ศบค. เผยไทยอยู่อันดับที่ 81 ของโลก ติดเชื้อใหม่วันนี้ 3,886 ราย หายป่วยเพิ่ม 3,626 ราย ผู้ป่วยอาการหนัก 1,208 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 373 ราย กทม. ยอดติดเชื้อและเสียชีวิตสูงอยู่ จับตาสมุทรปราการพบคลัสเตอร์ใหม่เพิ่มอีกแห่ง ภาพรวมทั้งประเทศยังคงพบผู้ติดเชื้อจากกลุ่มก้อนเดิม
วันนี้ (3 มิ.ย.) เวลา 12.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3,886 ราย โดยแบ่งเป็นติดเชื้อในประเทศ 2,656 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,230 ราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 169,349 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 3,626 ราย สะสม 118,204 ราย กำลังรักษาอยู่ 49,998 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 21,103 ราย และโรงพยาบาลสนาม 28,895 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 1,208 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 373 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 39 ราย รวมเสียชีวิต 1,146 คน
ผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 3,886 ราย เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,362 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 1,245 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,230 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 49 ราย
โดยผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่วันนี้ 3,886 ราย แบ่งเป็น ต่างประเทศ 49 ราย กรุงเทพมหานคร (ไม่รวมเรือนจำ) 995 ราย ปริมณฑล 5 จังหวัด (ไม่รวมเรือนจำ) 735 ราย จังหวัดอื่น 71 จังหวัด (ไม่รวมเรือนจำ) 877 ราย เรือนจำและที่ต้องขัง 1,230 ราย ส่วนผู้เสียชีวิต 39 คน แบ่งเป็น กรุงเทพมหานคร (ไม่รวมเรือนจำ) 24 คน ปริมณฑล (ไม่รวมเรือนจำ) 3 คน จังหวัดอื่น (ไม่รวมเรือนจำ) 12 คน
สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 39 ราย ชาย 20 ราย หญิง 19 อยู่ใน กทม. 24 ราย นนทบุรี ภูเก็ต จังหวัดละ 2 ราย ชลบุรี ชัยภูมิ เชียงราย ตาก นครศรีธรรมราช บึงกาฬ ปัตตานี สมุทรสาคร สระแก้ว สุพรรณบุรี อ่างทอง จังหวัดละ 1 ราย โรคประจำตัวยังเป็นปัจจัยหลักเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค มีความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 จากการสัมผัสผู้ติดเชื้อที่เป็นคนในครอบครัว อายุค่ากลาง 64 ปี อายุน้อยสุด 36 ปี อายุมากสุด 89 ปี
สำหรับผู้ป่วยที่พบเดินมาจากตปท.ในวันนี้ พบ 4 รายที่มาจากกัมพูชา ลักลอบเดินทางเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ ทั้งนี้ ทางศบค.มีการเปิดด่านเพิ่มเติมให้เข้ามาแล้ว ดังนั้นจึงขอให้มาทางด่านที่ถูกต้อง
10 อันดับ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ วันที่ 3 มิ.ย. 2564 คือ 1. กรุงเทพมหานคร 995 ราย 2. เพชบุรี 380 ราย 3. นนทุบรี 336 ราย 4. สมุทรปราการ 232 ราย 5. ตรัง 92 ราย 6. สมุทรสาคร 76 ราย 7. ปทุมธานี 60 ราย 8. ชลุบรี 46 ราย 9. ฉะเชิงเทรา 40 ราย 10. นครปฐม สระบุรี จังหวัดละ 31 ราย
การระบาดที่พบในจังหวัดจากการพบคลัสเตอร์ใหม่ สมุทรปราการ คลัสเตอร์โรงงานอะลูมิเนียม มีผู้ติดเชื้อ 64 ราย ฉะเชิงเทรา คลัสเตอร์บริษัทผลิตอุปกรณ์ทันตกรรม มีผู้ติดเชื้อ 6 ราย เพชรบุรี คลัสเตอร์โรงงานนองเท้า มีผู้ติดเชื้อ 20 ราย
วันนี้ มี 24 จังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม คือ ราชบุรี พัทลุง กระบี่ ลำพูน ร้อยเอ็ด ลำปาง บุรีรัมย์ พิจิตร นครพนม ตราด น่าน สุโขทัย ชุมพร พะเยา อุตรดิตถ์ เลย แพร่ พังงาน อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี มุกดาหาร บึงกาฬ สตูล
สรุปสถานการณ์โควิด-19 ทั่วประเทศ กทม. ปริมณฑล ผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง แนวโน้มไม่ลดลง ทั้งกทม. ปริมณฑล และหลายจังหวัด ยังคงพบในกลุ่มก้อนที่ต่อเนื่องจากกลุ่มก้อนเดิม ทั้งในโรงงาน ที่พักอาศัยแรงงาน แคมป์ก่อสร้าง ชุมชน และการเดินทางไปจังหวัดอื่นๆ
นพ.ทวีศิลป์ แถลงอีกว่า กรณีมีเสียงสะท้อนจากสื่อว่า ควรให้มีรายละเอียดของคลัสเตอร์การระบาดใน กทม.นั้น เมื่อเช้าที่ผ่านมา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้ชี้แจงที่ประชุมศูนย์บริการ กทม.และปริมณฑล ว่า ไม่มีการปิดบังพื้นที่ หรือชื่อเฉพาะใดๆ ท่ี่ผ่านมา ที่มีการะบุว่าสถานที่แห่งหนึ่ง วันนี้มีรายละเอียด แต่ขอไม่เอ่ยนาม แต่ม่ีรายละเอียดปรากฏอยู่ในตารางกลุ่มเฝ้าระวังสูงสุด ซึ่งมีบางกะปิ คลองเตย ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย ดินแดง บางรัก ห้วยขวาง สัมพันธวงศ์ บางกอกน้อย ราชเวที พระนคร ปทุมวัน ทุ่งครุ บางแค ลาดพร้าว คลองสาน สวนหลวง ยานนาวา มีนบุรี วัฒนา คลองสามวา บางนา สาทร ซึ่งมีรายละเอียดในช่องที่เป็นห้างสรรพสินค้า อพาร์ทเมนท์ ร้านสะดวกซื้อ หรือแคมป์ ก็จะมีชื่อเฉพาะ
ขณะที่ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 เป็นต้นมา พบผู้ติดเชื้อแล้ว 14,485 ราย หายป่วยสะสม 90,778 ราย เสียชีวิตสะสม 1,059 ราย
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน 2564 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 172,424,472 ราย อาการรุนแรง 89,935 ราย รักษาหายแล้ว 155,052,446 ราย เสียชีวิต 3,706,561 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 34,154,305 ราย
2. อินเดีย จำนวน 28,440,988 ราย
3. บราซิล จำนวน 16,720,081 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 5,685,915 ราย
5. ตุรกี จำนวน 5,263,697 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 81 จำนวน 169,348 ราย