xs
xsm
sm
md
lg

มองฟ้าผ่าจากอวกาศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คงมีไม่กี่คนบนโลกที่จะได้เห็นปรากฏการณ์ฟ้าผ่าจากอวกาศ และมนุษย์อวกาศประจำสถานีอวกาศนานาชาติได้บันทึกภาพปรากฏการณ์นี้ไว้ ซึ่งสเปซด็อทคอมได้รวบรวมและนำมาเสนอให้ชมกัน




ภาพฟ้าจากมุมมองบนสถานีอวกาศนานาชาติขณะโคจรเหนือบราซิล



อังเดร กุยเปอร์ส (André Kuipers) มนุษย์อวกาศเมื่อครั้งประจำอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ บันทึกภาพแสงแฟลชจากฟ้าผ่าขฤณะโคจรผ่านความมืดของโลก และเผยแพร่ภาพนี้ออกมาเมื่อ 11 มิ.ย.2012



เปาโล เนสโปลี (Paolo Nespoli) บันทึกภาพฟ้าผ่าบนโลกที่เห็นจากบนสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อ 30 ธ.ค.2010






ลูกเรือบนสถานีอวกาศนานาชาติบันทึกภาพประจำภารกิจที่ 30 บันทึกปรากฏการณ์ฟ้าผ่า พร้อมฝนดาวตกไลริด (Lyrid meteor) เส้นขีดทางด้านซ้ายตรงกลาง ระหว่างสถานีผ่านเหนืออ่าวเม็กซิโก ซึ่งพายุฝนกำลังคิวบาที่อยู่ทางด้านขวาของภาพ และเห็นการเรืองแสงสีขาวของปรากฏการณ์ฟ้าผ่าด้านขวา ภาพนี้ปล่อยมาเมื่อ 22 เม.ย.2013




สมาชิกลูกเรือบนสถานีอวกาศนานาชาติบันทึกภาพตอนกลางคืนใกล้รุ่งขณะเกิดเมฆพายุเหนือแคลิฟอร์เนียใต้ ภาพแสงฟ้าผ่าเห็นเป็นแต้มสีขาวด้านขวาตอนกลางของภาพ ส่วนสีเหลืองๆ ในภาพนั้นคือแสงไฟจากบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นของลอสแองเจลลิส และซานดิเอโก ภาพนี้เผยแร่เมื่อ 21 ก.ค.2013



ลูกเรือประจำภารกิจที่ 29 ของสถานีอวกาศนานาชาติบันทึกภาพยามค่ำคืนขณะโคจรอยู่เหนือพื้นโลก 220 ไมล์ เผยให้เห็นทั้งเมฆ ฟ้าผ่า (จุดสว่างสีขาวมในก้อนเมฆ) อากาศเรืองแสง เส้นแบ่งด้านมืดและด้านสว่างของโลก รวมถึงแสงศรีวิไลของเมืองตลอดชายฝั่งตะวันตกกลางของแอฟริกา ภาพนี้เผยแพร่ออกมาเมื่อ 16 ก.ย.2011




ภาพยามค่ำคืนของเขตมิดเวสต์ สหรัฐฯ ที่แต้มสีสันด้วยแสงออโรรา บันทึกโดยลูกเรือสถานีอวกาศนานาชาติประจำภารกิจที่ 29 ซึ่งมีแสงสียามค่ำคืนจากหลายแหล่ง รวมถึงแถบแสงสีขาวเล็กๆ ทางชายฝั่งตะวันออก (ด้านขวาบน) ภาพนี้เผยแพร่ออกมาให้ชมเมื่อ 29 ก.ย.2011



ภาพฟ้าผ่าในก้อนเมฆบันทึกโดยลูกเรือประจำภารกิจที่ 7 ของสถานีอวกาศนานาชาติ และเผยแพร่เมื่อ 2 ก.ย.2003







กำลังโหลดความคิดเห็น