xs
xsm
sm
md
lg

กทม.อ่วม!! ฝุ่น PM 2.5 สูง พบ 50% เกิดจากรถยนต์ดีเซล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรุงเทพฯ อ่วม อากาศแปรปรวน ทำ PM 2.5 พุ่งสูง ซ้ำ พบต้นตอ กว่า 50% เกิดจากรถยนต์ดีเซล สสส.- กทม.- บีทีเอส กรุ๊ป สานพลัง ส่งต่อองค์ความรู้ผ่านนิทรรศการ The Air We Share มุ่งแก้ปัญหาฝุ่นในเมือง ตรวจสุขภาพปอด DIY เครื่องฟอกอากาศ ปลูกต้นไม้กรองฝุ่น นำร่อง SKYWALK แยก ปทุมวัน แลนด์มาร์กใจกลางเมือง ตั้งแต่วันนี้ ถึง 3 เม.ย. นี้



เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 ที่บริเวณทางเดินเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สนามกีฬาแห่งชาติ ดร.ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัญหาหมอกควัน (Haze) และฝุ่นละออง (Particulate matter) ที่ปนเปื้อนในอากาศ เป็นหนึ่งในปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป หรือ The European Economic Area (EEA) ที่ระบุว่า ฝุ่น PM 2.5 เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หากได้รับในปริมาณมากและเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อหุ้มปอด ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง เป็นสาเหตุอันดับ 2 รองจากบุหรี่ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ส่งผลให้ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรกว่า 2 ล้านคน


“ล่าสุด ช่วงกลางคืนวันที่ 20 มี.ค. ค่าฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ ถือว่าเกินค่ามาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสูงสุดในรอบปี สูงสุดอยู่ที่ 143.5 มคก.ลบ.ม. (ค่ามาตรฐาน 37.5 มคก.ลบ.ม.) สาเหตุหลักเกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่เกิดปฏิกิริยาได้ดีในสภาวะที่มีความชื้นสูง สสส. เร่งสานพลัง กรุงเทพมหานคร (กทม.) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม The Air We Share นิทรรศการสร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมของสังคมในการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เน้นให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดฝุ่นละออง ช่วยให้ประชาชนสามารถตัดสินใจในการทำกิจกรรมนอกอาคาร หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง นำไปสู่กระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมในการแก้ปัญหา ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ รู้ทันฝุ่น” ดร.ชาติวุฒิ กล่าว


นางวันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า แหล่งกำเนิดหลักของฝุ่น PM 2.5 ใน กรุงเทพฯ มาจากรถยนต์ดีเซลกว่า 50% ซึ่ง กทม. ได้กำหนดมาตรการลดฝุ่นกว่า 30 เรื่อง เช่น การรณรงค์ Work from Home เมื่อค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ระดับสีแดง รวมทั้ง ร่วมกับ สสส. และภาคีเครือข่าย รณรงค์เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศรถยนต์ และจัดกิจกรรม The Air We Share นำร่องในเขตปทุมวัน เน้นสร้างองค์ความรู้ให้ทุกคนตระหนักว่าปัญหาฝุ่นและมลพิษทางอากาศ ถือเป็นการพัฒนาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นทาง มุ่งลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว สอดคล้องแผนการลดฝุ่น 365 วัน ปี 2567 ของ กทม.


นายดาเนียล รอสส์ ผู้อำนวยการใหญ่ด้านการลงทุน และหัวหน้าฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บีทีเอส กรุ๊ป มุ่งเป็นกระบอกเสียงในการลดผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้น โดยเปิดพื้นที่บริเวณทางเดินเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สนามกีฬาแห่งชาติ หรือ Skywalk แยกปทุมวัน จัดกิจกรรม The Air We Share มีบริการคลินิกตรวจสุขภาพปอด การแสดง มินิเวิร์กชอป ทั้งการทำเครื่องฟอกอากาศ DIY หน้ากากกันฝุ่น DIY การปลูกต้นไม้กรองฝุ่น ห้องปลอดฝุ่น บอร์ดเกม PM 2.5 Bangkok crisis และนิทรรศการการขนส่งทางเลือกลดฝุ่น เสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ โดยจะจัดกิจกรรม The Air We Share ตั้งแต่วันนี้ 22 มี.ค. ถึง 3 เม.ย. 2567








กำลังโหลดความคิดเห็น