กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าให้ประเทศไทยกำจัดไข้มาลาเรียเป็นศูนย์ภายในปี 2567 เร่งรัดในพื้นที่ 40 จังหวัดที่ยังมีการแพร่เชื้อ ด้วยมาตรการ 1-3-7 คือ การแจ้งเตือนภายใน 1 วัน การสอบสวนภายใน 3 วัน และการตอบโต้ภายใน 7 วัน และการติดตามผลการรักษาจนครบทุกราย โดยองค์การอนามัยโลก เชิญประเทศไทยร่วมโครงการริเริ่มกำจัดไข้มาลาเรียภายในปี 2568 หลังผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
วันนี้ (23 เม.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดกิจกรรมรณรงค์วันมาลาเรียโลก ปี 2564 ผ่าน Facebook Live ว่า วันมาลาเรียโลก วันที่ 25 เมษายนปีนี้ ได้กำหนดคำขวัญ คือ Zero Malaria - Draw the Line Against Malaria หรือ “กำหนดเส้นชัย กำจัดไข้มาลาเรียเป็นศูนย์” เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกประเทศตระหนักว่า การกำจัดโรคไข้มาลาเรียยังต้องการความร่วมมืออย่างมากจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้การกำจัดโรคไข้มาลาเรีย มีความยั่งยืน โดยองค์การอนามัยโลกได้เชิญประเทศไทยให้เข้าร่วมโครงการริเริ่มกำจัดไข้มาลาเรีย ภายในปี 2568 (E-2025 initiative) เนื่องจากมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ ได้แก่ มีแผนกำจัดโรคไข้มาลาเรียของประเทศไทย ตั้งเป้าหมายกำจัดโรคไข้มาลาเรียในปี 2567 ที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2559 มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง คือ กลุ่มมาลาเรีย กองโรคติดต่อนำโดยแมลง มีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศ น้อยกว่า 5,000 ราย และมี พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กำหนดให้มาลาเรียเป็นโรคที่ต้องแจ้งและผู้ป่วยมาลาเรียทุกรายได้รับตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หลังจากที่กรมควบคุมโรคได้มีมาตรการเร่งรัดการกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ที่ยังมีการแพร่เชื้อ (40 จังหวัด) มีเป้าหมายหยุดการแพร่เชื้อ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทำให้สถานการณ์โรคลดลงเป็นอย่างมาก จากในปี 2559 ที่พบผู้ป่วยเกือบ 20,000 ราย ลดลงเหลือเพียง 4,000 ราย ในปี 2563 จากมาตรการการแจ้งเตือนภายใน 1 วัน การสอบสวนภายใน 3 วัน และการตอบโต้ภายใน 7 วัน (มาตรการ 1-3-7) การติดตามผลการรักษาจนครบทุกราย และการพัฒนาแผนเร่งรัดกำจัดโรคไข้มาลาเรียโดยหน่วยงานในพื้นที่ สำหรับพื้นที่ไม่มีการแพร่เชื้อ (37 จังหวัด) ต้องไม่มีพื้นที่กลับมาแพร่เชื้อใหม่ โดยการเตรียมความพร้อมป้องกันการกลับมาแพร่เชื้อใหม่ บูรณาการงานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรียกับระบบสาธารณสุขปกติในพื้นที่ และขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านกลไกคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
ด้าน แพทย์หญิงฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลง กล่าวเสริมว่า กองโรคติดต่อนำโดยแมลงได้พัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่แพร่เชื้อ และร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศ กระทรวงกลาโหม เน้นการควบคุมโรคในกลุ่มทหาร ทำให้สามารถลดจำนวนผู้ป่วยในทหารได้ร้อยละ 90 ในเวลา 2 ปี กระทรวงมหาดไทย เน้นการมีส่วนร่วมในการลงทุนโดยกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ เน้นการให้ความรู้ในเด็กนักเรียนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ทั้งนี้ ประชาชนเมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยง ป่าเขา สวนยาง สวนผลไม้ ควรเน้นการป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เช่น นอนในมุ้ง ทายากันยุง และเมื่อกลับจากพื้นที่ดังกล่าว ถ้ามีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ควรเข้ารับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
วันนี้ (23 เม.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดกิจกรรมรณรงค์วันมาลาเรียโลก ปี 2564 ผ่าน Facebook Live ว่า วันมาลาเรียโลก วันที่ 25 เมษายนปีนี้ ได้กำหนดคำขวัญ คือ Zero Malaria - Draw the Line Against Malaria หรือ “กำหนดเส้นชัย กำจัดไข้มาลาเรียเป็นศูนย์” เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกประเทศตระหนักว่า การกำจัดโรคไข้มาลาเรียยังต้องการความร่วมมืออย่างมากจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้การกำจัดโรคไข้มาลาเรีย มีความยั่งยืน โดยองค์การอนามัยโลกได้เชิญประเทศไทยให้เข้าร่วมโครงการริเริ่มกำจัดไข้มาลาเรีย ภายในปี 2568 (E-2025 initiative) เนื่องจากมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ ได้แก่ มีแผนกำจัดโรคไข้มาลาเรียของประเทศไทย ตั้งเป้าหมายกำจัดโรคไข้มาลาเรียในปี 2567 ที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2559 มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง คือ กลุ่มมาลาเรีย กองโรคติดต่อนำโดยแมลง มีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศ น้อยกว่า 5,000 ราย และมี พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กำหนดให้มาลาเรียเป็นโรคที่ต้องแจ้งและผู้ป่วยมาลาเรียทุกรายได้รับตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หลังจากที่กรมควบคุมโรคได้มีมาตรการเร่งรัดการกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ที่ยังมีการแพร่เชื้อ (40 จังหวัด) มีเป้าหมายหยุดการแพร่เชื้อ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทำให้สถานการณ์โรคลดลงเป็นอย่างมาก จากในปี 2559 ที่พบผู้ป่วยเกือบ 20,000 ราย ลดลงเหลือเพียง 4,000 ราย ในปี 2563 จากมาตรการการแจ้งเตือนภายใน 1 วัน การสอบสวนภายใน 3 วัน และการตอบโต้ภายใน 7 วัน (มาตรการ 1-3-7) การติดตามผลการรักษาจนครบทุกราย และการพัฒนาแผนเร่งรัดกำจัดโรคไข้มาลาเรียโดยหน่วยงานในพื้นที่ สำหรับพื้นที่ไม่มีการแพร่เชื้อ (37 จังหวัด) ต้องไม่มีพื้นที่กลับมาแพร่เชื้อใหม่ โดยการเตรียมความพร้อมป้องกันการกลับมาแพร่เชื้อใหม่ บูรณาการงานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรียกับระบบสาธารณสุขปกติในพื้นที่ และขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านกลไกคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
ด้าน แพทย์หญิงฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลง กล่าวเสริมว่า กองโรคติดต่อนำโดยแมลงได้พัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่แพร่เชื้อ และร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศ กระทรวงกลาโหม เน้นการควบคุมโรคในกลุ่มทหาร ทำให้สามารถลดจำนวนผู้ป่วยในทหารได้ร้อยละ 90 ในเวลา 2 ปี กระทรวงมหาดไทย เน้นการมีส่วนร่วมในการลงทุนโดยกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ เน้นการให้ความรู้ในเด็กนักเรียนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ทั้งนี้ ประชาชนเมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยง ป่าเขา สวนยาง สวนผลไม้ ควรเน้นการป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เช่น นอนในมุ้ง ทายากันยุง และเมื่อกลับจากพื้นที่ดังกล่าว ถ้ามีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ควรเข้ารับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422