xs
xsm
sm
md
lg

สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร “สุริยุปราคาเต็มดวง” ณ อินโดนีเซีย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ณ เมืองเตอร์นาเต สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

9 มี.ค.59 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ณ วังสุลต่านเตอร์นาเต เมืองเตอร์นาเต สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร ประธานคณะกรรมการบริหาร สดร. รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ นำทีม สดร. ตั้งกล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์ทั้งการสังเกตการณ์ทางตรงและการสังเกตการณ์ทางอ้อมถวายทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง

ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้นำกล้องถ่ายภาพส่วนพระองค์มาใช้บันทึกภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ด้วย

รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวว่า สุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 9 มีนาคม 2559 เป็นสุริยุปราคาลำดับที่ 52/73 ในชุดซารอสที่ 130 แม้ว่าแนวคราสเต็มดวงส่วนใหญ่จะพาดผ่านมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ในช่วงต้นของคราส เงามืดของดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ผ่านแผ่นดินที่เป็นเกาะใหญ่ๆ ของประเทศอินโดนีเซียหลายเกาะด้วยกัน อาทิ เกาะสุมาตรา กาลิมันตัน สุลาเวสี และหมู่เกาะโมลุกกะ

การเกิดคราสครั้งนี้ ดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังนานที่สุดถึงกว่า 4 นาที แม้ว่าจุดที่เกิดคราสเต็มดวงนานที่สุดนี้จะอยู่ในมหาสมุทร แต่ในช่วงต้นของปรากฏการณ์การเกิดคราสที่พาดผ่านแผ่นดินบริเวณหมู่เกาะโมลุกกะและสุลาเวสี จะนานถึงกว่า 3 นาที

เงามืดของดวงจันทร์จะข้ามผ่านเส้นศูนย์สูตรในบริเวณทะเลโมลุกกะ (Molucca Sea) และผ่านเกาะ น้อยใหญ่หลายเกาะในเมืองใหญ่สุดในบริเวณนี้ได้แก่ เตอร์นาเต (Ternate) แม้เมืองเตอร์นาเตจะอยู่ห่างจากแนวกึ่งกลางคราสไปทางเหนือประมาณ 44 กิโลเมตร แต่เวลาที่คราสเต็มดวงยังกินเวลานานถึง 2 นาที 41 วินาที รวมถึงบริเวณดังกล่าว ดวงอาทิตย์อยู่สูงจากขอบฟ้าประมาณ 40-50 องศา

ลำดับการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 9 มีนาคม 2559 ตามเวลาท้องถิ่น ณ เมืองเตอร์นาเต สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เริ่มต้นคราสบางส่วน เมื่อขอบดวงจันทร์แตะขอบดวงอาทิตย์ในเวลาประมาณ 08:36 น. เข้าสู่ช่วงคราสเต็มดวง เมื่อดวงจันทร์เริ่มบดบังดวงอาทิตย์ทั้งดวง ในเวลาประมาณ 09:51 น. และเข้าสู่ช่วงกลางคราส ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มากที่สุดเวลาประมาณ 09:53 น. จากนั้นสิ้นสุดช่วงคราสเต็มดวง ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนออกจากดวงอาทิตย์ เมื่อเวลาประมาณ 09.54 น. และสิ้นสุดคราสบางส่วน เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนออกจากดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง ในเวลาประมาณ 11.20 น. เป็นสัมผัสสุดท้ายและสิ้นสุดปรากฏการณ์สุริยุปราคาในครั้งนี้โดยสมบูรณ์ สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคม 2560 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านประเทศสหรัฐอเมริกา















เพิ่มมูลค่าพลอยเกรดต่ำด้วย "ลำไอออน" เทคโนโลยีอนุภาคความร้อนต่ำพลังงานสูงทางเลือกใหม่เอาใจคนรักอัญมณี ให้ประสิทธิภาพดีกว่าการเผา "ใสกว่า-สีสดกว่า-ทุ่นเวลา-ไม่ทำให้พลอยแตก" เพิ่มราคาเศษพลอยไร้ค่าได้ 10 เท่า อ่านต่อเพิ่มเติม www.manager.co.th/science #sciencenews #mgrscience #manageronline #jewelry #ion #chiangmai #university

A photo posted by AstvScience (@astvscience) on



กำลังโหลดความคิดเห็น