xs
xsm
sm
md
lg

ชมคลิป "8พี/ทัตเทิล" ดาวหางโคจรเร็วเหนือท้องฟ้าเมืองไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online





ดาวหาง 8พี/ทัตเทิล
บันทึกเมื่อวันที่ 17 ม.ค.51 เวลา 22.05-22.56
ในกลุ่มดาวเตาหลอม
โดยวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต และ วิษณุ เอื้อชูเกียรติ
ณ หอดูดาวบัณฑิต อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา




ปราชญ์ดาวหางฉะเชิงเทราโชว์คลิป "8 พี/ทัตเทิล" ความยาว 12 วินาที นับเป็นภาพถ่ายดาวหางเคลื่อนไหวครั้งแรกที่นักดาศาสตร์ไทยบันทึกได้จากภาคพื้นดิน ดาวหางดวงนี้กำลังเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 27 ม.ค.51 เมื่อมองผ่านกล้องดูดาวจะมีความสว่างสูงที่สุด

นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต อดีตกรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทย และครูภูมิปัญญาท้องถิ่น จ.ฉะเชิงเทรา ได้จัดทำคลิปภาพดาวหาง "8 พี/ทัตเทิล" (8P/Tuttle) ร่วมกับนายวิษณุ เอื้อชูเกียรติ นักดาราศาสตร์อดีตกรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทยอีกคน

คลิปดังกล่าวมีความยาว 12 วินาที ทำขึ้นจากการเรียงภาพนิ่งจำนวน 28 ภาพที่บันทึกไว้ได้เมื่อวันที่ 17 ม.ค.51 ระหว่างเวลา 22.05-22.56 น.ในกลุ่มดาวเตาหลอม (Fornax) ที่หอดูดาวบัณฑิต อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา

ทว่าจากคลิปดังกล่าวจะเห็นว่าดาวหางมีความสว่างไม่สม่ำเสมอ ซึ่งนายวรวิทย์เผยว่าเพราะวันที่บันทึกภาพมีเมฆมารบกวน แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นภาพถ่ายที่บันทึกภาพปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ไว้จริงๆ โดยไม่ได้ปรับแต่งแต่อย่างใด

นับว่าเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์ไทยสามารถบันทึกภาพการเคลื่อนไหวของดาวหางบนท้องฟ้าด้วยกล้องดูดาวบนภาคพื้นดิน

อย่างไรก็ดี ในวันที่ 27 ม.ค.51 ดาวหาง 8 พี/ทัตเทิลจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และจะทำให้มีแสงสว่างมากที่สุดก่อนขยับออกจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเมื่อมองจากพื้นโลกในวันที่ 2 ม.ค.51 จะเป็นจังหวะที่คนกรุงเทพฯ มองเห็นดาวหางสว่างไสวที่สุด

ดาวหาง 8 พี/ทัตเทิล มีคาบโคจรรอบดวงอาทิตย์ 13.6 ปี เข้าใกล้โลกที่สุดวันที่ 2 ม.ค.51 ที่ 37,848,294 กิโลเมตร มีโชติมาตร (ความสว่าง) 5.7 อีกทั้งได้โคจรผ่านละติจูด 13.5 องศาเหนือตรงกับกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4-5 ม.ค.51 โดยเคลื่อนที่ลงทิศใต้อยู่ในกลุ่มดาวปลาและกลุ่มดาวแกะตามลำดับ

จากนั้นวันที่ 17 ม.ค.51 ดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวเตาหลอม มีโชติมาตร 6.2 ก่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดวันที่ 27 ม.ค.51 ที่ 153,637,146 กิโลเมตร ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เห็นได้ในกล้องดูดาวขนาด 8 นิ้วขึ้นใป

ผู้ค้นพบดาวหางดวงนี้เป็นคนแรกคือ ปิแยร์ เมแชง (P.F.A. Mechain) ที่กรุงปารีส เมื่อ ม.ค.2333 แต่ไม่สามารถหารายละเอียดเกี่ยวกับดาวดวงนี้ได้ ต่อมาฮอเรซ พาร์เนล ทัตเทิล (Horace Parnell tuttle) ชาวอเมริกันได้ค้นพบเป็นคนที่ 2 ณ หอดูดาวฮาร์วาร์ด ในเมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ (Harvard college observatory cambridge Massachusetts) เมื่อ ม.ค.2401 ซึ่งดาวหางนี้เป็นต้นกำเนิดของฝนดาวตกจากกลุ่มดาวหมีเล็กในช่วงวันที่ 22 ธ.ค.ของทุกปีเรียกว่าฝนดาวตกหมีเล็ก (Ursids)
กำลังโหลดความคิดเห็น