ยิ่งสถานการณ์อุบัติเหตุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค.54 เลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ทุกขณะ ก็ยิ่งส่งผลต่อความกังวลว่า "ปริมาณรังสี" ที่ผู้คนทั้งใกล้ไกลอาจจะได้รับ จะทำอันตรายกับพวกเราได้ขนาดไหน
ปริมาณการรับหรือดูดกลืนรังสี (absorbed dose) แต่ละระดับจะมีผลต่อคนเราอย่างไร? ซึ่งการได้รับรังสีปริมาณมากในครั้งเดียว (acute exposure) จะมีผลกระทบมากหรือน้อย ขึ้นกับปริมาณของรังสี ดังนี้
20 Sv | มีผลต่อประสาทรับรู้ และเกิดอาการสั่นอย่างรุนแรง จากนั้นจะเสียชีวิตภายไม่กี่ชั่วโมงหลังรับรังสี |
10 Sv | ทำลายอวัยวะภายใน เลือดออกภายใน ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในเวลาเป็นวันหรือประมาณ 2 สัปดาห์ |
6 Sv | เจ้าหน้าที่ที่โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เชอร์โนบิลได้รับ และเสียชีวิตภายใน 1 เดือน |
5 Sv | ถ้าได้รับรังสีอย่างเฉียบพลันเพียงครั้งเดียว ส่งผลให้พิการไปครึ่งร่าง |
1 Sv | เกิดการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากรังสี และมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง แต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต |
750 mSv | ผมร่วงภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับรังสี |
700 mSv | อาเจียนภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากได้รับรังสี |
400 mSv | เป็นอัตรารังสีต่อชั่วโมงที่มากที่สุดที่ตรวจวัดได้ ที่โรงไฟฟ้าฟิกูชิมะ เมื่อวันที่ 14 มี.ค.54 |
350 mSv | อัตราที่ชาวเมืองเชอร์โนบิลได้รับ ก่อนอพยพออกจากเมือง |
100 mSv | อัตราจำกัดสำหรับคนทำงานด้านรังสีที่ให้สะสมไม่เกิน 5 ปี โดยถ้าได้รับเฉียบพลันมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง |
10 mSv | รังสีที่ได้รับจากการทำซีทีสแกน 1 ครั้ง |
9 mSv | รังสีที่ลูกเรือสายการบินที่บินผ่านขั้วโลกเหนือเส้นทางระหว่างนิวยอร์กซิตี้และโตเกียวได้รับในแต่ละปี |
2 mSv | รังสีธรรมชาติที่เราได้รับเฉลี่ยต่อปี |
1.02 mSv | อัตรารังสีต่อชั่วโมงที่ตรวจพบ บริเวณโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ เมื่อวันที่ 12 มี.ค.54 |
0.4 mSv | รังสีที่ได้รับจากเอกซเรย์เต้านมแบบแมมโมแกรม |
0.01 mSv | รังสีที่ได้รับจากการเอ็กซเรย์ฟัน |
หมายเหตุ
1 Sv= 1,000 mSv
1 mSv = 1,000 µSv
1 µSv = 1,000 nSv
Sv - ซีเวิร์ต (Sievert), mSv - มิลลิซีเวิร์ต (millisievert), µSv - ไมโครซีเวิร์ต (microsievert), nSv - นาโนซีเวิร์ต (nanosievert)
รวมเรื่องควรรู้ในพิบัติภัย-วิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น