xs
xsm
sm
md
lg

พิลึก “สมโกศ”!! เลือดสีเขียวกระดูกสีน้ำเงิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0066> นัยน์ตากลมโตดูบ้องแบ๊วไม่ได้ขี้ริ้วขี้เหร่อะไร นี่คือ สมโกศ พระเอกคนล่าสุดของบรรดานักอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ (ภาพ: FFI) </FONT></CENTER>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นักวิจัยได้ค้นพบสัตว์ตระกูลกบ สายพันธุ์ใหม่ในเขตเทือกเขากระวัญ (Phnom Kravanh) หรือ “กระวาน” ของกัมพูชาที่อยู่ใกล้ชายแดนไทย และประหลาดยิ่งที่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพันธุ์นี้มีโลหิตเป็นสีเขียว กระดูกเป็นสีน้ำเงินเข้ม สามารถมองเห็นได้ผ่านผิวอันบางโปร่งของมัน

เชื่อกันว่า ธรรมชาติให้เลือดสีเขียวกับกระดูกสีน้ำเงินมา เพื่อไม่ให้ดูน่าสนใจสำหรับนักล่าในป่าดิบ เรื่องราวอันน่าประหลาดนี้ได้รับการเปิดเผยผ่านทางเว็บไซต์ขององค์การฟอน่าแอนด์ฟลอร่าอินเตอร์เนชั่นแนล (Fauna & Flora International)

“กบสมโกศ” (Somkos frog) เป็นชื่อที่นักชีววิทยาตั้งให้กับพวกมัน เป็นหนึ่งในบรรดากบสายพันธุ์ใหม่อื่นๆ อีกจำนวน 3 สายพันธุ์ ที่ถูกค้นพบในบริเวณป่าดิบทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกัมพูชาเช่นเดียวกัน

อีกสามชนิด คือ กบพุ่มไม้แห่งเทือกเขาคาร์ดามัม (Cardamom bush frogs) กบของสมิธ (Smith's frog) หรือ Rana faber และ “กบมีเขาของออรัล” (Aural horned frog) ทั้งหมดกำลังรอการตรวจสอบและยืนยันอีกครั้งหนึ่ง

การสำรวจที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า 40 สายพันธุ์ที่ไม่เคยพบมาก่อนในดินแดนกัมพูชา

องค์การ FFI กล่าวว่า “กบสมโกศ” มีความพิสดารกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ที่สีของเลือดกับกระดูกของมัน ซึ่งเชื่อว่า เกิดจากสารไบลิเวอร์ดิน (biliverdin) อันเป็นของเสียจากการสันดาปในร่างกายที่โดยปกติผลิตจากตับ

“ในสายพันธุ์นี้สารไบลิเวอร์ดินจะย้อนกลับเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้มันเป็นสีเขียว.. ปรากฏการณ์คล้ายๆ กับที่เคยพบในกิ้งก่าบางชนิด” องค์การ FFI อธิบายในคำแถลงเกี่ยวกับการค้นพบ

นักวิทยาศาสตร์ของ FFI กล่าวอีกว่า สารสีเขียวนี้สามารถมองเห็นผ่านผิวโปร่งใส ทำให้สมโกศพรางตัวได้ดีกว่า หรืออาจจะทำให้พวกนักล่าถึงกับไม่อยากจะลิ้มลองอาหารที่ไม่กินนี้

องค์การพิทักษ์ชิวะนานาพันธุ์นี้ กล่าวอีกว่า กบสมโกศเป็นสายพันธุ์ที่หายาก อาศัยในอาณาบริเวณจำเพาะของป่าดงดิบ ในระดับความสูงจากน้ำทะเลราว 500 เมตร

นักวิทยาศาสตร์ยังรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศน์ของพวกมันน้อยมาก จะรู้กันก็เพียงว่ามันผสมพันธุ์และแพร่พันธุ์กันในแอ่งน้ำจากน้ำฝน

องค์การ FFI ประกาศผลการค้นพบดังกล่าว เนื่องในโอกาสการตีพิมพ์หนังสือแนะนำสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในกัมพูชาเล่มแรกสุดความหนา 130 หน้า ซึ่งเขียนโดยเจเรมี โฮลเด้น (Jeremy Holden) ร่วมกับนางธี (Neang Thy) นักวิทยาศาสตร์ชาวเขมร

หนังสือเล่มนี้ได้ตีพิมพ์รูปภาพกับเรื่องราว เกี่ยวกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 63 ชนิดที่ค้นพบแล้วในกัมพูชา หลังการเพียรพยายามศึกษาเป็นเวลา 9 ปี โดยนักวิทยาศาสตร์ของ FFI
กำลังโหลดความคิดเห็น