xs
xsm
sm
md
lg

สถานภาพของชนิดพันธุ์ต่างๆ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สมัน กวางชนิดหนึ่งที่พบเฉพาะในไทยและสูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 70 ปี (ภาพประกอบจาก www.ku.ac.th/AgrInfo/wild/tip6.html)
สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ ไอยูซีเอ็น (International Union for Conservation of Nature: IUCN) ได้กำหนดเกณฑ์การจำแนกสถานภาพของชนิดพันธุ์ต่างๆ ไว้ดังนี้

Extinct (EX) : สูญพันธุ์ ไม่พบชนิดพันธุ์นั้นๆ ในพื้นที่เดิมที่เคยอาศัยอยู่ในฤดูกาลที่เหมาะสม และมีการระบุแน่ชัดว่าประชากรตัวสุดท้ายของชนิดพันธุ์นั้นตายลงอย่างไม่มีข้อสงสัย ในประเทศไทยมี 6 ชนิด เช่น สมัน, นกพงหญ้า, นกช้อนหอยใหญ่ และปลาหางไหม้ เป็นต้น

Extinct in the wild (EW) : สูญพันธุ์ในธรรมชาติ ไม่พบชนิดพันธุ์นั้นๆ ในพื้นที่เดิมที่เคยอาศัยอยู่ในฤดูกาลที่เหมาะสม แต่ยังมีบางส่วนมีชีวิตอยู่รอดในพื้นที่เพาะเลี้ยง เช่น สวนสัตว์ ในประเทศไทยมี 7 ชนิด ได้แก่ นกกระเรียนไทย, นกช้อนหอยดำ, กูปรี, ละองหรือละมั่ง, กระซู่, แรด และ ตะโขง

Endangered (EN) : ใกล้สูญพันธุ์ ชนิดพันธุ์ที่ประสบกับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในธรรมชาติในอนาคตอันใกล้

Vulnerable (VU) : มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ชนิดพันธุ์ที่ยังไม่ถึงขั้นใกล้สูญพันธุ์ แต่เสี่ยงสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้

Near Threatened (NT) : ใกล้ถูกคุกคาม ชนิดพันธุ์ที่ปัจจุบันยังไม่ถูกคุกคาม แต่มีแนวโน้มในอนาคตอันใกล้

(อ่านข้อมูลเพิ่มเติมและเกณฑ์กำหนดในการจำแนกสถานภาพของสิ่งมีชีวิตได้ที่ ฐานข้อมูลชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในประเทศไทย สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ http://chm-thai.onep.go.th/RedData/Default.aspx)
ตะโขง ที่อยู่ในสวนสัตว์ในกรุงเบอร์ลิน (Zoological Garden Berlin) เยอรมนี ซึ่งตะโขงในประเทศไทยได้สูญพันธุ์ในธรรมชาติแล้ว (ภาพประกอบจาก wikipedia/Fritz Geller-Grimm)
ละอง หรือ ละมั่ง ในสวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันจัดเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์แล้วในธรรมชาติ (ภาพประกอบจาก wikipedia/Love Krittaya)
กำลังโหลดความคิดเห็น