สมัครด่วนรับจำนวนจำกัด! ม.รังสิตเปิดหลักสูตรบูรณาการ น้ำมันหอมระเหย เทอร์พีน และ CBD จากกัญชง เพื่อการบำบัด 5 โรค (โรคไมเกรน โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และภาวะเครียด)
เนื่องจากวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตเร่งรีบ ภาระเรื่องงาน เรื่องครอบครัว ความรับผิดชอบต่างๆ ก่อให้เกิดความเครียด รวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆในปัจจุบัน ส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคต่างๆ ใน 5 โรคนี้จำนวนมากขึ้น คือ โรคไมเกรน โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และภาวะเครียด ซึ่งการรักษาในปัจจุบันมีรูปแบบการรักษาที่หลากหลาย แต่อีกศาสตร์การบำบัดรักษาในอีกรูปแบบหนึ่งที่มีมานานแล้ว คือการบำบัด รักษา ด้วยน้ำมันหอมระเหย เป็นอีกวิธีการบำบัดที่ช่วยปรับทั้งสภาพจิตใจ อารมณ์ และร่างกาย
น้ำมันหอมระเหย (Pure Essential Oil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากส่วนต่างๆของพืช ได้แก่ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด ใบ ราก ลำต้นใต้ดิน เนื้อไม้ หรือเปลือกไม้ โดยพืชที่มีคุณสมบัติในการให้น้ำมันหอมระเหยมีหลากหลายวงศ์
การใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยมีมาตั้งแต่สมัย 5,000 ปีก่อน ชาวอียิปต์โบราณได้เคยใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
นอกจากนั้นยังมีอีกหลายประเทศ ได้นำกลิ่นหอมต่างๆจากน้ำมันหอมระเหยนำมาบำบัดเป็นสารสกัดที่มาจากน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ เช่น จีน อินเดีย อียิปต์ ฝรั่งเศส ฯลฯ เช่น น้ำมันโหระพา น้ำมันพริกไท น้ำมันกานพลู น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันสะระแหน่ ฯลฯ
น้ำมันหอมระเหยสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ได้แก่ การสูดดม การซึมผ่านผิวหนังและการรับประทาน แต่ละชนิดมีฤทธิ์ต่อระบบต่างๆของร่างกายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทและสรรพคุณของพืชชนิดนั้นๆ น้ำมันหอมระเหยจึงเป็นการแพทย์ทางเลือกแบบหนึ่งที่สามารถป้องกันและรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่ไม่ร้ายแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามแม้ว่าน้ำมันหอมระเหยจะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่หากใช้ผิดวิธีก็ย่อมก่อให้เกิดโทษได้ ดังนั้นผู้ใช้จึงควรศึกษารายละเอียดของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดก่อนนำมาใช้
น้ำมันหอมระเหย นอกจากจะมีความน่าสนใจในเรื่องของ “กลิ่น” ที่มีผลต่อสุขภาพที่หลากหลายแล้ว ยังมีสรรพคุณที่แตกต่างกันไปด้วย เช่น บางชนิดมีสรรพคุณระงับเชื้อ บางชนิดมีสรรพคุณคลายกล้ามเนื้อเรียบ บางชนิดมีสรรพคุณบำรุงกำลัง บางชนิดระงับอาการปวด บางชนิดมีสรรพคุณทำให้กระตุ้นประสาท บางชนิดมีสรรพคุณทำให้ผ่อนคลายสงบประสาท
ปัจจุบันองค์ความรู้การสกัดเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยก็มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับวิธีการสกัดและอุณหภูมิการสกัด มีความละเอียดของน้ำมันหอมระเหยซึ่งจะส่งผลทำให้ได้สารสำคัญที่แตกต่างกันด้วย
“กลิ่น” ในน้ำมันหอมระเหย ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในรูป “สุคนธบำบัด” หรือที่เรียกว่า “Aromatherapy” เพื่อทำให้มีผลต่อสุขภาพทั้งทางจิตใจแลอารมณ์ที่แตกต่างกัน จึงเป็นที่นิยมมาใช้ในสถานบริการที่เรียกว่า สปา (Spa)
นอกจากน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังมีอีกสารชนิดหนึ่งในน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความสนใจในวงการสุขภาพมากขึ้น คือกลุ่มสารเทอร์พีน (terpene) เป็นไขมันที่ประกอบขึ้นจากหน่วยไอโซพรีน (Isoprene) ซึ่งมีคาร์บอน 5 อะตอม พบมากในน้ำมันหอมระเหยในพืชในพืช
ที่สารกลุ่มเทอร์พีนแม้จะอยู่ในพืชหลายชนิด แต่ได้รับการกล่าวถึงมากในยุคนี้เมื่อพบว่าสารสกัดจากกัญชาหรือกัญชงเต็มส่วน ที่ทำงานร่วมกันนั้นได้ผลมากกว่าสารสกัดตัวใดตัวหนึ่งออกมาจากสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ ยิ่งไปกว่านั้นการทำงานของกลุ่มสารเต็มส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชงเต็มส่วนต้องทำงานร่วมกันหลายกลุ่มจึงจะเกิดประสิทธิภาพในการรักษาโรค หรือดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น คืน กลุ่มสารแคนนาบินอยด์เต็มส่วน กลุ่มสารเทอร์พีนที่ทำให้เกิดกลิ่นเต็มส่วน และกลุ่มสารฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
โดยเฉพาะเมื่อไม่นานมานี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เดินทางไปบรรยายที่สหรัฐอเมริกาเสนอผลงานทางวิทยาศาตร์ว่าตำรับยาไทยในตำรายาหลวงหลายชนิดที่มีการเข้ากัญชาเป็นส่วนผสม มีสารเทอร์พีนที่มีความแตกต่างกัน และเฉพาะเรื่องกลิ่นจากเทอร์พีนแต่ละตำรับก็มีผลต่อการรักษาไม่เหมือนกัน ทำให้นักวิจัยชาวต่างชาติได้ชื่นชมและทึ่งภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นอย่างน่าภาคภูมิใจยิ่ง
แต่เนื่องจากคนจำนวนหนึ่งได้มองข้ามสารเทอร์พีนไปในการสกัดกัญชา ทำให้กลิ่นหลายชนิดสูญหายไปในระหว่างสารสกัดกัญชา กัญชง ในขณะที่สาร CBD ในกัญชา และกัญชง ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอาการเมาซึ่งงานิวิจัยจำนวนมากได้รับการยอมรับในบทบาทในการรักษาโรคได้มากขึ้น ในขณะที่กลุ่มสารเทอร์พีนอีกหลายชนิดก็ไม่จำเป็นต้องสกัดออกมาจากกัญชา หรือกัญชงแต่เพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตามการทำน้ำมันหอมระเหยด้วยเทคโนโลยีการสกัดในยุคปัจจุบันไม่มีปัญหาสำหรับการสกัดทั้งเต็มส่วน สกัดบางอย่างออกมา สกัดบางอย่างทิ้งออกไป สกัดสารเทอร์พีนที่สนใจ และหรือแม้แต่สามารถหาซื้อน้ำมันหอมระเหย เทอร์พีน หรือ CBD จากผู้ที่สกัดได้แล้วทั้งสิ้น
คงเหลือแต่ “ภูมิปัญญา” และองค์ความรู้ใหม่จากวิจัยทางเภสัช ว่าจะสามารถบูรณาการได้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ สุขภาพ และเศรษฐกิจ
เพราะน้ำมันหอมระเหย เทอร์พีน และสาร CBD จากกลุ่มกัญชา มีความหลากหลายชนิด อยู่ที่ว่าจะเกิดการผสมผสานด้วยภูมิปัญญาและใช้ได้ผลจริงอย่างไร
สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต จึงจัดทำหลักสูตรเชิงปฏิบัติการ เพื่อเรียน และฝึกสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ในการบูรณาการน้ำมันหอมระเหย เทอร์พีน และ CBD ทางการแพทย์ เพื่อนำไปรักษาโรคอย่างตรงประเด็น 5 โรค ได้แก่ ภาวะเครียด โรคนอนไม่หลับ โรคไมเกรน โรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวล
โดยสิ่งที่จะเรียนเพื่อนำไปสู่การต่อยอดทางธุรกิจ ได้แก่ “เทคนิค”ผสมผสานกัญชา เทอร์พีน และน้ำมันหอมระเหย เพื่อการบำบัดโรคจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
เรียนเพื่อที่จะสามารถ “คิดค้นสูตร” สร้างผลิตภัณฑ์ สำหรับบำบัด กลุ่มอาการเครียด นอนไม่หลับ ไมเกรน ซึมเศร้า วิตกกังวลได้
เรียนพื่อสามารถนำไปประกอบอาชีพและต่อยอดทางธุรกิจได้
และสามารถนำมาบูรณาการใช้ในการรักษาทางคลินิก เวลล์เนส และ สปาได้
โดยคุณสมบัติผู้สมัครเรียนนั้น เน้นไปในทางผู้ประกอบการคลินิก โรงแรม เวลล์เนส สปา หรือผู้ที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ
โดยผู้เข้าอบรมจะได้รับ Set น้ำมันสำหรับปรุงตำรับยา (มูลค่ากว่า 15,000 บาท) ประกอบไปด้วย
1.น้ำมันหอมระเหย pure natural essential oil 100% จากทั่วโลกกว่า 15 ชนิด (sandalwood oil, Cedar wood oil, Cajuput oil , Lavender oil, Ylang ylang oil, Orange oil, Bergamot oil, Rosemary oil, Holy basil oil, Roman chamomile, Marjoram oil, Peppermint oil, Jasmine oil, Frankincense oil, Neroli oil)
2.ครีมเบส เจลเบส แอลกอฮอล์ (Food grade)
3.บรรจุภัณฑ์
โดยจะจัดฝึกอบรมที่มหาวิทยาลัยรังสิต เพียง 2 วันเท่านั้น ระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 9.00 น.-17.00 น. โดยค่าฝึกอบรมคิดราคาพิเศษในรุ่นนี้จาก 39,900 บาทต่อคน เหลือเพียง 25,900 บาทต่อคน โดยจะรับจำนวนจำกัดเท่านั้น (ใครสมัครโอนเงินก่อนได้สิทธิเรียนก่อน)
สนใจติดต่อได้ที่สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต โทรศัพท์ 061-9506666 หรือ 02977222 ถึง 30 ต่อ 3205
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
8 มิถุนายน 2566
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=794914055335630&id=100044511276276