xs
xsm
sm
md
lg

จับตา 5 ประเด็นร้อน สิ่งแวดล้อมใน "ปีกอริลลา"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สหประชาชาติจะได้ข้อสรุปแนวทางการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนหลังพิธีสารเกียวโตหมดอายุหรือไม่ ดาวเทียมไครโอแซต 2 ของอีซาจะซ้ำรอยเดิมหรือเปล่า ญี่ปุ่นจะได้ล่าวาฬสมใจนึกหรือไม่ แล้ว "ปีกอริลลา" จะช่วยให้กอริลลารอดพ้นจากการขึ้นบัญชีสัตว์สูญพันธุ์ได้จริงหรือ ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ชวนจับตาประเด็นร้อนเรื่องสิ่งแวดล้อมในปี 52

ภาวะโลกร้อนและนานาปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก่อตัวและสั่งสมมายาวนานเริ่มแสดงอานุภาพให้มนุษย์เห็นและลิ้มรสกันไปบ้างแล้ว ซึ่งในปี 2552 นี้ก็เป็นอีกปีหนึ่งที่พวกเราได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงจะมีการประชุมใหญ่เกิดขึ้นเพื่อหาข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ริชาร์ด แบล็ก (Richard Black) ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ 5 เรื่องสิ่งแวดล้อมที่ควรจับตามองในปีนี้ลงในบีบีซีนิวส์ และทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้สรุปออกมาดังนี้
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 31 มี.ค.-4 เม.ย.51 ณ กรุงเทพฯ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายหลังพิธีสารเกียวโตหมดอายุในปี 2555 (เอเอฟพี)
1. จับตาทิศทางโลกหลังพิธีสารเกียวโตหมดอายุ

พิธีสารเกียวโตกำลังจะสิ้นสุดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ฉะนั้นสหประชาชาติ (ยูเอ็น) จึงต้องประชุมหารือกันเพื่อจัดทำข้อตกลงร่วมกันขึ้นใหม่เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งต้นเดือน ก.ค. 52 นี้ ประเทศที่เข้าร่วมเจรจาตกลงจะต้องลงมติเห็นชอบร่างพันธะสัญญาฉบับใหม่ฉบับแรกของสหประชาชาติ ที่มีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นไปตามเป้า การสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวเพื่อรับกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การถ่ายทอดเทคโนโลยีสะอาด การทุ่มทุนเพื่อรักษาป่า และอื่นๆ โดยคาดการณ์ว่าข้อตกลงฉบับนี้จะแล้วเสร็จและมีพิธีลงนามร่วมกันในการประชุมด้านการภูมิอากาศของสหประชาชาติที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในเดือน ธ.ค. นี้

ทว่าสิ่งสำคัญที่ต้องจับตามองก็คือเป้าหมายของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่พวกเขากำหนดขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายในปี 2563 ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีทีท่าว่าพวกเขาเต็มใจที่จะยอมรับในข้อตกลงใหม่ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยลดการทำลายป่า และได้รับเงินทุนจำนวน 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ในการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบรรเทาปัญหาโลกร้อนได้

ความซับซ้อนนี้ชวนให้สงสัย ถ้าหากว่ามันล้มเหลว มันจะอยู่ห่างไกลจากข้อตกลงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
และถ้าแบล็คเป็นหนึ่งในผู้เจรจา เขาคิดว่าเขาอยากหนอนหลับเสียเดี๋ยวนั้นเลยถ้าหากว่าทำได้
ปี 52 นาซาเตรียมปล่อยดาวเทียมโอซีโอ (OCO) เพื่อขึ้นไปเก็บข้อมูลปริมาณการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมของมนุษย์ และปริมาณที่ป่าไม้สามารถดูดซับได้ เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน (ภาพจาก http://oco.jpl.nasa.gov)
2. ปฏิบัติการดาวเทียมไขปัญหาภาวะโลกร้อน

ในขณะที่กระบวนการของสหประชาชาติดำเนินไปอย่างหนักแน่นภายใต้การควบคุมของนักการเมือง กลุ่มคณะทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ค้นหาแนวทางใหม่ที่ดียิ่งขึ้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยและตัวแปรสำคัญของสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และในปี 2552

ทั้งดาวเทียม โอซีโอ (Orbiting Carbon Observatory: OCO) ของสหรัฐฯ และโกแซต (Greenhouse gases Observing SATellite: GOSAT) ของญี่ปุ่น ซึ่งดาวเทียมทั้งสองได้รับการออกแบบมาเพื่อสำรวจปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่างๆ และศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศด้วยความแม่นยำในแบบที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน วางแนวทางแก้ไข และสามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ ซึ่งข้อมูลการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของป่าไม้มีความสำคัญมากในทางการเมือง สามารถใช้ในการกำหนดเป้าหมายการรักษาป่าที่แม่นยำได้

ขณะเดียวกันด้านองค์การอวกาศยุโรป หรืออีซา (European Space Agency: ESA) ก็มีแผนที่จะปล่อยดาวเทียมไครโอแซต 2 (CryoSat-2) ในปีนี้ เพื่อสำรวจปริมาณน้ำแข็งขั้วโลก หลังจากที่ไครโอแซตลำแรกที่ได้รับการวางตัวให้ปฏิบัติภารกิจเดียวกันนี้เกิดระเบิดเสียหายไปเสียก่อนในขณะขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อปี 2548 ซึ่งโครงการนี้จะให้ข้อมูลที่ดียิ่งกว่าว่าการที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเป็นตัวเร่งให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายลง และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในศตวรรษที่จะถึงนี้จริงหรือไม่
กอริลลาแม่ลูกในเขตอุทยานแห่งชาติของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ถ่ายไว้เมื่อ 12 ธ.ค. 52 ซึ่งกอริลลาเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ และนักอนุรักษ์ได้กำหนดให้ปีนี้เป็น ปีของกอริลลา (รอยเตอร์)
3. ปี 52 ปีของกอริลลา

กลุ่มนักอนุรักษ์สัตว์ป่ากำหนดให้ปี 2552 นี้เป็นปีของกอริลลา (Year of the Gorilla) เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงสาเหตุที่ทำให้สัตว์ป่าที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์อย่างกอริลลาลดจำนวนลง

การประกาศให้ปีเหล่านี้เป็น "ปีของ..." (years of the...) ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความตระหนักไปเสียแล้วหรือ? ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปดูในปี 2551 ก็พบว่าได้มีการประกาศให้เป็นปีต่างๆ มากมาย เช่น ปีของกบ (the year of the frog) ปีของมันฝรั่ง (the year of the potato) หรือแม้กระทั่งปีของโลมา (the year of the dolphin) ทว่าตัวผู้เขียนเองก็ไม่แน่ใจว่าอนาคตของสิ่งเหล่านั้นจะดีขึ้นอย่างที่หวังไว้ได้จริงจากการรณรงค์เพื่อปรับปรุงแก้ไขแค่ในระยะเวลา 12 เดือน

ทว่าในกรณีของกอริลลาก็ดูจะมีความหวังอยู่บ้าง อาทิ การดำเนินคดีกับผู้ที่ลักลอบล่ากอริลลา จัดตั้งองค์กรอนุรักษ์กอริลลา และลดปัญหาการปะทะกันระหว่างกอริลลากับมนุษย์ ซึ่งสาธารณรัฐแคเมอรูนก็เพิ่งได้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งใหม่ขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อให้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์กอริลลาครอสริเวอร์ (Cross River gorilla) ซึ่งกำลังถูกคุกคามมากที่สุดในขณะนี้ ทว่าการปกป้องกอริลลาในเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกนั้นยังเปราะบางอยู่มาก เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งของประชาชนภายในประเทศเอง
มนุษย์ไม่ควรทำให้สัตว์ใดๆ ต้องกลายเป็นสัตว์ป่าหายากเท่าๆกับไม่ทำให้กลายเป็นสัตว์สูญพันธุ์ (ภาพจาก www.gujaratindia.com)
4. "แค่สัตว์หายาก" ไม่น่าตื่นเต้นเท่า "สัตว์สูญพันธุ์"

สถาบันหลายแห่งต่างจัดงานฉลองอย่างยิ่งใหญ่ให้กับวาระครบรอบ 200 ปี วันคล้ายวันเกิดของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยาผู้ยิ่งใหญ่ของโลก พร้อมกับงานครบรอบ 150 ปี การตีพิมพ์หนังสือ ออน ดิ ออริจิน ออฟ สปีชีส์ (On the Origin of Species)

บางส่วนในหนังสือกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (On the Demise of Species) ซึ่งแบล็คสงสัยเหลือเกินว่าดาร์วินคงจะเข้าใจปัญหาของกอริลลาได้ไม่เลวทีเดียว ซึ่งเขาได้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์คือผู้ที่จับสัตว์ต่างๆ ไปเลี้ยงและเพื่อให้มันรอดพ้นจากการสูญพันธุ์ ทว่าได้บอกใบ้เป็นนัยว่าการล่าอย่างตั้งอกตั้งใจ นั่นคือสิ่งที่เราทำสิ่งที่ผิดพลาดจนทำให้ธรรมชาติเสื่อมโทรมลง

ทั้งนี้ การขึ้นบัญชีสิ่งมีชีวิตหายากก่อนที่จะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อาจให้ความรู้สึกที่ไร้ความตื่นเต้นกับสิ่งมีชีวิตที่เป็นสปีชีส์หายาก ทว่ามันจะเป็นเรื่องน่าตกตะลึงทันทีที่สัตว์นั้นเกิดสูญพันธุ์ขึ้นมา คล้ายกับที่ไม่มีคนรู้สึกประหลาดใจกับการที่ใครคนหนึ่งเจ็บไข้ได้ป่วย แต่เมื่อใดที่เขาเสียชีวิตลง ผู้คนก็จะตกใจและสงสัยในความรุนแรงของสิ่งที่เป็นสาเหตุการตายของเขาขึ้นมาทันที

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เราไม่ควรเป็นสาเหตุทำให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เข้าข่ายเป็นสิ่งมีชีวิตหายากเท่าๆ กับที่ไม่ควรทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปแล้ว
ซากวาฬที่ถูกชาวประมงชำแหละบริเวณท่าเรือวาดะ เมืองมินามิโบโซ (Minamiboso) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียว เมื่อเดือน ม.ค. 51 ซึ่งญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สนับสนุนการล่าวาฬ (รอยเตอร์)
5. วาฬและนักล่าวาฬ ใครจะมีชัยในการประชุมไอดับเบิลยูซีปี 52

ถ้าปีนี้มีอิทธิพลต่อกรณีเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็คงสำคัญกับวาฬและผู้ล่าวาฬไม่น้อยไปกว่ากัน ฉะนั้นเราจึงต้องจับตาดูทั้งวาฬและการประของคณะกรรมการควบคุมการล่าวาฬระหว่างประเทศ หรือไอดับเบิลยูซี (International Whaling Commission: IWC) ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศโปรตุเกสในเดือน มิ.ย. 52

กว่าปีครึ่งที่นานาประเทศโต้แย้งกันถึงเรื่องการประนีประนอมการล่าวาฬและข้อกำหนดเรื่องการห้ามล่าวาฬเพื่อการค้าของไอดับเบิลยูซีที่บังคับใช้มากว่า 20 ปี ซึ่งการประชุมในปีนี้จะต้องได้ข้อสรุปในการปฏิรูปกฏเกณฑ์การล่าวาฬที่ยืดเยื้อมานาน ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากหลายฝ่าย

อย่างไรก็ดี ปัญหาทางการเมืองเป็นเรื่องที่น่าหวาดหวั่น และคงไม่มีความชัดเจนแม้ว่าท้ายที่สุดแล้วพรรคการเมืองต่างๆ จะตกลงเห็นชอบด้วยก็ตาม และหากเป็นเช่นนั้นจริง ข้อบังคับห้ามล่าวาฬเชิงพาณิชย์ที่ยืนหยัดมายาวนานถึง 2 ทศวรรษ จะถูกคว่ำไปได้อย่างใด และอาจกล่าวอ้างได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จยิ่งใหญ่ของกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อการอนุรักษ์วาฬ

ทั้งนี้ ในการประชุมของไอดับเบิลยูซีเมื่อปีกลางปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ขู่ว่าจะถอนตัวจากไอดับเบิลยูซี หากไม่ยอมยกเลิกคำสั่งห้ามล่าวาฬเชิงพาณิชย์ ซึ่งญี่ปุ่น ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์ เป็นกลุ่มประเทศที่สนับสนุนการล่าวาฬ
กำลังโหลดความคิดเห็น