"ภาวะโลกร้อน" ไม่ใช่ข่าวร้ายสำหรับมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นข่าวร้ายกับสัตว์ชนิดอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะบรรดานกเป็ดน้ำทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะหากโลกยิ่งร้อนขึ้น พื้นที่ชุ่มน้ำจะยิ่งเหือดแห้ง แต่นี่อาจเป็นข่าวดีของต้นไม้ใบหญ้าในเขตอบอุ่น เพราะอุณหภูมิโลกสูงขึ้นจะไปกระตุ้นให้ผลิดอกออกผลเร็วยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน
นักวิจัยของศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมสมิธโซเนียน (Smithsonian Environmental Research Center: SERC) ในมลรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐฯ บอกว่า การที่อุณหภูมิสูงขึ้น ฤดูที่พืชพันธุ์เจริญงอกงามยาวนานขึ้น และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไปมีผลต่อกลไกทางชีววิทยาของต้นไม้ และทำให้ต้นไม้ที่อยู่ในเขตภูมิอากาศอบอุ่น (temperate climates) เจริญเติบโตเร็วขึ้น
ทีมวิจัยได้ศึกษาและเก็บข้อมูลว่า มีต้นไม้อยู่จำนวนเท่าใดในป่า 55 แห่ง ทางด้านตะวันออกของสหรัฐฯ ในช่วงระยะเวลา 22 ปี ศึกษาสภาพอากาศของท้องถิ่นนั้นในช่วงเวลา 100 ปี และวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วง 17 ปี พบว่าช่วงเวลาไม่นานมานี้ ต้นไม้มีการเจริญเติบโตมากกว่าปกติอย่างมาก ซึ่งพวกเขาตั้งสมมติฐานว่าที่เป็นเช่นนี้ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั่นเอง
อีกทั้ง รายงานผลการศึกษานี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (Proceedings of the National Academy of Science: PNAS) โดยระบุว่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้กระบวนการเผาผลาญอาหารของต้นไม้เพิ่มขึ้น และทำให้ฤดูที่พืชพันธุ์เจริญงอกงามยาวนานขึ้นด้วย ในขณะที่คาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นในบรรยากาศ ไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้นไม้เพราะมีคาร์บอนให้ใช้อย่างอุดมสมบูรณ์
ทว่า นั่นอาจเป็นผลดีกับต้นไม้ แต่กลับเป็นผลร้ายกับเป็ดหรือนกน้ำชนิดอื่นๆ
ตามรายงานผลการศึกษาของนักวิจัยของสำนักงานธรณีวิทยาสหรัฐฯ (US Geological Survey) และมหาวิทยาลัยเซาท์ดาโกตาเสตท (South Dakota State University) ที่พบว่าพื้นที่ชุ่มน้ำในบริเวณทุ่งหญ้าแพรรีที่อยู่ใน 5 รัฐ ทางตอนกลางและภาคเหนือของสหรัฐฯ และรวมทั้งในแคนาดา จะเหือดแห้งหายไป หากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นถึง 4 องศาเซลเซียส ซึ่งบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของเป็ด นกน้ำ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำนวนมากและหลายสปีชีส์
ผลการศึกษานี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารไบโอไซน์ (BioScience) เมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่าหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีก 4 องศาเซลเซียส จะทำให้ทุ่งหญ้าแพรรีส่วนใหญ่ในอเมริกาเหนือแห้งแล้งเกินไป สำหรับเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของบรรดานกน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำบางแห่งแทบจะใช้การอีกไม่ได้ ถิ่นที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตจะกลายเป็นอดีตไป
นักวิจัยยังได้พัฒนาแบบจำลองขึ้น เพื่อพยายามทำความเข้าใจกับผลกระทบของภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งฉายให้เห็นว่าปริมาตรน้ำจะลดน้อยลงมาก ช่วงเวลาที่น้ำถูกกักเก็บไว้ในพื้นที่ชุ่มน้ำก็สั้นลง และเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับพืชพันธุ์ต่างๆ ครอบคลุมบริเวณกว้างมาก ตั้งแต่รัฐนอร์ทดาโกตา, เซาท์ดาโกตา, มินเนโซตา, มอนตานา และไอโอวา เรื่อยไปจนถึงแคนาดา
ทั้งนี้ ชนิดพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ในน้ำอย่างน้อยที่สุดก็เพื่อวงจรชีวิตที่สมบูรณ์ เช่น เป็ดน้ำ (mallard) ที่จะต้องดำรงชีวิตอยู่บนผิวน้ำไม่ต่ำกว่า 80 วัน ในวัยเยาว์ เพื่อที่จะเติบโตจนสามารถบินได้ ผสมพันธุ์ได้
"พื้นที่ชุ่มน้ำในทุ่งหญ้าแพรรีมีความเสี่ยงสูงมากที่จะได้รับผลจากภูมิอากาศที่ร้อนขึ้น และมีโอกาสกลับคืนสู่สภาพเหมือนเดิมได้น้อยกว่าที่เราเคยเชื่อไว้ก่อนหน้าที่ มันยากที่จะจินตนาการว่าจะดูแลรักษาจำนวนประชากรนกน้ำในปัจจุบันอย่างไรให้คงอยู่ต่อไปได้ในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป" เกลนน์ กุนเทนสเพอร์เจน (Glenn Guntenspergen) จากสำหนักงานธรณีวิทยาสหรัฐฯ กล่าว
นักวิจัยของศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมสมิธโซเนียน (Smithsonian Environmental Research Center: SERC) ในมลรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐฯ บอกว่า การที่อุณหภูมิสูงขึ้น ฤดูที่พืชพันธุ์เจริญงอกงามยาวนานขึ้น และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไปมีผลต่อกลไกทางชีววิทยาของต้นไม้ และทำให้ต้นไม้ที่อยู่ในเขตภูมิอากาศอบอุ่น (temperate climates) เจริญเติบโตเร็วขึ้น
ทีมวิจัยได้ศึกษาและเก็บข้อมูลว่า มีต้นไม้อยู่จำนวนเท่าใดในป่า 55 แห่ง ทางด้านตะวันออกของสหรัฐฯ ในช่วงระยะเวลา 22 ปี ศึกษาสภาพอากาศของท้องถิ่นนั้นในช่วงเวลา 100 ปี และวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วง 17 ปี พบว่าช่วงเวลาไม่นานมานี้ ต้นไม้มีการเจริญเติบโตมากกว่าปกติอย่างมาก ซึ่งพวกเขาตั้งสมมติฐานว่าที่เป็นเช่นนี้ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั่นเอง
อีกทั้ง รายงานผลการศึกษานี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (Proceedings of the National Academy of Science: PNAS) โดยระบุว่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้กระบวนการเผาผลาญอาหารของต้นไม้เพิ่มขึ้น และทำให้ฤดูที่พืชพันธุ์เจริญงอกงามยาวนานขึ้นด้วย ในขณะที่คาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นในบรรยากาศ ไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้นไม้เพราะมีคาร์บอนให้ใช้อย่างอุดมสมบูรณ์
ทว่า นั่นอาจเป็นผลดีกับต้นไม้ แต่กลับเป็นผลร้ายกับเป็ดหรือนกน้ำชนิดอื่นๆ
ตามรายงานผลการศึกษาของนักวิจัยของสำนักงานธรณีวิทยาสหรัฐฯ (US Geological Survey) และมหาวิทยาลัยเซาท์ดาโกตาเสตท (South Dakota State University) ที่พบว่าพื้นที่ชุ่มน้ำในบริเวณทุ่งหญ้าแพรรีที่อยู่ใน 5 รัฐ ทางตอนกลางและภาคเหนือของสหรัฐฯ และรวมทั้งในแคนาดา จะเหือดแห้งหายไป หากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นถึง 4 องศาเซลเซียส ซึ่งบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของเป็ด นกน้ำ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำนวนมากและหลายสปีชีส์
ผลการศึกษานี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารไบโอไซน์ (BioScience) เมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่าหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีก 4 องศาเซลเซียส จะทำให้ทุ่งหญ้าแพรรีส่วนใหญ่ในอเมริกาเหนือแห้งแล้งเกินไป สำหรับเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของบรรดานกน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำบางแห่งแทบจะใช้การอีกไม่ได้ ถิ่นที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตจะกลายเป็นอดีตไป
นักวิจัยยังได้พัฒนาแบบจำลองขึ้น เพื่อพยายามทำความเข้าใจกับผลกระทบของภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งฉายให้เห็นว่าปริมาตรน้ำจะลดน้อยลงมาก ช่วงเวลาที่น้ำถูกกักเก็บไว้ในพื้นที่ชุ่มน้ำก็สั้นลง และเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับพืชพันธุ์ต่างๆ ครอบคลุมบริเวณกว้างมาก ตั้งแต่รัฐนอร์ทดาโกตา, เซาท์ดาโกตา, มินเนโซตา, มอนตานา และไอโอวา เรื่อยไปจนถึงแคนาดา
ทั้งนี้ ชนิดพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ในน้ำอย่างน้อยที่สุดก็เพื่อวงจรชีวิตที่สมบูรณ์ เช่น เป็ดน้ำ (mallard) ที่จะต้องดำรงชีวิตอยู่บนผิวน้ำไม่ต่ำกว่า 80 วัน ในวัยเยาว์ เพื่อที่จะเติบโตจนสามารถบินได้ ผสมพันธุ์ได้
"พื้นที่ชุ่มน้ำในทุ่งหญ้าแพรรีมีความเสี่ยงสูงมากที่จะได้รับผลจากภูมิอากาศที่ร้อนขึ้น และมีโอกาสกลับคืนสู่สภาพเหมือนเดิมได้น้อยกว่าที่เราเคยเชื่อไว้ก่อนหน้าที่ มันยากที่จะจินตนาการว่าจะดูแลรักษาจำนวนประชากรนกน้ำในปัจจุบันอย่างไรให้คงอยู่ต่อไปได้ในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป" เกลนน์ กุนเทนสเพอร์เจน (Glenn Guntenspergen) จากสำหนักงานธรณีวิทยาสหรัฐฯ กล่าว