xs
xsm
sm
md
lg

กล้องดักถ่ายจับภาพ “แมวป่า” หายากได้ในบอร์เนียว (คลิป)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กล้องดักถ่ายบันทึกภาพแมวป่าบอร์เนียวที่หายากไว้ได้ (โอลิเวอร์ เวียร์น/ไลฟ์ไซน์)
นักชีววิทยาอังกฤษตั้งกล้องดักถ่ายจับได้ภาพ “แมวป่า” หายากที่ใกล้สูญพันธุ์ได้ในบอร์เนียว บริเวณที่มีการตัดป่าอย่างหนัก และไม่คาดคิดว่าจะได้เจอแมวชนิดนี้ และพบอยู่ในบริเวณเดียวกับที่เคยพบแมวป่าชนิดอื่นๆ ก่อนหน้านี้จับภาพของแมวป่าดังกล่าวได้ไม่กี่ครั้ง รวมถึงมีภาพถ่ายครั้งเดียวจากการพบครั้งแรกเมื่อปี 2003

ทีมนักชีววิทยาจากสมาคมสัตววิทยาลอนดอน (Zoological Society of London) และมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน (Imperial College London) จากอังกฤษ ได้ตั้งกล้องดักภาพในป่าฝนบนเกาะบอร์เนียวของอินโดนีเซีย และจับภาพแมวลายหินอ่อนบอร์เนียวหรือแมวอ่าว ซึ่งก่อนหน้านี้มีการบันทึกวิดีโอแมวป่าดังกล่าวได้ไม่กี่ครั้ง และถูกถ่ายภาพไว้ได้ครั้งแรกเพียงครั้งเดียวในปี 2003 อ้างตามรายงานของไลฟ์ไซน์






ในบริเวณเดียวกันยังเคยพบแมวป่าชนิดอื่นๆ ได้แก่ เสือลายเมฆซุนดา หรือนีโอเฟลิส ไดอาร์ดิ (Neofelis diardi) แมวดาว หรือ ไพรออไนลูรัส เบงกาเลนซิส (Prionailurus bengalensis) แมวป่าหัวแบน หรือ ไพรออไนลูรัส พลาไนเซปส์ (Prionailurus planiceps) และแมวลายหินอ่อน หรือ พาร์โดเฟลิส มาร์โมราตา (Pardofelis marmorata) ซึ่งแมวป่า 3 ใน 4 สปีชีส์ของจำนวนนี้ได้รับการขึ้นบัญชีจากสหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) ให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่เสี่ยงสูญพันธุ์

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติระบุว่า แมวอ่าวบอร์เนียวเป็นที่รู้จักน้อย เนื่องจากเป็นสัตว์ขี้อายและมีความหนาแน่นประชากรต่ำ อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่ามีแมวป่าดังกล่าวที่โตเต็มวัยต่ำกว่า 2,500 ตัวในธรรมชาติ และประชากรจะลดลง 20% ในอีก 12 ปีข้างหน้า เนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า  

ด้าน โรเบิร์ต อีเวิร์ส (Robert Ewers) นักวิจัยในโครงการจากอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอนกล่าวว่า ทีมวิจัยค่อนข้างประหลาดใจที่ได้เห็นแมวอ่าวจำนวนมากในบริเวณดังกล่าวของบอร์เนียว ซึ่งมีการตัดป่าอย่างเพื่อการค้าไม้

การตั้งกล้องของพวกเขาต่างไปจากกรณีอื่นๆ ที่จะมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการศึกษา แต่พวกเขาตั้งกล้องไว้อย่างสุ่ม ซึ่งช่วยในการจับภาพสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ โดย โอลิเวอร์ เวียร์น (Oliver Wearn) นักวิจัยจากสมาคมสัตววิทยาลอนดอนระบุว่า พวกเขาพบว่าการตั้งกล้องแบบสุ่มนั้นมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งชีวิตที่ถูกบันทึกภาพไว้ได้







กำลังโหลดความคิดเห็น