มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม เปิดผลศึกษาวิจัยวัคซีน COVD-19 ฝีมือคนไทย “HXP-GPOVac” ผลการทดลองในคนระยะแรกสร้างภูมิคุ้มกันดี เตรียมทดลองระยะที่ 2 ในเดือน ส.ค.นี้
เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. แฟนเพจเฟซบุ๊ก Mahidol Channel โพสต์ข้อความเปิดเผยความคืบหน้าการศึกษาวิจัยวัคซีน COVID-19 “HXP-GPOVac” ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย หลังองค์การเภสัชกรรม ได้รับหัวเชื้อไวรัสตั้งต้นผ่านองค์กร PATH สหรัฐอเมริกา จากความร่วมมือวิจัยพัฒนาระหว่าง คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม โดยเริ่มทดลองในอาสาสมัครระยะที่ 1 เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
โดยระบุเนื้อหาว่า ความคืบหน้าวัคซีน COVD-19 ฝีมือคนไทย “HXP-GPOVac” ผลการทดลองในคนระยะแรก สามารถสร้างภูมิคุ้มกันดี โดยเตรียมทดลองระยะที่ 2 ในเดือนสิงหาคมนี้ การศึกษาวิจัยวัคซีน "HXP-GPOVac" ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย จากความร่วมมือวิจัยพัฒนาระหว่าง คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม โดยเริ่มทดลองในอาสาสมัครระยะที่ 1 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ผลตรวจเบื้องต้นจากห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) ทั้งในประเทศและต่างประเทศพบว่า มีภูมิคุ้มกันตอบสนองได้ดี โดยจะมีการรายงานผลการทดสอบอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมนี้
โดยหลังจากนี้ ทีมผู้วิจัยจะทำการเลือกวัคซีน 2 ใน 5 สูตรที่ให้ผลดีที่สุด เพื่อทดลองในอาสาสมัคร 250 คน ในระยะที่ 2 ในช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อคัดเลือกสูตรที่ดีที่สุดไปทดลองระยะที่ 3 ต่อไป
ด้าน ศ.พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม รักษาการหัวหน้าศูนย์วัคซีน หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การศึกษาในระยะที่ 1 ทำการศึกษาในอาสาสมัคร สุขภาพแข็งแรง ไม่มีการติดเชื้อตับอักเสบบีและซี และไม่เป็นภูมิคุ้มกันบกพร่อง จำนวน 210 คน โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้วัคซีนจริงในสูตรต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ขนาดต่ำจนถึงขนาดสูง ทั้งที่มีและไม่มีสารเสริมฤทธิ์ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับสารเลียนแบบวัคซีน
ผลตรวจเบื้องต้นจากห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) ทั้งในประเทศและต่างประเทศพบว่า มีภูมิคุ้มกันตอบสนองได้ดี โดยจะมีการรายงานผลการทดสอบอย่างเป็นทางการในเดือน ก.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ ทีมผู้วิจัยจะทำการเลือกวัคซีน 2 ใน 5 สูตรที่ให้ผลดีที่สุด เพื่อทดลองในอาสาสมัคร 250 คน ในระยะที่ 2 ในช่วงเดือน ส.ค. เพื่อคัดเลือกสูตรที่ดีที่สุดไปทดลองระยะที่ 3 ในภาคสนามกับอาสาสมัคร 1,000-10,000 คน โดยวัคซีนที่ผ่านการวิจัยในมนุษย์ทั้ง 3 ระยะแล้วจะถูกนำไปขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา เพื่อเริ่มการผลิตต่อไปเพื่อทำให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนได้ง่ายขึ้นในราคาที่ถูกลง