xs
xsm
sm
md
lg

รู้ไหมว่า? โลกตื่นเต้นจาก “ขยะอวกาศ” เมื่อไรบ้าง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ชิ้นส่วนของจรวดเดลตา 2 ตกลงทะเลทรายของซาอุดีอาระเบีย และชิ้นส่วนบางส่วนตกลงที่เท็กซัส สหรัฐฯ (NASA)
นอกจาก “ขยะอวกาศ” จะเป็นภัยคุกคามต่อกิจการอวกาศในวงโคจรแล้ว หลายครั้งที่ชิ้นส่วนจากวัตถุอวกาศที่มนุษย์สร้างขึ้นตกสู่พื้นโลก และสร้างความตื่นตระหนกให้แก่ผู้คน ดังที่สเปซด็อทคอมนำมาเสนอ

29 ส.ค.1965
เมื่อชวงศตวรรษที่ 1960 ลูกบอลปริศนาตกสู่หลายพื้นที่ในออสเตรเลีย และถูกนำไปเชื่อมโยงกับเรื่องจานบินมนุษย์ต่างดาว ในจำนวนนั้นมีลูกหนึ่งที่สู่เมืองเมอร์กานูกา ทางตะวันตกของออสเตรเลีย และถูกขนานว่า “ลูกบอลเมอร์กานูกา” (Merkanooka ball) แท้จริงแล้วลูกบอลดังกล่าวคือถังโลหะทรงกลมที่ใช้บรรจุน้ำดื่มในยานอวกาศเจมินิ 5 (Gemini V) ซึ่งถูกส่งขึ้นไปเมื่อ 21 ส.ค.1965 และกลับสู่ชั้นบรรยากาศโดยตกสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อวันที่ 29 ส.ค.ในปีเดียวกัน

24 ม.ค.1978
รัสเซียสูญเสียการควบคุม คอสมอส 954 (Cosmos 954) ดาวเทียมทางการทหารที่ถูกขึ้นไปเมื่อ 18 ก.ย.1977 และเมื่อสัญญาณเรดาร์ตรวจจับพบการหมุนควงอย่างไร้ทิศทางของดาวเทียมดังกล่าวได้สร้างความตื่นเต้นแก่ผู้คนบนพื้นโลกอย่างมาก ที่สุดดาวเทียมดังกล่าวตกสู่อาณาเขตของแคนาดาเมื่อวันที่ 24 ม.ค.1978

11 ก.ค.1979
สถานีอวกาศสกายแล็บ (Skylab) ของสหรัฐฯ ที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 14 พ.ค.1973 ถูกปลดระวางก่อนกำหนด และถูกบังคับให้กลับสู่ชั้นบรรยากาศโลกเมื่อ 11 ก.ค.1979 ซึ่งทำให้เกิดเศษซากจำนวนมากตกทั่วมหาสมุทรอินเดียและบางส่วนของออสเตรเลีย

21 ม.ค.2001
ชิ้นส่วนของจรวดเดลตา 2 (Delta-2) ตกลงทะเลทรายของซาอุดีอาระเบีย และชิ้นส่วนบางส่วนตกลงที่เท็กซัส สหรัฐฯ

23 มี.ค.2001
สถานีอวกาศมีร์ (Mir) ของรัสเซียที่ใช้งานนาน 15 ปี ถูกปลดระวางและถูกบังคับให้ตกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก โดยสถานีอวกาศหนักกว่า 130,000 กิโลกรัมถูกเผาไหม้ระหว่างกลับสู่ชั้นบรรยากาศ และทำให้แตกสลายเป็นชิ้นส่วนมากกว่า 1,500 ชิ้น

1.ก.พ.2003
อุบัติเหตุกระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Columbia) ระเบิดระหว่างกลับสู่ชั้นบรรยากาศเมื่อวันที่ 1 ก.พ.2003 และได้คร่าชีวิตนักบินอวกาศทั้งหมด 7 คนนั้น ทำให้เกิดเศษชิ้นกระจายครอบคลุมตะวันออกของรัฐเท็กซัสและตะวันตกของลูยเซียนาเป็นพืนที่กว่า 72,000 ตารางกิโลเมตร และมีชิ้นส่วนกว่า 80,000 ชิ้นที่ถูกเก็บไปศึกษา

20 ก.พ.2008
สหรัฐฯ ยิงสกัดดาวเทียมจารกรรมยูเอส-193 (USA-193) ที่ทำงานผิดพลาด เพื่อป้องกันสารพิษจากดาวเทียมตกสู่พื้นโลก
กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Columbia) ระเบิดทำให้เกิดชิ้นส่วนกระจายกว่า 80,000 ชิ้น (NASA)
สถานีอวกาศมีร์ก่อนตกสู่มหาสมุทรอินเดีย
กำลังโหลดความคิดเห็น