xs
xsm
sm
md
lg

รวมภาพน่าขนลุก...“ยุงจีเอ็ม” ต้าน “ไข้เลือดออก”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยุงจีเอ็มเพศเมียที่ถูกขังเพื่อผลิตสำหรับเพาะพันธุ์ยุงที่มียีนทำลายตัวเอง ป้องกันการเพิ่มประชากรยุงซึ่งเป็นพาหะของไข้เลือดออก (ภาพประกอบทั้งหมดจากเอเอฟพี)
รวมภาพน่าขนลุกของ “ยุงจีเอ็ม” จากห้องแล็บในบราซิล ซึ่งบริษัทไบโอเทคของอังกฤษเพิ่งตั้งขึ้นเพื่อผลิตยุงดัดแปลงพันธุกรรมมาช่วยต้านโรคไข้เลือดออก จากความสามารถของยีนที่ทำให้ตัวอ่อนตายก่อนโตเป็นยุงที่พร้อมผสมพันธุ์

ทั้งนี้ ออกซิเทค (Oxitec) บริษัทซึ่งทำธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากอังกฤษเพิ่งตั้งห้องปฏิบัติการแห่งใหม่ขึ้นในในเมืองกัมปีนัสของบราซิล โดยเอเอฟพีรายงานว่าห้องปฏิบัติการดังกล่าวจำลองสภาพอากาศร้อนชื้นในช่วงฤดูร้อนของบราซิล เพื่อเพาะเลี้ยงยุงต้านไข้เด็งกี่ (dengue fever) หรือไข้เลือดออก โดยใช้ยุงสายพันธุ์แอเดสแอกิปติ (Aedes aegypti)

OX513A เป็นชื่อของยุงจีเอ็มที่ออกซิเทคตั้งให้ และเป็นยุงที่มียีนมีกลไกทำลายตัวเอง ส่งผลให้ลูกน้ำของยุงที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมตายก่อนจะกลายเป็นยุงที่โตพอจะผสมพันธุ์ได้ ป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุงซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ทางบริษัทคาดว่า หากยุงจีเอ็มเพศผู้มีจำนวนมากพอถูกปล่อยสู่ธรรมชาติ ยุงเหล่านั้นจะผสมกับยุงตัวเมียในระดับจะลดจำนวนประชากรยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือจำกัดไปได้ทั้งหมด
โซเฟีย ปินโต นักวิจัยผู้นำชมห้องปฏิบัติการเพาะยุงจีเอ็ม ถือดถบรรจุยุง
โถบรรจุยุงเพศผู้ที่พร้อมปล่อยสู่ธรรมชาติเพื่อลดประชากรยุง
นักวิจัยเข้้าเก็บไข่จากตะแกรงขังยุงจีเอ็มเพศเมีย
ขั้นตอนการเก็บไข่ยุง

ภาพลูกน้ำยุงจีเอ็มที่บันทึกผ่านกล้องจุลทรรศน์
ภาพลูกน้ำยุงจีเอ็มที่บันทึกผ่านกล้องจุลทรรศน์
ถาดเก็บลูกน้ำยุงจีเอ็ม






*******************************


*******************************
กำลังโหลดความคิดเห็น