xs
xsm
sm
md
lg

เปิดแล้วหลักสูตร “Hybrid Warfare” ยปส.รุ่น 3 หลักสูตรที่ผู้บริหารห้ามพลาด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หลักสูตร “ Hybrid Warfare” ยปส. รุ่น 3 ยุทธศาสตร์การป้องกันสงครามจิตวิทยาบนโลกดิจิทัล สำหรับผู้บริหารระดับสูง วันนี้ (16 ก.ย.) มสธ. เปิดอบรมหลักสูตร “ Hybrid Warfare” ยปส. รุ่น 3 ยุทธศาสตร์การป้องกันสงครามจิตวิทยาบนโลกดิจิทัล สำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ คนดัง ตบเท้า เข้าเรียนร่วม 100 ท่าน ประธานหลักสูตร เผยพัฒนาศักยภาพเตรียมความพร้อมรับ การบริหารองค์กรยุคใหม่ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง และการรู้เท่าทันในด้านสงครามต่างๆ โดยเฉพาะสงครามไซเบอร์ และ สร้างเครื่องข่ายนักยุทธศาสตร์ นักบริหาร นักวิชาการ ให้สามารถ วางแผนและนำกลยุทธ์ต่างๆ ใช้กับการสื่อสารยุคใหม่ของผู้นำในทุกมิติ 

เปิดการอบรมอย่างเป็นทางการ สำหรับหลักสูตร ยุทธศาสตร์การป้องกันสงครามจิตวิทยาบนโลกดิจิทัล สำหรับผู้บริหารระดับสูง หรือ ยปส. รุ่น 3 รุ่นนี้นี้มีผู้บริหารระดับสูงจาก หน่วยงานราชการ ทหาร ตำรวจ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน เข้าอบรมในสัดส่วน 60/40 รวม 100 ท่าน โดยมี พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ประธานที่ปรึกษาหลักสูตร เข้าร่วมเป็นเกียรติ พร้อมด้วย พล.อ.ท.สุรเชษฐ ทองสลวย ผู้อำนวยการหลักสูตร และนายทะเบียน.,อาจารย์ดร.พิสิฐ เหตระกูล, อาจารย์อิทธิ กวีพรสกุล กรรมการและที่ปรึกษา., รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานโครงการยปส.และประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ผศ.ดร.สิปปกร ลิ่วตระกูล รองประธานโครงการ และประธานหลักสูตร ยปส.,อาจารย์ชุมพล ชัยวัฒน์ รองผู้อํานวยการหลักสูตร อาจารย์รุ่งโรจน์ ตรงสกุล รองผู้อำนวยการทั่วไป อาจารย์จิตติน วิเศษสมบัติ รองผู้อำนวยการศูนย์ ผศ.ดร.ธนชาติ ประทุมสวัสดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการทั่วไป รศ.ดร.พงศ์ หรดาล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ., รศ.ดร.สมบัติ ทีฆทรัพย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผศ.ดร.ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ .,อาจารย์อิ๊กคิว ณัฐวรินธร บวรภัควุฒิสิริ Celebrity และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงานในครั้งนี้

ประธานหลักสูตร ยปส. กล่าวว่า “โลกของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอันเกิดจากเทคโนโลยี หรือถูก Digital Disruption Hybrid Warfare สงครามคงไม่ได้รบกันด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ อย่างเดียวอีกต่อไป แต่เต็มไปด้วยกลยุทธ์ที่ซับซ้อนการวางแผนอย่างแยบยล อาวุธชีวภาพ ไวรัส COVID-19 อาจไม่ใช่เรื่องแรก แต่มันคือตัวอย่างและอีกมากมายที่จะตามออกมา ข่าวลวง Fake News การสร้างกระแสโดยเฉพาะช่องทางผ่าน Social Media การปลุกกระแสโดยผ่านเงื่อนไขที่แยบยล โดยมีหลักการใช้ Critical Thinking กับกลุ่มคน ทีหยั่งรากความคิดในบริบทต่างๆ เป็น Soft Skill. การสร้างภาวะกดดันจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ การสร้างประเด็นทางสังคมเพื่อต่อรอง เรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมและหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีสิทธิหรือไม่ แต่อยู่ที่ปลายปากกา การสมรู้ร่วมคิด Conspiracy เพื่อก่อการร้าย การแบ่งแยกดินแดน การแสวงหาประโยชน์ด้วยวิธีการที่ฉ้อฉล และอีกหลากเรื่องราว ในมิติ ที่ร้ายกาจของมนุษย์ มันพร้อมจะก่อตัวเป็นสงครามเงียบ ได้ทุกเมื่อ โลกจึงต้องเตรียมรับเรื่องมิติที่ต่างจะมี ฮีโร่ หรือไม่ นั้นไม่สำคัญ เพราะหากคุณรู้ และเท่าทันมัน ใครคนนั้น ก็เป็นสิ่งที่คุณสร้างขึ้นเพื่อรักษาสันติภาพของโลก นั้นได้เช่นกัน มุมมองกับมุมที่ต้องมอง จะสวยงามเสมอ หลักสูตร ยุทธศาสตร์การป้องกันสงครามจิตวิทยาในโลกดิจิทัล สําหรับผู้บริหารระดับสูง คือคำตอบ”

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.สิปปกร ลิ่วตระกูล ได้กล่าวไว้ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ได้เสริมว่า สังคมจิตวิทยาเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว การเรียนรู้ กับการสร้างองค์ความรู้ จึงเป็นเรื่องสนับสนุนกัน.
ทั้งนี้ยุคปัจจุบัน สนามรบเป็นไซเบอร์ เรียกว่าสงครามไซเบอร์ ใช้เวลาไม่เกิน 60 วินาที ความเสียหายประมาณค่ามิได้ ดังนั้นมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเปิด ที่เร่งเห็นความเปลี่ยนแปลงของประเทศมองความสำคัญเรื่อง จึงเปิดหลักสูตร ยุทธศาสตร์การป้องกันสงครามจิตวิทยาในโลกดิจิทัล

การอบรมผู้บริหารระดับสูง Hybrid Warfare รุ่นที่ 3 จัดขึ้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้าน Hybrid Warfare อย่างเท่าทันสถานการณ์โลก ให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรักความผูกพัน (Rapport) อย่างเหนียวแน่นต่อเนื่องยาวนาน มีความเป็นผู้นำที่สามารถนำองค์กรสมัยใหม่ได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน และมีคุณลักษณะ 5 ส. คือ สร้าง สรรค์ สนุก สุข และสันติ และประการที่ห้าเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างองค์ความรู้และต่อยอดความรู้อย่างเป็นระบบ 

“ระยะเวลาการศึกษา 4- 6 เดือน เริ่มเดือนตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566 ศึกษาเต็มวันทุกวันอาทิตย์ และศึกษาดูงานนอกสถานที่ กับหน่วยงานที่มีความสำคัญต่องค์ความรู้ด้านที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
นอกจากนี้นักศึกษาทุกท่านยังต้องทำผลงานบทความ เพื่อเสนอผลงานเฉพาะตัวบุคคลและกลุ่ม ทั้งใน และต่างประเทศ”








กำลังโหลดความคิดเห็น