xs
xsm
sm
md
lg

ฤาเข้าใจผิด? ไดโนเสาร์คอยาว ไม่เล็มไม้แนวสูงแต่ก้มกินแนวราบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แฟ้มภาพวาดซอโรพอดจากเอเอฟพี (เครดิต Mark Witton/Mike Taylor)
เชื่อกันมายาวนานว่า "ซอโรพอด" ไดโนเสาร์คอยาว ยืดคอกินใบไม้สูงๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญไดโนเสาร์ออกมาแย้งว่า จริงๆ แล้วสัตว์กินพืชนี้ น่าจะกินอาหารในแนวราบมากกว่าในแนวสูง เพื่อประหยัดพลังงาน และไม่ต้องสูบฉีดเลือดขึ้นไปเลี้ยงลำคอขณะยืดกินอาหารสูงๆ

ในยุคไดโนเสาร์ครองเมือง "มาเมนชิซอรัส" (Mamenchisaurus) ซึ่งเป็นหนึ่งใน "ซอโรพอด" (sauropod) ไดโนเสาร์ชนิดกินพืช และมีชีวิตอยู่ในยุคปลายจูราสสิค (Jurassic) เมื่อประมาณ 150 ล้านปีมาแล้ว ได้วิวัฒนาการให้มีคอที่ยาวได้มากกว่า 9 เมตร ซึ่งเชื่อกันโดยทั่วไปว่า สัตว์ร่างมหึมานี้ ใช้ลำคอสูงยาวของพวกมันเหมือนกับยีราฟในปัจจุบัน คือยืดคอขึ้นไปกินต้นไม้และพืชที่สัตว์คู่แข่งของมันเอื้อมไม่ถึง

หากแต่งานวิจัยล่าสุดของโจเจอร์ เซย์มัวร์ (Roger Seymour) จากสภาราชบัณฑิตแห่งอังกฤษ (Britain's prestigious Royal Society) ได้แย้งว่า สัตว์กินพืชขนาดยักษ์นี้น่าจะกินพืชในแนวราบตามพื้น มากกว่าพืชที่อยู่ในแนวดิ่ง เพื่อประหยัดพลังงานในร่างกาย

ตามรายงานของเอเอฟพีระบุว่าเขาได้สร้างแบบจำลองเพื่อดูว่า ซอโรพอดพันธุ์ยักษ์นี้จะต้องใช้ความดันเลือดเท่าไหร่ เพื่อยกหัวของมันในการกินอาหารแนวดิ่ง จากนั้นเขาได้คำนวณต่อว่า ซอโพอดยังต้องใช้พลังงานไปอีกเาไหร่เพื่อจะสูบฉีดเลือดให้ได้ความดันระดับดังกล่าว

"ต้องใช้พลังงานมากถึงครึ่งของพลังงานที่รับเข้าไปเพื่อหมุนเวียนเลือด คอในแนวดิ่งต้องการความดันเลือดที่สูงมาก ดังนั้นเป็นไปได้ในทางพลังงานที่จะใช้คอในแนวราบหรือต่ำกว่าเพื่อรักษาระดับความดันเลือดให้ต่ำไว้" เซย์มัวร์กล่าว

ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์อื่นๆ ก็มีข้อถกเถียงในทำนองเดียวกันว่า พอโรพอดคอยาวไม่น่าจะมีหัวใจที่ใหญ่พอกับการกินในแนวดิ่ง และการศึกษาในปี 2543 ระบุว่า "บาโรซอรัส" (Barosaurus) ไดโนเสาร์คอยาวซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับมาเมนชิซอรัส ก็จำเป็นต้องมีหัวใจหนักถึง 5% ของน้ำหนักร่างกายเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังกล้ามเนื้อคอและสมอง เมื่อชะเง้อคอขึ้น
กำลังโหลดความคิดเห็น