สกว. - นักวิจัยไทยคว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ “The 2008 ASAIHL-SCOPUS Young Scientist Awards” ในการประชุม The 2008 ASAIHL 28th General Conference ณ Universiti Sains Malaysia รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งจัดโดยสมาคมการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งเอเชียอาคเนย์ (Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning: ASAIHL) สำนักพิมพ์ Elsevier และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (Universiti Sains Malaysia: USM) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อเป็นกำลังใจและเชิดชูเกียรติแด่นักวิจัยรุ่นใหม่ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งสิ้น 15 คน จาก 6 ประเทศ แบ่งเป็น ฮ่องกง 5 รางวัล สิงคโปร์ 2 รางวัล ไต้หวัน 2 รางวัล จีน 1 รางวัล มาเลเซีย 1 รางวัล และไทย 3 รางวัล
สำหรับนักวิจัยที่ได้รางวัลดังกล่าว ได้แก่ ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ จากคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี) รศ.นพ.วิศิษฏ์ ทองบุญเกิด คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (สาขาการแพทย์) และ ดร.สนธยา เตียวศิริทรัพย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร)
ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ เปิดเผยว่า ตนและสมาชิกในกลุ่มวิจัยมีความภาคภูมิใจกับรางวัลนี้ และทำให้ทราบว่าผลงานวิจัยของกลุ่มวิจัยมีคุณภาพเทียบเคียงกับนักวิจัยประเทศอื่นๆ ซึ่งงานวิจัยของตนส่วนใหญ่เป็นวัสดุพอลิเมอร์เชิงประกอบที่ผลิตจากวัสดุผสมระหว่างพอลิเมอร์ (พลาสติกและยาง) และสารเติมแต่งจากธรรมชาติ หรือของเหลือจากกระบวนการผลิตในภาพอุตสาหกรรมที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีปฏิบัติ เพิ่มความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศโดยการเติมสารปกป้องลงไป และเพิ่มความแข็งแรงเชิงโครงสร้างโดยใช้เส้นใยแก้วสังเคราะห์ รวมทั้งการพัฒนากระบวนการขึ้นรูปที่เหมาะสม เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการวัดสมบัติทางการไหล ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคการอัดรีดร่วม การประยุกต์ใช้สนามแม่เหล็ก และการออกแบบจัดสร้างรีโอมิเตอร์และเครื่องอัดรีดระบบหัวขึ้นรูปแบบหมุนได้ โดยนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ร่วมกับภาคเอกชน นอกจากนี้ยังทำวิจัยด้านฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งกลุ่มของ ศ.ดร.ณรงค์ฤทธ์ เป็นกลุ่มวิจัยกลุ่มแรกของไทยที่ทำการวิจัยอย่างเป็นระบบและมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถจัดตั้งศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ขณะที่ รศ.นพ.วิศิษฏ์ กล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลนี้ แสดงให้เห็นว่าแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยมีความรู้ความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชาติใด และสามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลหากได้รับการสนับสนุนที่ดียิ่งจากรัฐบาล องค์กรต่างๆ และสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ตนได้นำเทคโนโลยีโปรตีโอมิกส์ (Proteomics) มาศึกษากลไกการเกิดโรคต่างๆ ในคน โดยนำมาใช้ตรวจสอบชนิด ปริมาณ และหน้าที่ของโปรตีนจำนวนมากในคราวเดียวกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งโปรตีนบางชนิดในร่างกายมนุษย์อาจมีปริมาณที่มากเกินไปหรือขาดหายไป หรืออาจมีคุณสมบัติรวมทั้งหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ และเกิดโรคในที่สุด การศึกษาวิจัยดังกล่าวอาจนำมาสู่การค้นพบเป้าการรักษาใหม่ และการพัฒนายารักษาโรคชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผลของการรักษาดีขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของโรคลดลง ระยะเวลาการรักษาโรคในโรงพยาบาลสั้นลง หรืออาจนำมาสู่การพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรคบางโรค นอกจากนี้อาจมีการค้นพบตัวบ่งชี้และพยากรณ์โรค ซึ่งนำมาสู่การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
ส่วน น.สพ.ดร.สนธยา เปิดใจว่ารู้สึกดีใจมากเพราะเป็นรางวัลระดับนานาชาติรางวัลแรกในชีวิต โดยผลงานวิจัยของตนคือ การวินิจฉัยโรคโดยตรวจหาเชื้อแบคทีเรียที่ปล่อยออกมาจากหนอนพยาธิหัวใจสุข และขณะนี้กำลังศึกษาสภาพแวดล้อมของยุง ค้างคาว และนกอพยพ เช่น นกปากห่าง ที่มีผลต่อการระบาดของเชื้อไวรัสสมองอักเสบ
ทั้งนี้ ศ.ดร.วิชัย บุญแสง ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สกว. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนแก่นักวิจัยทั้ง 3 คน กล่าวว่า รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งกับความสำเร็จของนักวิจัยไทย โดย ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ได้เริ่มรับทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานอาจารย์ของอาจารย์รุ่นใหม่จนปัจจุบันเป็นวุฒิเมธีวิจัย สกว. ขณะที่นพ.วิศิษฏ์เป็นเมธีวิจัย สกว. ที่เพิ่งได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่น (เหรียญทอง) จากงานประชุมวิชาการประจำปีของฝ่ายวิชาการ สกว. เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และดร.สนธยาขณะนี้กำลังรับทุนอาจารย์รุ่นใหม่จาก สกว. และ สกอ. ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 จึงนับได้ว่านักวิจัยเหล่านี้มีศักยภาพสูง เป็นคนเก่งที่ควรให้การส่งเสริมต่อไป เพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศไทยในการสร้างสังคมฐานความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศและแข่งขันกับนานาชาติได้
สำหรับนักวิจัยที่ได้รางวัลดังกล่าว ได้แก่ ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ จากคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี) รศ.นพ.วิศิษฏ์ ทองบุญเกิด คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (สาขาการแพทย์) และ ดร.สนธยา เตียวศิริทรัพย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร)
ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ เปิดเผยว่า ตนและสมาชิกในกลุ่มวิจัยมีความภาคภูมิใจกับรางวัลนี้ และทำให้ทราบว่าผลงานวิจัยของกลุ่มวิจัยมีคุณภาพเทียบเคียงกับนักวิจัยประเทศอื่นๆ ซึ่งงานวิจัยของตนส่วนใหญ่เป็นวัสดุพอลิเมอร์เชิงประกอบที่ผลิตจากวัสดุผสมระหว่างพอลิเมอร์ (พลาสติกและยาง) และสารเติมแต่งจากธรรมชาติ หรือของเหลือจากกระบวนการผลิตในภาพอุตสาหกรรมที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีปฏิบัติ เพิ่มความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศโดยการเติมสารปกป้องลงไป และเพิ่มความแข็งแรงเชิงโครงสร้างโดยใช้เส้นใยแก้วสังเคราะห์ รวมทั้งการพัฒนากระบวนการขึ้นรูปที่เหมาะสม เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการวัดสมบัติทางการไหล ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคการอัดรีดร่วม การประยุกต์ใช้สนามแม่เหล็ก และการออกแบบจัดสร้างรีโอมิเตอร์และเครื่องอัดรีดระบบหัวขึ้นรูปแบบหมุนได้ โดยนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ร่วมกับภาคเอกชน นอกจากนี้ยังทำวิจัยด้านฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งกลุ่มของ ศ.ดร.ณรงค์ฤทธ์ เป็นกลุ่มวิจัยกลุ่มแรกของไทยที่ทำการวิจัยอย่างเป็นระบบและมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถจัดตั้งศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ขณะที่ รศ.นพ.วิศิษฏ์ กล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลนี้ แสดงให้เห็นว่าแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยมีความรู้ความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชาติใด และสามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลหากได้รับการสนับสนุนที่ดียิ่งจากรัฐบาล องค์กรต่างๆ และสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ตนได้นำเทคโนโลยีโปรตีโอมิกส์ (Proteomics) มาศึกษากลไกการเกิดโรคต่างๆ ในคน โดยนำมาใช้ตรวจสอบชนิด ปริมาณ และหน้าที่ของโปรตีนจำนวนมากในคราวเดียวกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งโปรตีนบางชนิดในร่างกายมนุษย์อาจมีปริมาณที่มากเกินไปหรือขาดหายไป หรืออาจมีคุณสมบัติรวมทั้งหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ และเกิดโรคในที่สุด การศึกษาวิจัยดังกล่าวอาจนำมาสู่การค้นพบเป้าการรักษาใหม่ และการพัฒนายารักษาโรคชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผลของการรักษาดีขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของโรคลดลง ระยะเวลาการรักษาโรคในโรงพยาบาลสั้นลง หรืออาจนำมาสู่การพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรคบางโรค นอกจากนี้อาจมีการค้นพบตัวบ่งชี้และพยากรณ์โรค ซึ่งนำมาสู่การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
ส่วน น.สพ.ดร.สนธยา เปิดใจว่ารู้สึกดีใจมากเพราะเป็นรางวัลระดับนานาชาติรางวัลแรกในชีวิต โดยผลงานวิจัยของตนคือ การวินิจฉัยโรคโดยตรวจหาเชื้อแบคทีเรียที่ปล่อยออกมาจากหนอนพยาธิหัวใจสุข และขณะนี้กำลังศึกษาสภาพแวดล้อมของยุง ค้างคาว และนกอพยพ เช่น นกปากห่าง ที่มีผลต่อการระบาดของเชื้อไวรัสสมองอักเสบ
ทั้งนี้ ศ.ดร.วิชัย บุญแสง ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สกว. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนแก่นักวิจัยทั้ง 3 คน กล่าวว่า รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งกับความสำเร็จของนักวิจัยไทย โดย ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ได้เริ่มรับทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานอาจารย์ของอาจารย์รุ่นใหม่จนปัจจุบันเป็นวุฒิเมธีวิจัย สกว. ขณะที่นพ.วิศิษฏ์เป็นเมธีวิจัย สกว. ที่เพิ่งได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่น (เหรียญทอง) จากงานประชุมวิชาการประจำปีของฝ่ายวิชาการ สกว. เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และดร.สนธยาขณะนี้กำลังรับทุนอาจารย์รุ่นใหม่จาก สกว. และ สกอ. ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 จึงนับได้ว่านักวิจัยเหล่านี้มีศักยภาพสูง เป็นคนเก่งที่ควรให้การส่งเสริมต่อไป เพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศไทยในการสร้างสังคมฐานความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศและแข่งขันกับนานาชาติได้