xs
xsm
sm
md
lg

SuperSci: สู้ไวรัสด้วย “แอนติบอดี”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศ.ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา และแบบจำลองไวรัสไข้หวัดใหญ่ขนาดใหญ่กว่าไวรัสจริง
เราอาจคุ้นกับการต่อสู้กับไวรัสด้วยวัคซีนหรือยาต้านไวรัส แต่ยังการรักษาโรคอีกแนวทางที่เลียนแบบการต่อสู้โรคของร่างกายเราเองด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันหรือ “แอนติบอดี” สำหรับฉีดให้ผู้ป่วย ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สร้างภูมิคุ้มกันได้น้อย เช่น ผู้สูงวัยหรือเด็กทารก เป็นต้น

SuperSci พาไปทำความรู้จักการต่อสู้กับไวรัสโดยเฉพาะในกรณีไข้หวัดใหญ่ด้วยภูมิคุ้มกันหรือ “แอนติบอดี” โดย ศ.ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับทุนนักวิจัยแกนนำ (NSTDA Chair Professor) ประจำปี 2556จากโครงการวิจัยโรคติดเชื้อชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง และโรคภูมิแพ้ จำนวน 20 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 5 ปี จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

โดยปกติการต่อสู้กับไวรัสมักใช้วิธีฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา แต่ ศ.ดร.วันเพ็ญ อธิบายว่าวิธีนี้ ร่างกายต้องใช้เวลา 7-10 วันเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งไม่ค่อยได้ผลในผู้สูงอายุที่สร้างภูมิคุ้มกันได้หรือเด็กทารกที่ยังสร้างภูมิคุ้มได้ไม่ดี และต้องได้รับวัคซีนก่อนติดเชื้อ เมื่อติดเชื้อแล้วมักได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส แต่พบการดื้อยาขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การรักษาไม่ได้ผล

ในฐานะที่ทำงานด้านภูมิคุ้มกันมานาน ศ.ดร.วันเพ็ญ จึงสนใจวิธีสร้างภูมิคุ้มกันทดแทนสำหรับฉีดให้ร่างกายต่อสู้กับโรคได้ทันที โดยมีโครงการสร้างภูมิคุ้มกันในการต่อสู้ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบซี รวมถึงภูมิคุ้มกันต่อสู้กับไวรัสอีโบลาที่เพิ่งแถลงความคืบหน้าไปเมื่อไม่นาน

สำหรับสัปดาห์นี้ไปทำความเข้าใจกับกระบวนการต่อสู้ไวรัสไข้หวัดใหญ่ด้วยภูมิคุ้มกัน โดย ศ.ดร.วันเพ็ญ จากคลิปด้านล่างนี้

Click เพื่อชมคลิป








*******************************


*******************************
กำลังโหลดความคิดเห็น