xs
xsm
sm
md
lg

เหินฟ้าดูแอนตาร์กติกากำเนิด “ภูเขาน้ำแข็ง”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นักวิทยาศาสตร์นาซาบินสำรวจแอนตาร์กติกาเก็บข้อมูลกำเนิดธารน้ำแข็ง (นาซา)
นักวิทยาศาสตร์นาซา บินสู่แอนตาร์กติกาดูกำเนิด “ภูเขาน้ำแข็ง” ให้เห็นกับตา หลังธารน้ำแข็งใหญ่ของทวีปกำลังแยกเป็น 2 ส่วน โดยคลิปจากเว็บไซต์อาวเออร์อะเมซิงแพลเน็ต เผยให้เห็นภาพน่าอัศจรรย์ของการกำเนิดภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ และเหตุผลที่เขาสนใจรอยแตกแยกของน้ำแข็งที่จะกำลังหลุดลอยไปจากธารน้ำแข็ง

ทั้งนี้ ธารน้ำแข็งไพน์ไอส์แลนด์ (Pine Island Glacier) หรือ พีไอจี (PIG) และแผ่นน้ำแข็งที่กำลังแยกจากธารน้ำแข็งแห่งนี้ ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ในทุกวันนี้เป็นอย่างมาก โดยธารน้ำแข็งดังกล่าวกำลังเคลื่อนตัวจากกลางทวีปสู่ทะเล และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้เร่งความเร็วสู่ทะเลมากขึ้น ตอนนี้ธารแข็งแห่งนี้กลายเป็นธารน้ำแข็งที่เคลื่อนตัวเร็วที่สุดของทวีปแอนตาร์กติกา

ภาพจากคลิปของเว็บไซต์อาวเออร์อะเมซิงแพลเน็ต (OurAmazingPlanet) ซึ่งส่วนหนึ่งบันทึกขึ้นระหว่างการบินสำรวจของนักวิทยาศาสตร์องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เผยให้เห็นหุบเขาลึกของธารน้ำแข็งที่ยาวถึง 32 กิโลเมตร และธารน้ำแข็งไพน์ไอส์แลนด์ที่กำลังเคลื่อนตัวด้วยความเร็ว 4 กิโลเมตรต่อปี ทั้งนี้ แอนตาร์กติกาถือเป็นแหล่งน้ำจืดของโลกถึง 70% และเป็นปริมาณน้ำแข็งน้ำจืดของโลกถึง 90% และแผ่นน้ำแข็งหลัก 2 แผ่นนั้นคิดเป็นเนื้อที่ทวีปถึง 99% และในบางแห่งมีความหนาถึง 4 กิโลเมตร

แม้ว่า แผ่นน้ำแข็งที่ครอบคลุมทิศตะวันออกของแอนตาร์กติกา จะค่อนข้างมั่นคง แต่น้ำแข็งทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นฝั่งเดียวกับที่ตำแหน่งของธารน้ำแข็งไพน์ไอส์แลนด์ และธารน้ำแข็งอื่นๆ นั้น กำลังมีการเปลี่ยนแปลง และมีการสูญเสียน้ำแข็งไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ใครจะคาดคิดในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งนั้นมีนัยสำคัญต่อทุกคนบนโลก เพราะเมื่อน้ำแข็งหลุดออกจากแผ่นทวีปแล้วเคลื่อนตัวสู่ทะเล นั่นหมายถึงระดับน้ำทะเลที่จะเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก และจากข้อมูลของนาซานั้นน้ำแข็งของแอนตาร์กติกาทางทิศตะวันตกนั้น มีผลทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้น 7% ละโดยภาพรวมน้ำแข็งจากแอนตาร์กติกาทั้งหมดเป็นปริมาณ 1 ใน 3 ของระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น




ชมคลิปการบินสำรวจแอนตาร์กติกาของนักวิทยาศาสตร์นาซา


กำลังโหลดความคิดเห็น