อลังการ...ญี่ปุ่นเปิดให้ดูของจริง “ไหมเรืองแสง” หนึ่งในทรรศการเรื่องแสงที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พร้อมต้นไม้เรืองแสงได้
เอเอฟพีเผยภาพชุดไหมเรืองแสงซึ่งเป็นหนึ่งในนิทรรศการ “แสง” (Light) ที่เปิดแสดงในพิพิธภัณฑ์ธรามชาติและวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น (National Museum of Nature and Science) ในกรุงเกียว เมื่อวันที่ 27 ต.ค.2014 โดยชุดไหมดังกล่าว เป็นผลพวงจากการดัดแปลงพันธุกรรมตัวไหมให้หนอนไหมผลิตเส้นใยเรืองออกมาได้
เรื่องการพัฒนาเส้นไหมเรืองแสงนี้เคยตีพิมพ์ลงวารสารแอดวานซ์ฟังชันนัลแมทีเรียลส์ (Advanced Functional Materials) วารสารวิชาการทางด้านวัสดุศาสตร์เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่ง Phy.org ได้เรียบเรียงว่างานวิจัยดังกล่าวนำโดย เทตสึนะ ไออิซูกะ (Tetsuya Iizuka) และ โทชิกิ ทามูระ (Toshiki Tamura) จากสถาบันวิทยาการเกษตรชีววิทยาญี่ปุ่น (National Institute of Agrobiological Sciences) ในเมืองอิบารากิ ญี่ปุ่น
ทั้งนี้ นักวิจัยญี่ปุ่นได้ดัดแปลงพันธุกรรมหนอนไหมโดยถ่ายโอนยีนจากสิ่งมีชีวิตที่ผลิตโปรตีนเรืองแสงได้ลงในจีโนมของหนอนไหม ในตำแหน่งที่ออกคำสั่งเพื่อผลิตเส้นใยโปรตีนไหมที่เรียกว่า “ไฟโบรอิน” (fibroin) โดยยีนที่ทีมวิจัยใช้นั้นมาจากปะการังฟังเจียคอนซินนา (Fungia concinna) ซึ่งให้สารเรืองแสงสีส้ม ปะการังดิสโคมา (Discoma) ซึ่งให้สารเรืองแสงสีแดง และแมงกะพรุนซึ่งให้สารเรืองแสงสีเขียว
ก่อนหน้านี้หนอนไหมยังเคยถูกดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อผลิตโปรตีนคอลลาเจนมนุษย์ รวมถึงผลิตหนอนไหมที่ชักใยได้เอง และทางทามูระยังบอกด้วยว่าก่อนนี้พวกเขายังผลิตโปรตีนเรืองแสงสีเขียวสำหรับสร้างสีสันให้เส้นไหม และงานวิจัยใหม่ได้ขยายความสามารถในการเพิ่มสีสันเป็นเส้นไหมเรืองแสงอีก 3 สีที่ระบุไปข้างต้น และสามารถผลิตได้ในปริมาณมากพอสำหรับผลิตเส้นใยผ้า
นอกจากชุดไหมและเส้นไหมเรืองแสงแล้ว ภายในนิทรรศการเดียวกันยังจัดแสดง “ต้นแววมยุรา” (torenia) ซึ่งเรืองแสงเป็นสีเขียว เมื่อต้องแสงจากแอลอีดี (LED) สีน้ำเงิน โดยพรรณไม้ชนิดนี้ก็ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้เรืองแสงได้เช่นเดียวกัน โดยเป็นผลงานวิจัยขององค์การวิจัยเกษตรและอาหารญี่ปุ่น (National Agriculture and Food Research Organization: NARO) ร่วมกับ บริษัท เอ็นอีซีซอฟต์ (NEC Soft) ที่ได้พัฒนาพืชเรืองแสงนี้โดยใช้เทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมเมื่อปีที่ผ่านมา
*******************************
*******************************