ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. - จากกรณีที่ชาวบ้าน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้พบจิ้งจกที่มีผิวหนังสีแดงทั้งตัว แถมนิ้วตีนของขาทั้งสี่ข้าง ต่างก็มี 5 นิ้ว การเคลื่อนที่ช้า และเมื่อนำมาใส่ไว้ในตู้กระจก ก็ไม่เกิดการเปลี่ยนสีผิวเพื่อเป็นการพรางตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมรอบตัว ซึ่งต่างจากจิ้งจกบ้านปกติทั่วไปนั้น รศ.ดร.สมโภชน์ ศรีโกสามาตร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. กล่าวว่า ในเบื้องต้นยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่ามีสาเหตุจากอะไร แต่แนะนำให้ผู้เป็นเจ้าของเลี้ยงต่อไป เพื่อศึกษาพฤติกรรม
“จิ้งจกที่มีผิวหนังสีแดงที่พบ ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่าอาจเกิดมาจาก การกลายพันธุ์ เนื่องจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมลักษณะของสีผิว หรือ เป็นผลจากอุณหภูมิของอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นไม่เพียงส่งผลให้อัตราส่วนของจิ้งจกตัวผู้เพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังพบหลักฐานว่าจิ้งจกที่อาศัยอยู่ใกล้ตู้อบที่มีอุณหภูมิสูง จะทำให้ผิวหนังจิ้งจกมีสีแดงผิดปกติด้วย ส่วนกรณีที่จิ้งจกสีแดงที่พบมีนิ้วตีนห้านิ้วนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในธรรมชาติ แต่นิ้วที่ห้ามักจะมีขนาดเล็กทำให้มองไม่ค่อยเห็น
อย่างไรก็ดี การที่จิ้งจกมีหลายสีคล้ายเป็นการพรางตัวอาจจะเกี่ยวข้องกับยีน ไม่ได้เกิดจากว่าจิ้งจกหนึ่งตัวสามารถเปลี่ยนสีได้หลายสี ส่วนการเคลื่อนที่ช้าหรือลำตัวมีสีแดงที่เห็นได้เด่นชัดนั้น ถือว่าไม่เป็นผลดีนักต่อตัวจิ้งจก เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของศัตรูได้ง่าย ”
สำหรับข้อสงสัยที่ว่าจิ้งจกแดงที่พบเป็นสายพันธุ์จากต่างประเทศหรือไม่ รศ.ดร.สมโภชน์ กล่าวว่า การตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่พบลักษณะเดียวกันนี้ ส่วนจะเป็นจิ้งจกสายพันธุ์ใหม่หรือไม่จะต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป เนื่องจากจิ้งจกสีแดงที่พบมีเพียงแค่ตัวเดียว ทั้งนี้ข้อแนะนำที่ดี คือ ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของเลี้ยงต่อไป พร้อมทั้งสังเกตพฤติกรรมความเป็นอยู่ โดยเฉพาะการขยายพันธุ์ เนื่องจากสัตว์ที่เกิดการกลายพันธุ์มักจะเป็นหมัน แต่ถ้าสามารถผสมพันธุ์มีลูกหลานได้ ก็ต้องติดตามดูว่ารุ่นต่อๆไป จะมีสีผิวหนังเป็นเช่นไร จะเป็นสีแดงเช่นเดียวกันหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมในรุ่นลูกหลานต่อไปด้วย”
การได้พบตัวอย่างสัตว์แปลกๆ เช่นนี้ ในแง่ของวิทยาศาสตร์แล้ว ไม่แน่ว่า จิ้งจกสีแดงที่พบนี้ อาจเป็นตัวอย่างชิ้นสำคัญที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิจัยสัตว์ชนิดนี้ในทางชีววิทยาก็เป็นได้
“จิ้งจกที่มีผิวหนังสีแดงที่พบ ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่าอาจเกิดมาจาก การกลายพันธุ์ เนื่องจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมลักษณะของสีผิว หรือ เป็นผลจากอุณหภูมิของอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นไม่เพียงส่งผลให้อัตราส่วนของจิ้งจกตัวผู้เพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังพบหลักฐานว่าจิ้งจกที่อาศัยอยู่ใกล้ตู้อบที่มีอุณหภูมิสูง จะทำให้ผิวหนังจิ้งจกมีสีแดงผิดปกติด้วย ส่วนกรณีที่จิ้งจกสีแดงที่พบมีนิ้วตีนห้านิ้วนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในธรรมชาติ แต่นิ้วที่ห้ามักจะมีขนาดเล็กทำให้มองไม่ค่อยเห็น
อย่างไรก็ดี การที่จิ้งจกมีหลายสีคล้ายเป็นการพรางตัวอาจจะเกี่ยวข้องกับยีน ไม่ได้เกิดจากว่าจิ้งจกหนึ่งตัวสามารถเปลี่ยนสีได้หลายสี ส่วนการเคลื่อนที่ช้าหรือลำตัวมีสีแดงที่เห็นได้เด่นชัดนั้น ถือว่าไม่เป็นผลดีนักต่อตัวจิ้งจก เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของศัตรูได้ง่าย ”
สำหรับข้อสงสัยที่ว่าจิ้งจกแดงที่พบเป็นสายพันธุ์จากต่างประเทศหรือไม่ รศ.ดร.สมโภชน์ กล่าวว่า การตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่พบลักษณะเดียวกันนี้ ส่วนจะเป็นจิ้งจกสายพันธุ์ใหม่หรือไม่จะต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป เนื่องจากจิ้งจกสีแดงที่พบมีเพียงแค่ตัวเดียว ทั้งนี้ข้อแนะนำที่ดี คือ ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของเลี้ยงต่อไป พร้อมทั้งสังเกตพฤติกรรมความเป็นอยู่ โดยเฉพาะการขยายพันธุ์ เนื่องจากสัตว์ที่เกิดการกลายพันธุ์มักจะเป็นหมัน แต่ถ้าสามารถผสมพันธุ์มีลูกหลานได้ ก็ต้องติดตามดูว่ารุ่นต่อๆไป จะมีสีผิวหนังเป็นเช่นไร จะเป็นสีแดงเช่นเดียวกันหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมในรุ่นลูกหลานต่อไปด้วย”
การได้พบตัวอย่างสัตว์แปลกๆ เช่นนี้ ในแง่ของวิทยาศาสตร์แล้ว ไม่แน่ว่า จิ้งจกสีแดงที่พบนี้ อาจเป็นตัวอย่างชิ้นสำคัญที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิจัยสัตว์ชนิดนี้ในทางชีววิทยาก็เป็นได้