xs
xsm
sm
md
lg

ฝึกยอมรับเมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพจาก pixabay.com
ไม่ว่าจะเป็นองค์ดาไลลามะผู้นำสูงสุดของทิเบต หรือ หนึ่งในนักประสาทวิทยาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก คือ ดร.ริชาร์จ เดวิดสัน (Richard Davidson (PHD), Center for Healthy Minds, University of Wisconsin) ผู้เขียนหนังสือ The Emotional Life of Your Brain ล้วนเห็นพ้องต้องกันว่า ความสุขไม่ใช่ของขวัญจากสวรรค์แต่เป็นสิ่งที่เราฝึกได้

ทุกวันที่เราล้วนต้องเผชิญสภาวะปัญหาวิกฤตโควิดรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน หากไม่ตั้งรับรู้เท่าทัน การใช้ชีวิตอาจลำบากไม่น้อย แม้ในบางครั้งช่วยล๊อคดาวน์ นี้ชีวิตจะดูซ้ำซาก น่าเบื่อหน่าย ยอดโควิดเพิ่มทุกวัน แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยโดยที่เราไม่รู้ตัวคือ สมองของเรา

การกระทำของเรา ล้วนมาจากคนรอบข้าง สภาพแวดล้อมที่เราเลือกหยิบเข้ามามีผลต่อสมองเราทั้งสิ้น…

สมองรับคำสั่งจาการกระทำของเรา ให้เลือกที่จะใช้งานด้านซ้าย หรือด้านขวา ของส่วนที่เรียกว่า Prefrontal Cortex เมื่อไรที่เรารู้สึกร่าเริง กระตือรือร้นมีความหวังสมองข้างซ้ายจะทำงานมาก และเมื่อไรที่เรารู้สึกห่อเหี่ยว โกรธ เครียดหรือคิดร้าย สมองส่วนขวาจะทำหน้าที่อย่างเต็มที่

และในการทดลองของ ดร. เดวิดสัน พบว่าการไม่มีสมาธิ ใช้ชีวิตแบบไม่มีเป้าหมายก็ทำให้เราไม่มีความสุข และกระตุ้นการทำงานของสมองข้างขวา ได้มากขึ้นไปอีกเช่นกัน

และสิ่งที่น่าสนใจคือ เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับฐานความสุข หรือ Happiness Set Point ที่ติดมากับสมองของเราอยู่แล้ว หากเราโตในสภาพแวดล้อมที่มีเมตตา รู้คุณค่าของผู้อื่น มีเป้าหมายชีวิต จดจ่อ หรือมีการเจริญสมาธิHappiness set point จะเยื้องไปทางซ้าย

ภายหลังดร ริชาร์ด แอล เดวิดสัน ได้ทำการทดลองร่วมกับ องค์ดาไลลามะอย่างยาวนาน โดยจัดตั้งสถาบัน Mind and Life Institute ในปี 1991 และได้ทำการทดลองกับพระทิเบต ดร. แมทธิว ริคาร์ด ซึ่งฝึกสมาธิมาเป็นเวลา 20-30 ปีพบว่า ลักษณะของคลื่นสมองของคนที่มีจิตเป็นสมาธิ จะมีคลื่นสมองช้า และการทำงานของสมองข้างซ้ายดีมาก นำมาซึ่งความสุข หรือการมีสุขภาพจิตที่ดี

ความสุขเหมือนกันฝึกดนตรี ฝึกบ่อย ๆ จะเก่งขึ้น สมองจะเปลี่ยนไป และปรับตัวเก่ง ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ไว โดยเรื่องที่ต้องฝึกมีดังนี้

1. การคืนสภาพจากสภาวะเศร้า (Resilience) เมื่อเกิดปัญหาชีวิตสามารถคืนสู่สภาวะปรกติดได้ไว สมองมีความยืดหยุ่น ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้เร็ว ซึ่งเรื่องนี้ทำได้ไม่ง่าย แต่ฝึกได้ แม้ว่าต้องใช้ความพยายามมาก งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าหากต้องการให้วรจร Happiness Set Point คืนสภาพ การเจริญสติ นั่งสมาธิ สามารถทำให้การคืนสภาพทำได้ดี ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกประมาณ 6000-7000 ชั่วโมง

2. การมองเชิงบวก หมายถึงการมองแบบเอิ้ออาทร ต่อมนุษย์โลก (Compassion) เป็นความสามารถในการเก็บประสบการณ์บวก เรื่องราวดีๆ มาหักล้างสิ่งร้ายๆได้ดี ทำให้เรารู้สึกดีต่อผู้คนรอบข้าง สมองจะสามารถเก็บความรู้สึกดีไว้ประมาณ 7 ชั่วโมง

3. การมีสติ มีเป้าหมายของชีวิตแต่ละวัน (Meta-Awareness) รู้เท่าทันจิตใจ ความคิดที่กำลังดำเนินอยู่ โดยหมั่นถามตัวเองว่า ขณะนี้เราทำอะไรอยู่ เราคิดไปถึงไหนแล้ว และ เรามีความสุขหรือไม่จริงๆแล้ว เมื่อรู้เท่าทันความคิด ก็จะตามทันการเปลี่ยนแปลงในชีวิต

4. การมีใจที่เสียสละ (Generosity) เมื่อมีมากก็พร้อมจะเผื่อแผ่ หากช่วยเหลือไม่ได้ อย่างน้อยอย่าทำร้ายใคร เท่ากับเป็นการยอมรับสัจธรรมความไม่แน่นอนของชีวิต
ดังนั้นเราคือผู้รับผิดชอบต่อความสุขและทุกข์ของเราแต่ผู้เดียว ไม่มีใครมาช่วยเราได้ หากเราไม่รู้จักฝึกฝน ลองฝึก 4 ขั้นตอนที่กล่าวมานี้ ถือว่าเป็นการ remodel สมองคุณให้เป็นคนคิดบวก และมีกำลังใจพร้อมสู้ในแต่ละวัน ชีวิตของคนเราไม่มีอะไรยิ่งใหญ่นอกจากความรู้สึกสุข และทุกข์ ที่เราเป็นคนกำหนดเอง

จงอ้าแขนรับต่อการเปลี่ยนแปลง แต่อย่าได้ทิ้งคุณค่าที่มีอยู่ในตัวคุณ --องค์ดาไล ลามะ


ครูฮ้วง


-----------------


ครูฮ้วง-เสาวลักษณ์ ลี้รุ่งเรืองพร เจ้าของสถาบัน Campus Genius Center ผู้สอนหลักสูตรติวเข้มเพื่อการสอบ SAT ด้วยแนวคิดแบบ Critical Thinking ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถยื่นคะแนนเข้าเรียน และประสบความสำเร็จในการเรียนคณะอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ


กำลังโหลดความคิดเห็น