นักวิทย์อังกฤษเตรียมถอดจีโนมจากพระศพ “กษัตริย์ริชาร์ดที่ 3” ซึ่งขุดพบในสุสานใต้ลานจอดรถเมื่อปี 2012 นับเป็นครั้งแรกในหาลำดับพันธุกรรมจากดีเอ็นเอโบราณ ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
พระศพของกษัตริย์ริชาร์ดที่ 3 (Richard III) ของอังกฤษถูกพบในบริเวณขุดค้นทางโบราณคดี ที่ลานจอดรถสาธารณะของเมืองเลสเตอร์ ทางตอนกลางของอังกฤษเมื่อเดือน ส.ค.2012
ด้านนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชสเตอร์ (University of Leicester) เผยว่า ดีเอ็นเอจากกระดูกของพระองค์ตรงกับผู้สืบเชื้อสายจากพระขนิษฐา กระดูกสันหลังบิดเบี้ยว และมีร่องรอยบาดเจ็บจากการสู้รบ สอดคล้องกับข้อมูลจากยุคดังกล่าว
ตามรายงานของรอยเตอร์ลักษณะกะโหลกแตกและกระดูกสันหลังที่ผิดรูปนั้นเป็นผลจากการสู้รบเพื่อรักษาราชบัลลังก์ แต่พระองค์ถูกสังหารระหว่างต่อสู้ที่สนามรบบอสวอร์ธ (Battle of Bosworth Field) เมื่อปี 1485 และเป็นอันสิ้นสุดราชองค์แพลนทาเจอเนต (Plantagenet) และราชวงศ์ทิวดอร์ (Tudors) โดยกษัตริย์เฮนรีที่ 7 (Henry VII) ก็ขึ้นมาแทน
ทั้งนี้ ทูริ คิง (Turi KingTuri King) จากภาควิชาพันธุศาสตร์ของเลสเตอร์ ได้นำตัวอย่างเพียงเล็กน้อยจากกระดูกของอดีตกษัตริย์มาบดเป็นผง เพื่อสกัดเอาดีเอ็นเอ และสร้างแผนที่พันธุกรรมเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับงานวิจัยในต่อไป แต่เธอเผยว่าเนื่องจากพระศพที่เก่ามาก และดีเอ็นเอก็แตกสลาย จึงอาจไม่ได้แผนที่พันธุกรรมที่สมบูรณ์นัก
คิงยังหวังว่า งานวิจยันี้จะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลพันธุกรรมของกษัตริย์ริชาร์ด รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่สงสัยว่าพระองค์ และสีตากับสีผมที่แท้จริง นอกจากนี้จะยังอาจเผยถึงพันธุกรรมบรรพบุรุษของพระองค์กับความความสัมพันธ์ระหว่างประชากรในยุคปัจจุบัน
โครงการถอดจีโนมจากพระศพกษัตริย์ริชาร์ดที่ 3 นี้ เป็นโครงการความร่วมมือในการสนับสนุนระหว่างเวลคัมทรัสต์ (Wellcome Trust) และ ลีเวอร์ฮัล์มทรัสต์ (Leverhulme Trust) ซึ่งเอเอฟพีรบะบุว่า เป็นการทำแผนที่พันธุกรรมของผู้เสียชีวิตที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรก โดยมีทุนวิจัยประมาณ 5 ล้านบาท