

- รู้จักไหม... “กลไกกลืนกินตัวเอง” ผลงานรางวัลโนเบลแพทย์
โธมัส เพิร์ลมานน์ (Thomas Perlmann) คณะกรรมการรางวัลโนเบล สาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ ประกาศผลประจำปี 2016 (JONATHAN NACKSTRAND / AFP)
ภาพจำลองอธิบายถึงงานที่ค้นพบโดย โยชิโนริ โอซูมิ ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์ (JONATHAN NACKSTRAND / AFP)









กำลังโหลดความคิดเห็น