คนวงการวิทย์เชื่อมั่นและให้กำลังใจ "คุณหญิงกัลยา” บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์ เชื่อมีพื้นฐานวิทย์คงเข้าใจ แต่หวั่นรัฐบาลอายุสั้น ไม่ทันได้แสดงฝีมือ
นอกจากผู้บริหารที่มีส่วนได้รับผลกระทบจากนโยบาบของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยตรงแล้ว คนในวงการวิทยาศาสตร์เขามีความเห็นต่อ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคนใหม่ว่าอย่างไรกันบ้างผู้จัดการวิทยาศาสตร์พาไปสำรวจความเห็นเขาเหล่านั้น
นายสุขสันต์ อิทธิปัญญานันท์
นักศึกษาสาขาชีววิทยาและประสาทวิทยา มหาวิทยาลัยดุค (Duke University) สหรัฐฯ
"ผมไม่รู้จักท่านเป็นการส่วนตัวครับแต่เคยได้ยินชื่อมาบ้าง จากประวัติผมคิดว่ารัฐมนตรีคงมีแนวคิดกว้างๆ ว่าจะปรับปรุงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในไทยอย่างไร โดยความเห็นส่วนตัวผมว่าเราไม่ควรมุ่งไปที่การใช้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาสิ่งของอย่างเดียว แต่ควรยกระดับการศึกษาควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ตอนนี้เศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่เรายังคงห่างไกลจากประเทศเหล่านั้นมากนัก แม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่าง เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ผมว่ารัฐมนตรีคนใหม่คนมีวิสัยทัศน์ที่ดีในวิทยาศาสตร์และนำไปใช้ในทางที่จะพัฒนาประเทศไทยระยะยาว อย่างไรก็ตามผมไม่คิดว่ารัฐบาลใหม่นี้จะสนใจวิทยาศาสตร์นัก พวกเขาน่าจะยุ่งอยู่กับว่าจะสร้างอำนาจและเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชนได้อย่างไรมากกว่า ผมก็หวังว่าเราจะหมดปัญหาทางการเมืองนี้ในเร็ววัน จากนั้นก็ให้ความสำคัญต่อวิทยาศาสตร์และการศึกษาซึ่งจะช่วยประเทศไทยในระยะยาว"
ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ
อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ดีครับ คุณหญิงเคยเรียนฟิสิกส์ที่อิมพีเรียลคอลเลจ ก็คิดว่าน่าจะดี ในฐานะที่เคยเรียนวิทยาศาสตร์ มีความรู้ดี จึงน่าจะเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และน่าจะเข้าใจวิทยาศาสตร์ ก็ให้กำลังใจครับ หวังว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เรียกว่าส่งคนที่เหมาะกับงานมา"
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"จริงๆ ผมเป็นคณะทำงานของคุณหญิงในสมัยท่านเป็นรัฐมนตรีเงา ซึ่งไม่ได้มีข้อผูกพันทางการเมือง และตอนนี้ก็ไม่ได้เป็นคณะทำงานแล้ว แต่ก็อยู่ในฐานะที่ค้นเคย โดยภาพรวมของคุณหญิงแล้วน่าจะมีทิศทางไปในทางที่ดี โดยพื้นฐานท่านมีความรู้วิทยาศาสตร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ และเป็นคณะกรรมการของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แต่ทั้งนี้วิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำได้ทุกอย่างหรือมีคำตอบสำหรับทุกอย่างเหมือนที่รัฐมนตรีท่านหนึ่งพูดไว้ แต่วิทยาศาสตร์เป็นหนทางไปหาคำตอบ คิดว่าคุณหญิงคงทำให้งานวิจัยและการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีรูปธรรมที่ดี แต่ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เพราะวิทยาศาสตร์ต้องปูพื้นฐานนาน แต่ไม่รู้ว่ารัฐบาลนี้จะอยู่ได้นานแค่ไหน ถ้าอยู่แค่ไม่กี่เดือนก็ไม่มีผลอะไรนัก ต้องนี้เราต้องปรับพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งตั้งอยู่บนฐานที่ ศ.ดร.สง่า สรรพศรี ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2530 และยังไม่เคยมีการปรับเปลี่ยนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งที่โลกได้เปลี่ยนไปเยอะแล้ว"
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล
นักเขียนบทความและนิยายวิทยาศาสตร์ไทย
“บังเอิญเรารู้จักกันก่อนคุณหญิงเข้าสู่การเมือง เมื่อหลาย 10 ปีก่อน ช่วงที่ยังไม่มีสมาคมฟิสิกส์ เรามีกิจกรรมฟิสิกส์ ร่วมกลุ่มและสัมมนา ก็ได้้คุยกันบ่อยๆ คุณหญิงเป็นนักฟิสิกส์มืออาชีพ นับเป็นเรื่องดี เป็นการเริ่มต้นที่ดี เอาใจช่วย เพราะการเมืองก็เป็นวิทยาศาสตร์ทางด้านสังคม เอาใจช่วย เพราะการตั้งรัฐบาลครั้งนี้ไม่มีเสียงข้างมาก จึงไม่สามารถตั้งทุกอย่างได้อย่างที่ใครๆ ต้องการ แต่ก็พอรับได้ ที่ผ่านมา 7-8 ปี เราได้เห็นอะไรหลายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็น่าจะเป็นโอกาสให้เรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ถ้าทุกคนตระหนักถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศก็ไปได้ เห็นชัดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือของจริง แต่ทุนนิยมอยู่ไม่ได้หรอก อย่างที่เราเห็นในวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯ ”
ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“รู้จักว่าอาจารย์ (คุณหญิงกัลยา) ได้อยู่ในวงการวิทยาศาสตร์พอสมควร รู้จักว่าท่านมีพื้นฐาน
ทางด้านวิทยาศาสตร์ รู้เรื่องวิทยาศาสตร์ มีการรปะชุมทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ไหนท่านก็ไปประจำ อย่างการประชุมของมูลนิธิบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ซึ่งจะประชุมเพื่อนำเรื่องเชิงนโยบายนำเสนอรัฐบาล ท่านก็เข้าร่วมประชุมตลอด แม้ไม่ได้เป็นรัฐมนตรีท่านก็มีความสนใจ ค่อนข้างมั่นใจว่าท่านรู้และยังสนใจในนโยบายและทิศทางของวิทยาศาสตร์ตลอด คิดว่าท่านน่าจะผลักดันหรือสร้างสรรนโยบายอะไรบ้าง ก็ตั้งความหวังกับท่านไว้ค่อนข้างสูง
สิ่งที่อยากจะฝากคือให้ช่วยผลักดันพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งในอดีตคนกลัวกัน แต่อนาคตคงเลี่ยงไม่่พ้น แต่ยังขาดคนที่จะผลักดันว่าจะ "เอาแน่” หรือ "ถอย" ซึ่งถ้าท่านลงมาจับตรงนี้อย่างจริงจัง เชื่อว่าท่านจะตัดสินอยู่บนเนื้อหาวิทยาศาสตร์จริงๆ ไม่ใช่บนพื้นฐานของการเมือง เอาคนที่รู้จริงมาตัดสิน และถ้าเอาจริงวันนี้ ในปี ค.ศ.2025 จึงจะเริ่มสร้างได้ และถ้าเอาแน่ มหาวิทยาลัยก็จะได้เริ่มสอนเปิดสอนนิวเคลียร์ในระดับปริญญาโท-เอก
อีกอย่างที่อยากฝากคือ ตอนนี้ใครๆ ก็ชอบพูดว่าถ้าจะแข็งขันระดับโลกต้องเอาวิทยาศาสตร์นำ แต่ตอนนี้ไทยยังไม่มีใครผลักดันอย่างจริงจัง โดยคนที่จะสร้างนวัตกรรมหรือสินค้าในอนาคตจำเป็นต้องรู้จักลึกลงไปถึงโครงสร้างอะตอม ถ้าจะทุ่มเทงานวิจัยให้จริงจัง เชื่อว่าท่านมีฐานและจะสร้างโดยไม่มีการเมืองมาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังอยากให้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการดูแลการเียน-การสอนวิทยาศาสตร์ในระดับ ม.ปลาย ซึ่งปัจจุบันแย่มาก และเด็กไม่เรียนวิทยาศาสตร์กันเรื่องการเรียนต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก จะดูกันตอนมหาวิทยาลัยไม่ทันแล้ว"
นอกจากผู้บริหารที่มีส่วนได้รับผลกระทบจากนโยบาบของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยตรงแล้ว คนในวงการวิทยาศาสตร์เขามีความเห็นต่อ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคนใหม่ว่าอย่างไรกันบ้างผู้จัดการวิทยาศาสตร์พาไปสำรวจความเห็นเขาเหล่านั้น
นายสุขสันต์ อิทธิปัญญานันท์
นักศึกษาสาขาชีววิทยาและประสาทวิทยา มหาวิทยาลัยดุค (Duke University) สหรัฐฯ
"ผมไม่รู้จักท่านเป็นการส่วนตัวครับแต่เคยได้ยินชื่อมาบ้าง จากประวัติผมคิดว่ารัฐมนตรีคงมีแนวคิดกว้างๆ ว่าจะปรับปรุงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในไทยอย่างไร โดยความเห็นส่วนตัวผมว่าเราไม่ควรมุ่งไปที่การใช้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาสิ่งของอย่างเดียว แต่ควรยกระดับการศึกษาควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ตอนนี้เศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่เรายังคงห่างไกลจากประเทศเหล่านั้นมากนัก แม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่าง เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ผมว่ารัฐมนตรีคนใหม่คนมีวิสัยทัศน์ที่ดีในวิทยาศาสตร์และนำไปใช้ในทางที่จะพัฒนาประเทศไทยระยะยาว อย่างไรก็ตามผมไม่คิดว่ารัฐบาลใหม่นี้จะสนใจวิทยาศาสตร์นัก พวกเขาน่าจะยุ่งอยู่กับว่าจะสร้างอำนาจและเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชนได้อย่างไรมากกว่า ผมก็หวังว่าเราจะหมดปัญหาทางการเมืองนี้ในเร็ววัน จากนั้นก็ให้ความสำคัญต่อวิทยาศาสตร์และการศึกษาซึ่งจะช่วยประเทศไทยในระยะยาว"
ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ
อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ดีครับ คุณหญิงเคยเรียนฟิสิกส์ที่อิมพีเรียลคอลเลจ ก็คิดว่าน่าจะดี ในฐานะที่เคยเรียนวิทยาศาสตร์ มีความรู้ดี จึงน่าจะเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และน่าจะเข้าใจวิทยาศาสตร์ ก็ให้กำลังใจครับ หวังว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เรียกว่าส่งคนที่เหมาะกับงานมา"
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"จริงๆ ผมเป็นคณะทำงานของคุณหญิงในสมัยท่านเป็นรัฐมนตรีเงา ซึ่งไม่ได้มีข้อผูกพันทางการเมือง และตอนนี้ก็ไม่ได้เป็นคณะทำงานแล้ว แต่ก็อยู่ในฐานะที่ค้นเคย โดยภาพรวมของคุณหญิงแล้วน่าจะมีทิศทางไปในทางที่ดี โดยพื้นฐานท่านมีความรู้วิทยาศาสตร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ และเป็นคณะกรรมการของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แต่ทั้งนี้วิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำได้ทุกอย่างหรือมีคำตอบสำหรับทุกอย่างเหมือนที่รัฐมนตรีท่านหนึ่งพูดไว้ แต่วิทยาศาสตร์เป็นหนทางไปหาคำตอบ คิดว่าคุณหญิงคงทำให้งานวิจัยและการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีรูปธรรมที่ดี แต่ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เพราะวิทยาศาสตร์ต้องปูพื้นฐานนาน แต่ไม่รู้ว่ารัฐบาลนี้จะอยู่ได้นานแค่ไหน ถ้าอยู่แค่ไม่กี่เดือนก็ไม่มีผลอะไรนัก ต้องนี้เราต้องปรับพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งตั้งอยู่บนฐานที่ ศ.ดร.สง่า สรรพศรี ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2530 และยังไม่เคยมีการปรับเปลี่ยนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งที่โลกได้เปลี่ยนไปเยอะแล้ว"
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล
นักเขียนบทความและนิยายวิทยาศาสตร์ไทย
“บังเอิญเรารู้จักกันก่อนคุณหญิงเข้าสู่การเมือง เมื่อหลาย 10 ปีก่อน ช่วงที่ยังไม่มีสมาคมฟิสิกส์ เรามีกิจกรรมฟิสิกส์ ร่วมกลุ่มและสัมมนา ก็ได้้คุยกันบ่อยๆ คุณหญิงเป็นนักฟิสิกส์มืออาชีพ นับเป็นเรื่องดี เป็นการเริ่มต้นที่ดี เอาใจช่วย เพราะการเมืองก็เป็นวิทยาศาสตร์ทางด้านสังคม เอาใจช่วย เพราะการตั้งรัฐบาลครั้งนี้ไม่มีเสียงข้างมาก จึงไม่สามารถตั้งทุกอย่างได้อย่างที่ใครๆ ต้องการ แต่ก็พอรับได้ ที่ผ่านมา 7-8 ปี เราได้เห็นอะไรหลายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็น่าจะเป็นโอกาสให้เรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ถ้าทุกคนตระหนักถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศก็ไปได้ เห็นชัดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือของจริง แต่ทุนนิยมอยู่ไม่ได้หรอก อย่างที่เราเห็นในวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯ ”
ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“รู้จักว่าอาจารย์ (คุณหญิงกัลยา) ได้อยู่ในวงการวิทยาศาสตร์พอสมควร รู้จักว่าท่านมีพื้นฐาน
ทางด้านวิทยาศาสตร์ รู้เรื่องวิทยาศาสตร์ มีการรปะชุมทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ไหนท่านก็ไปประจำ อย่างการประชุมของมูลนิธิบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ซึ่งจะประชุมเพื่อนำเรื่องเชิงนโยบายนำเสนอรัฐบาล ท่านก็เข้าร่วมประชุมตลอด แม้ไม่ได้เป็นรัฐมนตรีท่านก็มีความสนใจ ค่อนข้างมั่นใจว่าท่านรู้และยังสนใจในนโยบายและทิศทางของวิทยาศาสตร์ตลอด คิดว่าท่านน่าจะผลักดันหรือสร้างสรรนโยบายอะไรบ้าง ก็ตั้งความหวังกับท่านไว้ค่อนข้างสูง
สิ่งที่อยากจะฝากคือให้ช่วยผลักดันพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งในอดีตคนกลัวกัน แต่อนาคตคงเลี่ยงไม่่พ้น แต่ยังขาดคนที่จะผลักดันว่าจะ "เอาแน่” หรือ "ถอย" ซึ่งถ้าท่านลงมาจับตรงนี้อย่างจริงจัง เชื่อว่าท่านจะตัดสินอยู่บนเนื้อหาวิทยาศาสตร์จริงๆ ไม่ใช่บนพื้นฐานของการเมือง เอาคนที่รู้จริงมาตัดสิน และถ้าเอาจริงวันนี้ ในปี ค.ศ.2025 จึงจะเริ่มสร้างได้ และถ้าเอาแน่ มหาวิทยาลัยก็จะได้เริ่มสอนเปิดสอนนิวเคลียร์ในระดับปริญญาโท-เอก
อีกอย่างที่อยากฝากคือ ตอนนี้ใครๆ ก็ชอบพูดว่าถ้าจะแข็งขันระดับโลกต้องเอาวิทยาศาสตร์นำ แต่ตอนนี้ไทยยังไม่มีใครผลักดันอย่างจริงจัง โดยคนที่จะสร้างนวัตกรรมหรือสินค้าในอนาคตจำเป็นต้องรู้จักลึกลงไปถึงโครงสร้างอะตอม ถ้าจะทุ่มเทงานวิจัยให้จริงจัง เชื่อว่าท่านมีฐานและจะสร้างโดยไม่มีการเมืองมาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังอยากให้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการดูแลการเียน-การสอนวิทยาศาสตร์ในระดับ ม.ปลาย ซึ่งปัจจุบันแย่มาก และเด็กไม่เรียนวิทยาศาสตร์กันเรื่องการเรียนต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก จะดูกันตอนมหาวิทยาลัยไม่ทันแล้ว"