xs
xsm
sm
md
lg

SuperSci: แผ่นเรืองแสงไฟฟ้าจาก "กราฟีน" ฝีมือไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้แผ่นเรืองแสงอิเล็กโตรลูมิเนสเซนต์จากหมึกนำไฟฟ้ากราฟีนในแก้วกาแฟ
เปิดตัว "แผ่นเรืองแสงไฟฟ้า" จากหมึกกราฟีนผลงานนักวิจัย ประตูสู่การประยุกต์บรรจุภัณฑ์ที่ล้ำนวัตกรรม ลดข้อด้อยแผ่นเรืองแสงในอดีตที่ไม่สามารถโค้งงอได้

SuperSci สัปดาห์นี้พาไปรู้จัก "แผ่นเรืองแสงอิเล็กโตรลูมิเนสเซ็นต์" จากหมึกนำไฟฟ้ากราฟีน ผลงานนักวิจัยไทยจากศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ (TOPIC) ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)



ดร.อดิสรณ์ เตือนตรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ เผยว่า แผ่นเรืองแสงอิเล็กโตรลูมิเนสเซ็นต์ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในอดีตแผ่นเรืองแสงซึ่งประกอบด้วยชั้นฟิล์มหลายๆ ชั้นนิยมใช้ฟิล์มอินเดียมทินออกไซด์ หรือ ITO เป็นชั้นนำไฟฟ้า

การใช้ชั้นฟิล์ม ITO มีข้อเสียหลายอย่าง ทั้งขั้นตอนการเตรียมที่ใช้ต้นทุนสูงและซับซ้อน และยังมีปัญหาแตกลายระดับไมโคร (micro crack) ทำให้แผ่นเรืองแสงเสียหาย แต่การเปลี่ยนมาใช้หมึกนำไฟฟ้าทำให้แผ่นเรืองแสงโค้งงอได้ และยังจัดพิมพ์ได้ด้วยเครื่องพิมพ์หลายแบบ อาทิ อิงค์เจ็ท สกรีน เฟล็กโซกราฟี และกราวัวร์

ในส่วนของหมึกนำไฟฟ้ากราฟีนนั้น ดร.อดิสรณ์ระบุว่า ได้วิจัยและพัฒนามา 3-4 ปี และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ บริษัท อินโนฟีน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทคนไทยเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว และแผ่นเรืองแสงอิเล็กโตรลูมิเนสเซนต์ก็เป็นอีกตัวอย่างของการประยุกต์ใช้หมึกนำไฟฟ้ากราฟีน

สำหรับ "กราฟีน" นั้นเป็นวัสดุที่ค้นพบโดย 2 นักวิทยาศาสตร์อังกฤษเชื้อสายรัสเซีย คือ อังเดร ไกม์ (Andre Geim) และ คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ (Konstantin Novoselov) จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (University of Manchester) อังกฤษ จนนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี 2010 และทำให้เกิดการประยุกต์อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติใหม่ๆ จากวัสดุแห่งอนาคตนี้จำนวนมาก
ดร.อดิสรณ์ เตือนตรานนท์ (ที่ 2 จากซ้าย) และทีมวิจัย







*******************************

"ผมไม่ได้ถ่ายภาพดาราศาสตร์เพื่อล่ารางวัล แต่ผมถ่ายเพราะผมมีความสุข" คำพูดจาก สิทธิ์ สิตไทย อาจารย์มหาวิทยาลัยที่อุทิศเวลาว่างให้การถ่ายภาพดาราศาสตร์ จนคว้า 3 รางวัลจากการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2557 ไปครอง อ่านต่อเพิ่มเติม www.manager.co.th/science #managersci #sciencenews #astronomy #astrography #astvscience

A photo posted by AstvScience (@astvscience) on


กำลังโหลดความคิดเห็น