xs
xsm
sm
md
lg

โควิดวันนี้อันดับ 1 ยังเป็น กทม.ผู้ป่วยที่กำลังรักษาทะลุ 5 หมื่นราย จับตาคลัสเตอร์โรงงานหลายจังหวัดยังพบผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศบค. เผยไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม 2,631 ราย หายป่วยเพิ่ม 2,493 ราย กำลังรักษาอยู่ 50,105 ราย ผู้ป่วยอาการหนัก 1,182 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 376 ราย ผู้เสียชีวิตวันนี้ กทม.ยังมากสุด 20 ราย พบอายุน้อยสุด 17 ปี ยังคงพบผู้ลอบเข้าช่องทางธรรมชาติ สมุทรปราการพบคลัสเตอร์ใหม่อีกแห่ง ในหลายจังหวัดยังพบผู้ติดเชื้อจากกลุ่มก้อนเดิม

วันนี้ (4 มิ.ย.) เวลา 12.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,631 ราย โดยแบ่งเป็นติดเชื้อในประเทศ 2,442 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 189 ราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 171,980 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 2,493 ราย สะสม 120,697 ราย กำลังรักษาอยู่ 50,105 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 21,469 ราย และโรงพยาบาลสนาม 28,636 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 1,182 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 376 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 31 ราย รวมเสียชีวิต 1,177 คน

ผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 2,631 ราย เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,306 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 1,085 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 189 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 51 ราย

โดยผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่วันนี้ 2,631 ราย แบ่งเป็น ต่างประเทศ 51 ราย กรุงเทพมหานคร (ไม่รวมเรือนจำ) 824 ราย ปริมณฑล 5 จังหวัด (ไม่รวมเรือนจำ) 924 ราย จังหวัดอื่น 71 จังหวัด (ไม่รวมเรือนจำ) 643 ราย เรือนจำและที่ต้องขัง 189 ราย ส่วนผู้เสียชีวิต 31 คน แบ่งเป็น กรุงเทพมหานคร (ไม่รวมเรือนจำ) 20 คน ปริมณฑล (ไม่รวมเรือนจำ) 5 คน จังหวัดอื่น (ไม่รวมเรือนจำ) 6 คน

สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 31 ราย ชาย 16 ราย หญิง 15 อยู่ใน กทม. 20 ราย สมุทรปราการ 4 ราย เชียงใหม่ 2 ราย กำแพงเพชร จันทบุรี นครปฐม ร้อยเอ็ด อุทัยธษนี จังหวัดละ 1 ราย โรคประจำตัวยังเป็นปัจจัยหลักเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค มีความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 จากการสัมผัสผู้ติดเชื้อที่เป็นคนในครอบครัว อายุค่ากลาง 68 ปี อายุน้อยสุด 17 ปี อายุมากสุด 97 ปี นอนสูงสุด 45 วัน

สำหรับผู้ป่วยที่พบเดินมาจากต่างประเทศในวันนี้ ยังคงพบผู้ป่วยจากการลักลอบเข้าประเทศ โดยพบมาจากเมียนมา 1 ราย จากกัมพูชา 11 ราย จะมีการสอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ที่ไปทำงานในกัมพูชา

10 อันดับ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ วันที่ 4 มิ.ย. 2564 คือ 1. กรุงเทพมหานคร 824 ราย 2. ปทุมธานี 460 ราย 3. สมุทรปราการ 202 ราย 4. เพชรบุรี 198 ราย 5. นนทบุรี 153 ราย 6. ชลบุรี 101 ราย 7. สมุทรสาคร 73 ราย 8. สงขลา 41 ราย 9. นครปฐม 36 ราย 10. ตรัง 34 ราย

โดย กทม. ยังคงพบผู้ป่วยเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ปทุมธานี พบเพิ่มผู้ติดเชื้อเพิ่มใน โรงงานชำแหละไก่ ลำลูกกา จากการค้นหาเชิงรุกตรวจไปแล้วทั้งหมด 2,073 ราย พบเชื้อ 854 ราย และยังมีคลัสเตอร์ตลาดสี่มุมเมือง ลงตรวจแล้วกว่า 2 หมื่นราย พบเชื้อ 1,569 ราย ยังคงพบผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง สมุทรปราการยังคงพบในโรงงานโดยพบผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง มีคลัสเตอร์ใหม่คือโรงงานฟอกหนัง พบ 32 ราย, โรงงานเฟอร์นิเจอร์ พบอีก 5 ราย เพชรบุรี ยังคงเป็นคลัสเตอร์โรงงานเดิม หลายพื้นที่ยังคงพบการเชื่อมโยงยังโรงงานต่างๆ ในหลายจังหวัดมากขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมแออัด มีการร่วมกลุ่ม ใช้พื้นที่ร่วมกัน นอกจากนี้ ในโรงงานยังมีรายงานการสังสรรค์บริเวณที่พักคนงาน, ใช้แก้วน้ำ-ตู้กดน้ำ ร่วมกัน รวมถึงพื้นที่ใช้ร่วมกันในหลายจุดเช่น ห้องเปลี่ยนชุด เป็นต้น ดังนั้นจะมีการค้นหาเชิงรุก และเข้มงวดการจัดการมากขึ้น


ขณะที่ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 เป็นต้นมา พบผู้ติดเชื้อแล้ว 143,116 ราย หายป่วยสะสม 93,271 ราย เสียชีวิตสะสม 1,090 ราย

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2564 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 172,893,624 ราย อาการรุนแรง 89,220 ราย รักษาหายแล้ว 155,603,723 ราย เสียชีวิต 3,716,615 ราย

อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 34,174,752 ราย
2. อินเดีย จำนวน 28,572,359 ราย
3. บราซิล จำนวน 16,803,472 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 5,694,076 ราย
5. ตุรกี จำนวน 5,270,299 ราย

ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 80 จำนวน 171,979 ราย








กำลังโหลดความคิดเห็น