xs
xsm
sm
md
lg

อว. จับมือเครือข่าย C-อพ.สธ. 9 เครือข่ายทั่วประเทศ ขับเคลื่อนงานพระราชดำริสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อว. จับมือเครือข่าย C-อพ.สธ. 9 เครือข่ายทั่วประเทศ ขับเคลื่อนงานพระราชดำริสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality University) เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 9 พ.ค. นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผอ.กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายเชิงประเด็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (เครือข่าย C-อพ.สธ.) จัดโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม 2567 ณ ราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล จังหวัดขอนแก่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาสมาชิก 9 เครือข่ายทั่วประเทศ เข้าร่วมกว่า 200 คน ประกอบด้วย เครือข่ายภาคเหนือตอนบน (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง (มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคกลางตอนบน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคกลางตอนล่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคตะวันออก (มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคใต้ตอนบน (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) และเครือข่ายภาคใต้ตอนล่าง (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย)

นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ อว. ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ อาทิ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ และโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG โดยมีแนวพระราชดำริเป็นพื้นฐานของการดำเนินงาน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์งานวิจัยจากทรัพยากรที่มีอยู่ นำไปสู่การสร้างกระบวนการใหม่ๆ ที่สามารถพัฒนาเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมของประเทศ และขยายผลไปสู่พื้นที่ ภาคชุมชน เพื่อให้เกิดการปรับตัว นอกจากนี้ อว. ยังส่งเสริม สนับสนุนและอาศัยพลังของสถาบันอุดมศึกษาที่เข้มแข็งในการขับเคลื่อนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้เกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และขยายความร่วมมือไปยังภาคีต่างๆ โดยผนวกกับการดำเนินโครงการต่างๆ ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงเป็นกลไกหลักในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของประเทศต่อไป


















กำลังโหลดความคิดเห็น