สกว. - นักวิจัย สกว. พบสูตรใหม่ผลิตน้ำมันหล่อลื่นเส้นก๋วยเตี๋ยว ปลอดภัยต่อผู้บริโภคแน่นอน เตรียมส่งเสริมโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวใช้ เดินหน้าแก้ปัญหาสารส้มต่อ
ผศ.บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้ประสานงานโครงการ SMEs สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งวิจัยเรื่องปัญหาการผลิตและการปรับปรุงคุณภาพเส้นก๋วยเตี๋ยว เปิดเผยในงานสัมมนา “แกะซอง มองเส้น...เปิดประเด็น ค้นจุดเปลี่ยน” เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2551 ว่า ขณะนี้ทีมวิจัยได้ค้นพบสูตรน้ำมันสูตรใหม่เพื่อใช้ในการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว โดยเป็นส่วนผสมระหว่างสารเคมีที่กินได้ปลอดภัย ผลิตจากไขมันธรรมชาติ และกฎหมายอนุญาตให้ใช้โดยไม่จำกัดปริมาณ ผสมกับน้ำมันใหม่ ซึ่งอาจเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันข้าวโพด และจากการทดลองกับโรงงานผลิตก๋วยเตี๋ยวสามแห่งพบว่า ได้ผลน่าพอใจ และกำลังจะให้โรงงานอื่นๆ ที่สนใจได้นำไปทดลองใช้
ผศ.บัณฑิตกล่าวว่า ทางทีมวิจัยฯ ไม่ได้มุ่งวิจัยเพื่อหาว่า สารที่เรียกว่า “น้ำมันหัวเชื้อ” ที่ผู้ประกอบการบางรายใช้เติมในเส้นก๋วยเตี๋ยวนั้นทำจากอะไร แต่จะเร่งคิดสูตรน้ำมันใหม่ให้ผู้ประกอบการได้ใช้ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อจะได้ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
ขณะเดียวกัน ผศ.ดร. โสภาค สอนไว ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า น้ำมันสูตรใหม่ที่ทีมวิจัยคิดค้นนั้นเป็นความพยายามปรับปรุงคุณสมบัติน้ำมันใหม่ ให้มีคุณสมบัติได้เหมือนหรือดีกว่าน้ำมันเก่าที่ผู้ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวใช้ (ปรกติผู้ผลิตนิยมใช้น้ำมันเก่า เพราะทำให้เส้นก๋วยเตี๋ยวล่อนดีกว่าน้ำมันใหม่ แต่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค) ซึ่งเท่าที่ทดสอบก็เป็นที่พอใจของผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตาม ยังต้องพัฒนาต่อไปให้ผู้ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวสามารถปรับสูตรน้ำมันเองได้เมื่อวัตถุดิบเปลี่ยน เช่น เมื่อข้าวที่นำมาผลิตก๋วยเตี๋ยวเป็นข้าวต่างล็อตกันหรือข้าวคนละฤดูกัน เป็นต้น เมื่องานวิจัยเสร็จแล้วก็จะเปิดเผยได้ว่า สูตรน้ำมันประกอบด้วยอะไรบ้าง
“ตอนนี้เราบอกได้ว่า น้ำมันชนิดนี้ดีกับผู้ประกอบการที่เคยใช้ “น้ำมันหัวเชื้อ” แน่นอน เพราะมีราคาถูกลงกว่าที่เขาเคยใช้ถึง 30-40% แต่สำหรับผู้ประกอบการที่เคยใช้น้ำมันเก่าอย่างเดียวซึ่งมีราคาเพียง 600-700 บาท/ ปี๊บ แน่นอนว่า ต้องมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นบ้าง เพราะน้ำมันสูตรใหม่เป็นการใช้น้ำมันใหม่ ราคาย่อมแพงกว่าน้ำมันเก่า แต่เท่าที่ได้สอบถามดู ผู้ประกอบการก็รับราคานี้ได้ เพราะปลอดภัยต่อผู้บริโภค” ผศ.ดร. โสภาค กล่าว
นายประกฤต มัธยสินชัย เจ้าของโรงก๋วยเตี๋ยวอึ้งฮะเซ้ง ตรามังกรคู่ จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ทางโรงงานมีแนวคิดต้องการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวปลอดภัยให้ได้มาตรฐาน GMP มาสามปีแล้ว จึงเข้าร่วมโครงการวิจัยกับ สกว. และได้ทดสอบน้ำมันสูตรใหม่ของทีมวิจัยแล้ว
หากเทียบคุณสมบัติการหล่อลื่นเส้นเมื่อเทียบกับน้ำมันแบบเดิมที่เคยใช้ ถือว่าได้ประสิทธิภาพ 70-80% ส่วนต้นทุนแพงขึ้นกว่าเดิม แต่ทางโรงงานยินดีจะใช้ เพราะจะช่วยให้ผู้บริโภคได้บริโภคเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตามยังอยากให้ทีมวิจัยปรับปรุงต่อไปให้ได้น้ำมันที่มีคุณสมบัติดีที่สุด
ด้านนายปกาสิต ศรีวราลักษณ์ เจ้าของโรงงานก๋วยเตี๋ยว ป.รุ่งเรือง จังหวัดอำนาจเจริญ ก็กล่าวว่า พอใจกับคุณภาพของน้ำมันสูตรใหม่ที่นักวิจัยคิดค้นขึ้นเช่นกัน
นอกจากน้ำมันเก่าแล้ว สารส้มก็เป็นสารอันตรายอีกชนิดหนึ่งที่ทีมวิจัยพบว่า มีในเส้นก๋วยเตี๋ยวสูงถึง 620 ppm. หรือ 620 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อนำเส้นก๋วยเตี๋ยวไปลวก ก็ยังตรวจพบสารส้มคงเหลืออยู่ถึง 55% และเมื่อนำไปผัดยังเหลืออยู่ 66% นับว่าเป็นอันตรายต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและไต
“เรากำลังร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การอาหารและยา (อย.) เพื่อแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันอย่างบูรณาการ น่าดีใจที่การสัมมนาครั้งนี้นอกจากผู้ประกอบการเส้นก๋วยเตี๋ยวแล้ว ก็มีตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมาร่วมประชุมด้วยเป็นจำนวนมาก จะได้ร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ต่อไป” ผศ.ดร. บัณฑิต กล่าว
ผศ.บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้ประสานงานโครงการ SMEs สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งวิจัยเรื่องปัญหาการผลิตและการปรับปรุงคุณภาพเส้นก๋วยเตี๋ยว เปิดเผยในงานสัมมนา “แกะซอง มองเส้น...เปิดประเด็น ค้นจุดเปลี่ยน” เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2551 ว่า ขณะนี้ทีมวิจัยได้ค้นพบสูตรน้ำมันสูตรใหม่เพื่อใช้ในการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว โดยเป็นส่วนผสมระหว่างสารเคมีที่กินได้ปลอดภัย ผลิตจากไขมันธรรมชาติ และกฎหมายอนุญาตให้ใช้โดยไม่จำกัดปริมาณ ผสมกับน้ำมันใหม่ ซึ่งอาจเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันข้าวโพด และจากการทดลองกับโรงงานผลิตก๋วยเตี๋ยวสามแห่งพบว่า ได้ผลน่าพอใจ และกำลังจะให้โรงงานอื่นๆ ที่สนใจได้นำไปทดลองใช้
ผศ.บัณฑิตกล่าวว่า ทางทีมวิจัยฯ ไม่ได้มุ่งวิจัยเพื่อหาว่า สารที่เรียกว่า “น้ำมันหัวเชื้อ” ที่ผู้ประกอบการบางรายใช้เติมในเส้นก๋วยเตี๋ยวนั้นทำจากอะไร แต่จะเร่งคิดสูตรน้ำมันใหม่ให้ผู้ประกอบการได้ใช้ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อจะได้ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
ขณะเดียวกัน ผศ.ดร. โสภาค สอนไว ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า น้ำมันสูตรใหม่ที่ทีมวิจัยคิดค้นนั้นเป็นความพยายามปรับปรุงคุณสมบัติน้ำมันใหม่ ให้มีคุณสมบัติได้เหมือนหรือดีกว่าน้ำมันเก่าที่ผู้ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวใช้ (ปรกติผู้ผลิตนิยมใช้น้ำมันเก่า เพราะทำให้เส้นก๋วยเตี๋ยวล่อนดีกว่าน้ำมันใหม่ แต่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค) ซึ่งเท่าที่ทดสอบก็เป็นที่พอใจของผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตาม ยังต้องพัฒนาต่อไปให้ผู้ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวสามารถปรับสูตรน้ำมันเองได้เมื่อวัตถุดิบเปลี่ยน เช่น เมื่อข้าวที่นำมาผลิตก๋วยเตี๋ยวเป็นข้าวต่างล็อตกันหรือข้าวคนละฤดูกัน เป็นต้น เมื่องานวิจัยเสร็จแล้วก็จะเปิดเผยได้ว่า สูตรน้ำมันประกอบด้วยอะไรบ้าง
“ตอนนี้เราบอกได้ว่า น้ำมันชนิดนี้ดีกับผู้ประกอบการที่เคยใช้ “น้ำมันหัวเชื้อ” แน่นอน เพราะมีราคาถูกลงกว่าที่เขาเคยใช้ถึง 30-40% แต่สำหรับผู้ประกอบการที่เคยใช้น้ำมันเก่าอย่างเดียวซึ่งมีราคาเพียง 600-700 บาท/ ปี๊บ แน่นอนว่า ต้องมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นบ้าง เพราะน้ำมันสูตรใหม่เป็นการใช้น้ำมันใหม่ ราคาย่อมแพงกว่าน้ำมันเก่า แต่เท่าที่ได้สอบถามดู ผู้ประกอบการก็รับราคานี้ได้ เพราะปลอดภัยต่อผู้บริโภค” ผศ.ดร. โสภาค กล่าว
นายประกฤต มัธยสินชัย เจ้าของโรงก๋วยเตี๋ยวอึ้งฮะเซ้ง ตรามังกรคู่ จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ทางโรงงานมีแนวคิดต้องการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวปลอดภัยให้ได้มาตรฐาน GMP มาสามปีแล้ว จึงเข้าร่วมโครงการวิจัยกับ สกว. และได้ทดสอบน้ำมันสูตรใหม่ของทีมวิจัยแล้ว
หากเทียบคุณสมบัติการหล่อลื่นเส้นเมื่อเทียบกับน้ำมันแบบเดิมที่เคยใช้ ถือว่าได้ประสิทธิภาพ 70-80% ส่วนต้นทุนแพงขึ้นกว่าเดิม แต่ทางโรงงานยินดีจะใช้ เพราะจะช่วยให้ผู้บริโภคได้บริโภคเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตามยังอยากให้ทีมวิจัยปรับปรุงต่อไปให้ได้น้ำมันที่มีคุณสมบัติดีที่สุด
ด้านนายปกาสิต ศรีวราลักษณ์ เจ้าของโรงงานก๋วยเตี๋ยว ป.รุ่งเรือง จังหวัดอำนาจเจริญ ก็กล่าวว่า พอใจกับคุณภาพของน้ำมันสูตรใหม่ที่นักวิจัยคิดค้นขึ้นเช่นกัน
นอกจากน้ำมันเก่าแล้ว สารส้มก็เป็นสารอันตรายอีกชนิดหนึ่งที่ทีมวิจัยพบว่า มีในเส้นก๋วยเตี๋ยวสูงถึง 620 ppm. หรือ 620 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อนำเส้นก๋วยเตี๋ยวไปลวก ก็ยังตรวจพบสารส้มคงเหลืออยู่ถึง 55% และเมื่อนำไปผัดยังเหลืออยู่ 66% นับว่าเป็นอันตรายต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและไต
“เรากำลังร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การอาหารและยา (อย.) เพื่อแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันอย่างบูรณาการ น่าดีใจที่การสัมมนาครั้งนี้นอกจากผู้ประกอบการเส้นก๋วยเตี๋ยวแล้ว ก็มีตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมาร่วมประชุมด้วยเป็นจำนวนมาก จะได้ร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ต่อไป” ผศ.ดร. บัณฑิต กล่าว