แฉ “นักฟิสิกส์จอมปลอม” จากรัสเซียนำทฤษฎีที่วงการวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับมาขอรับทุนวิจัยจาก วช.4 ล้านบาท ซึ่งอ้าง “ทฤษฎีทอร์ชันฟิลด์” สนามพลังพิเศษที่อยู่นอกเหนือจากที่นักฟิสิกส์ทั่วไปรู้จัก และจะนำไปสู่การรักษาสุขภาพแบบไม่ใช้ยา หรือประยุกต์ใช้ด้านการเกษตร แต่นักฟิสิกส์ตัวจริงชี้เป็ นไปไม่ได้ที่จะสร้างเทคโนโลยีจากสิ่งที่ตรวจวัดไม่ได้
หลังจากที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในโลกอินเทอร์เน็ตมาระยะหนึ่ง โดยเฉพาะในเว็บบอร์ดพันทิป ถึงความไม่ชอบมาพากลในการ ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในโครงการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สนามแรงบิด” โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นจำนวนเงิน 4 ล้านบาท งานวิจัยที่ดังกล่าวนำทีมโดย เจนนาดี ชีพอฟ (Gennady Shipov) ผู้อ้างว่าเป็นนักฟิสิกส์จากรัสเซีย ประเด็นนี้เป็นที่สนใจขึ้นมาหลังจากการประชุมสัมมนาทางวิชาการที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิ ดร.แถบ นีละนิธิ และมูลนิธิไอน์สไตน์และเทสล่า เมื่อปลายเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา
เอกสารเชิญร่วมประชุมเสวนาดังกล่าว ระบุถึง “ทอร์ชันฟิลด์” (Torsion Field) หรือสนามแรงบิด ว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพลังงานในอนาคต (อ่านรายละเอียดการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวได้ที่ http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X12939828.html ) คำโฆษณาที่ดูเกินจริงของสนามแรงบิดนี้เองทำให้เกิดเป็นที่วิจารณ์กันว่าทฤษฎีดังกล่าว รวมถึงตัวหัวหน้าคณะวิจัย มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ และเหตุใดโครงการนี้จึงผ่านการพิจารณาที่เข้มงวดของคณะกรรมการจาก วช.ได้?
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่เผยแพร่ในสังคมออนไลน์ รวมถึงในห้องหว้ากอของเว็บไซต์พันทิป ว่ามีการตั้งบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์โดยอาศัยเทคโนโลยีสนามแรงบิด โดยหนึ่งในทีมวิจัยของชีพอฟ คือ นางมารีนา โลโบวา (Marina Lobova) และอาจได้ทำการทดลองใช้เครื่องมือดังกล่าวรักษากับคนไข้จริงในประเทศไทย (มีวิดีโอที่โลโบวาอธิบายถึงเทคโนโลยีดังกล่าว http://www.youtube.com/watch?v=BymiJW2jSgI และ http://www.youtube.com/watch?v=4tpA5bbEnWM) ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดผลงานที่ยังอยู่ในขั้นวิจัยถึงสามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์ได้
ทางด้าน รศ.ดร.พิชัย โตวิวิญช์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิไอน์ไสตน์และเทสล่า และอดีตหัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จึงได้ชี้แจงทางโทรศัพท์ผ่านรายการ “คม ชัด ลึก” ทางเนชั่นชาแนล ในหัวข้อ “พลังงานสูญตา...สูญเงิน” ว่า สนามแรงบิดมีพลังงานที่มีหลายชื่อเรียก ในจำนวนนั้นคือ Vacuum Energy ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “พลังสูญตา” และเป็นพลังงานที่น่าสนใจ
เลขาธิการมูลนิธิไอน์สไตน์ ระบุว่า พลังงานในปัจจุบันล้วนเป็นพลังงานที่สูญสลายไป แต่ชีปอฟผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี ้ได้เปลี่ยนสมการของไอน์สไตน์จาก E=mc2 เป็น E=m (๑)c2 โดยเลขหนึ่งไทยในสมการนั้นมีลักษณะหมุนตามเข็ม ซึ่งพลังงานในอนาคตจะมีการหมุน หากหมุนตามเข็มนาฬิกาก็จะเป็นพลังบวก แต่ถ้าหมุนทวนเข็มก็จะเป็นพลังลบ
ทั้งนี้ นอกจากมูลนิธิจะสนับสนุนและมีการประสานงานกับกลุ่มวิจัยของชีปอฟแล้ว รศ.ดร.พิชัยยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการตรวจสอบการวิจัยเรื่องนี้ของ วช.ด้วย
นักฟิสิกส์แฉเป็น “วิทยาศาสตร์เทียม”
ผศ.ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยข้อมูลแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ว่า สนามแรงบิดหรือทอร์ชันฟิลด์ เป็นศัพท์เทคนิคที่ปรากฏอยู่ ในทฤษฎีฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ขั้นสูง ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นสนามอีกชนิดหนึ่งที่แตกต่างจากสนามที่ เรารู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น สนามโน้มถ่วง สนามแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแรงนิวเคลียร์แบบอ่อนและแบบเข้ม รวมถึงสนามฮิกกส์ ที่เพิ่งมีข่าวการค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ประเด็นสำคัญคือยังไม่มีการทดลองใดๆ ที่ตรวจพบสนามดังกล่าว
ศ.วิตาลี กินซ์เบิร์ก (Vitaly L. Ginzburg) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลชาวรัสเซีย ผู้ร่วมพัฒนาระเบิดไฮโดรเจนให้แก่อดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งเสียชีวิตลงเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เคยกล่าวไว้ว่า การทดลองจากทั่วโลก รวมถึงในอดีตสหภาพโซเวียต ไม่มีการตรวจพบสนามแรงบิดจากการทดลอง ซึ่งเป็นไปได้ว่าไม่มีอยู่จริง หรือถ้ามีอยู่จริงก็ต้องมีค่าน้ อยมากจนไม่สามารถตรวจวัดได้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ จะนำเอาสนามแรงบิดนี้ไปใช้งานในทางปฏิบัติ
ผศ.ดร.อรรถกฤต ให้ความเห็นว่า การที่นักวิทยาศาสตร์ บางคนจะเสนอทฤษฎีที่คนส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยอาจไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับข้อมูลจากการทดลอง โดยปกติแล้วนักวิทยาศาสตร์มีสิทธิเสนอทฤษฎีที่ตัวเองเชื่อ แต่ทฤษฎีที่แย้งกับผลการทดลองถือเป็นทฤษฎีที่ผิด เพราะธรรมชาติจะเป็นคนตัดสินว่าทฤษฎีถูกต้องหรือไม่
“ในกรณีของทฤษฎีสนามแรงบิดนี้ ขัดแย้งกับผลการทดลองอย่างชัดเจน ดังนั้น การนำเอาทฤษฎีดังกล่าวไปอ้างว่า สามารถสร้างเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ เช่น สร้างพลังงานจากสุญญากาศ หรือที่อ้างว่าสูญตา ยานพาหนะที่เดินทางได้เร็วกว่าแสง รวมถึงเครื่องต้านแรงโน้มถ่วง เครื่องมือรักษาโรค และโทรจิต จึงไม่น่าเป็นไปได้” ผศ.ดร.อรรถกฤต กล่าว
มีข้อมูลว่า ราชบัณฑิตวิทยาศาสตร์รัสเซีย (Russian Academy of Sciences: RAS) ซึ่งเป็นองค์กรด้านวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญของรัสเซียมีสมาชิกเป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลหลายต่อหลายคน ได้ตั้งคณะกรรมการต่อต้านวิทยาศาสตร์เทียม (Anti-Pseudoscience Commission) เพื่อสอบสวนโครงการวิจัยสนามแรงบิดของชีบอฟ และได้ตัดสินว่างานวิจัยนี้เข้าข่ายเป็น “วิทยาศาสตร์เทียม”
นอกจากนี้ ยังมี ศ.วาเลรี รูบาคอฟ (Prof. Valery A. Rubakov) นักฟิสิกส์ทฤษฎีรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน ทฤษฎีสนามควอนตัม ทฤษฎีฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน และจักรวาลวิทยา อีกหนึ่งสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซีย ได้เขียนบทความวิจารณ์หนังสื อเกี่ยวทฤษฎีฟิสิกส์สูญตาว่า สนามแรงบิดนั้นขัดแย้งกั บผลการทดลองทางฟิสิกส์ โดยตีพิมพ์บทความลงวารสาร Uspekhi Fizicheskikh Nauk 170 (3) 351 (2000)
โกหกเรื่องประวัติการศึกษา การทำงานและงานวิจัย
มากกว่าการเป็นทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทั่วโลกไม่ยอมรับ ยังมี “ข้อกล่าวหา” ว่า ชีปอฟโกหกเรื่องการตีพิมพ์ผลงานวิจัย สถานที่ทำงานและอาจรวมถึงประวัติการศึกษาของตัวเขาเอง โดยอ้างอิงรายงานของ อี.พี.ครูกลียากอฟ (E.P. Kruglyakov) ประธานคณะกรรมการต่อต้านวิทยาศาสตร์เทียมและการปลอมแปลงงานวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย (RAS Commission Against Pseudoscience and Falsification of Scientific Research) ได้เขียนไว้ในรายงานที่เสนอต่อ สถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซีย ว่า ชีปอฟไม่เคยสอนที่มหาวิทยาลัยมอสโกว์สเตท (Moscow state University) ดังกล่าวที่กล่าวอ้าง (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http:// humanism.al.ru/en/articles.phtml?num=000010
ในรายงานฉบับเดียวกันของครูกลียากอฟ พบว่า ชีปอฟไม่เคยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้ มาตรฐานและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ และเมื่อค้นฐานข้อมูลงานวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาค พบว่าชีปอฟมีผลงานตีพิมพ์เพียง 2 ฉบับในวารสารเกี่ยวกับการศึกษาของรัสเซียซึ่งไม่ได้เน้นด้านงานวิจัย (ค้นได้จากเพิ่มเติม http://inspirehep.net/search? ln=en&p=find+a+Shipov%2C+G&of= hb&action_search=Search )
วช.มีเกณฑ์ให้ทุนวิจัยเข้มงวด แต่ทำไมพลาดท่านักฟิสิกส์ปลอม?
ตาม “คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ตามมติคณะรัฐมนตรี” ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อเดือน ก.ค.55 ได้ระบุถึงแนวทางการประเมินผลแผนงานวิจัยเอาไว้อย่างชัดเจน โดยในหน้าที่ 34 หัวข้อที่ 2.1.5 ระบุว่า "โครงสร้างคณะผู้บริหารแผนงานวิจัยและคณะผู้วิจัย" ที่มีความเหมาะสมจะต้อง 1) แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่ จะทำวิจัยได้สำเร็จ 2) มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการวิจัย ที่เหมาะสม 3) เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการด้านการวิจัย
เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์การพิจารณาให้ทุนดังกล่าวนี้เอง ทำให้เกิดข้อสงสัยสำหรับหลายฝ่าย เพราะนอกจากจะมีข้อโต้แย้งจากนักฟิสิกส์รางวัลโนเบลว่าสนามแรงบิดไม่มีอยู่จริง หรือยังไม่มีใครเคยตรวจวัดได้ ซึ่งทำให้การประยุกต์จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แล้วยังมีข้อกล่าวหาต่อตัวของ ชีปอฟ ไม่ว่าจะเป็นการปลอมแปลงวุฒิการศึกษาและผลงานวิจัย รวมถึงการที่ชีปอฟไม่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ อีกทั้งยังถูกตั้งข้อหาว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม
“เป็นที่น่าสังเกตว่าเกณฑ์โดยทั่วไปสำหรับนักวิจัยไทยที่จะได้ รับทุนจาก วช.จะมีมาตรฐานค่อนข้างสูง คือ ต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติหลายฉบับ การที่กลุ่มของ ชีปอฟและคณะได้รับทุนจาก วช. เป็นจำนวนถึง 4 ล้านบาท จึงน่าสงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไรที่ผู้ทรงคุณวุฒิของ วช.ไม่ทราบเรื่องที่วงการวิทยาศาสตร์รัสเซีย ตั้งข้อกล่าวหากับ ประวัติของชีปอฟ ทั้งที่หลักฐานต่างๆ สามารถสืบค้นได้อย่างง่ายได้ ซึ่งทางคิดว่าทาง วช.ควรออกมาให้ความกระจ่างในเรื่องนี้” ดร.อรรถกฤต ตั้งข้อสังเกต