“โซลาร์อิมเพลาส์” เครื่องบินพลังแสงอาทิตย์บรรลุภารกิจบินทั่วสหรัฐ หลังเคยทำสถิติบินข้ามทวีปและทำการบินยาวนานที่สุดถึง 26 ชั่วโมง โดยอาทิตย์พลังงานแสงแดดเพียงอย่างเดียว
โซลาร์อิมเพลาส์ เอชบี-เอสไอเอ (Solar Impulse HB-SIA) เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่งปิดฉากบินทั่วสหรัฐฯ โดยลงที่สนามบินนานาชาติจอห์น เอฟ เคนเนดี (John F. Kennedy International Airport) สหรัฐฯ เมื่อ 10.45 น.วันที่ 7 ก.ค.2013 ตามเวลาประเทศไทย
การบินข้ามสหรัฐฯ เป็นภารกิจ 5 เที่ยวบินสำหรับเครื่องบินที่มีความกว้างของปีก 63 เมตร* ซึ่งเริ่มขึ้นจากสนามบินในซานฟรานซิสโกเมื่อต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา อ้างตามรายงานของบีบีซีนิวส์เครื่องบินทำความเร็วได้สูงสุด 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเครื่องบินได้จอดพักที่ฟีนิกส์ แอริโซนา ดัลลัส เท็กซัส และเซนต์หลุยส์ มิสซูรี
อ้างคำแถลงของเจ้าหน้าที่บีบีซีนิส์ระบุว่า ทั้งนักบินและเครื่องบินไม่ได้อันตรายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับปีกเครื่องบิน ทั้งนี้ความกว้างของปิกเครื่องบินพลังแสงอาทิตย์นี้เท่ากับเครื่องบิน แอร์บัส 340 (A340) แต่มีน้ำหนักเพียง 1.6 ตัน ขณะที่เอ340 หนักถึง 370 ตัน
ปีกเครื่องบินและปีกท้ายปะรกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ราว 12,000 เซลล์ ซึ่งช่วยขับเคลื่อนเครื่องยนต์ขับดันทั้ง 4 เครื่อง และประจุไฟฟ้าแก่แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนที่หนักถึง 400 กิโลกรัมระหว่างวัน เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำหรับปีนข้ามประเทศตลอดทั้งคืน ซึ่งความสำเร็จครั้งนี้ นับเป็นหนแรกที่เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์สามารถบินได้ต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืนเพื่อผ่านรัฐต่างๆ ของอเมริกา
ผู้ทำหน้าที่เป็นนักบินสำหรับเครื่องบินพลังแสงอาทิตย์นี้คือ อังเดร บอร์ชเบิร์ก (Andre Borschberg) นักบินชาวสวิสและเพื่อนนักบินอีกคนคือ เบอร์แทรนด์ พิคคาร์ด (Bertrand Piccard) ซึ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนเครื่องบิน 1 ที่ที่ออกแบบมาให้เดินทางในเวลาที่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
ส่วนข้อมุลจากไลฟ์ไซน์ระบุว่า เมื่อปี 2010 เครื่องบินดซลารือิมเพลาส์ได้ประสบความสำเร็จในการบินข้ามคืนเป็นเวลานานร่วม 26 ชั่วโมง ตามมาด้วยความสำเร็จสำหรับเครื่องบินพลังแสงอาทิตย์ครั้งแรกในการบินข้ามทวีป จากสวิเซอร์แลนด์ไปยังโมรอคโคเมื่อปี 2012
การลงจอดของ เอชบี-เอสไอเอครั้งนี้เป็นการบรรลุภารกิจครั้งสุดท้ายของเครื่องบินต้นแบบลำนี้ ภารกิจต่อไปของพิคคาร์ดและบอร์ชเบิร์ก คือการขับเครื่องบินพลังแสงอาทิตย์ 2 ที่นั่งรุ่นเอชบี-เอสไอบี (HB-SIB) ซึ่งขนาดใหญ่กว่า และเริ่มต้นภารกิจบินรอบในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 2015 โดยทั้งคู่ยอมรับว่าเป็นงานที่ยากกว่าการบินรอบสหรัฐฯ ในครั้งนี้ เพราะต้องประสานงานกับหลายๆ ชาติในหลายทวีป
ความสำเร็จในการบินครั้งนี้เกิดขึ้นไล่เลี่ยกับความพยายามกระตุ้นให้ผู้วางนโยบายและธุรกิจต่างๆ เริ่มต้นพัฒนาและรับเอาเทคโนโลยีด้านพลังงานยั่งยืนมาใช้ โดย เออร์เนสต์ โมนิซ ( Ernest Moniz) เลขาธิการกระทรวงพลังงานสหรัฐกล่าวว่า กระทรวงพลังงานมีโครงการวิจัยและเทคโนโลยีด้านพลังงานยั่งยืนอยู่มากมาย ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้สร้างเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ดังที่เพิ่งได้รับการสาธิตให้เห็นนี้ และเป็นสิ่งที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
“ผมเชื่อว่าภายใน 10 ปีเราจะเห็นผลผลิตของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงโลก” โมนิชกล่าวระหว่างการต้อนรับการลงจอดของโซลาร์อิมเพลาส์
* Edited