รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เตรียมตั้ง “พิพิธภัณฑ์ชุมชนวอแก้ว ลำปาง” รวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จาก 12 วัด ขึ้นทะเบียนกว่า 6 พันรายการ พร้อมคัมภีร์โบราณเพียบ
วันนี้ (22 มี.ค.) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหารลงพื้นที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ที่ศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหล่ายทุ่ง ต.วอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง โดยเข้าตรวจเยี่ยมการทำงานของนักศึกษา บัณฑิต และประชาชนที่ได้รับการจ้างงาน การอนุรักษ์งานพุทธศิลป์และการทำทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในวัดจำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย วัดสองแควเหนือ หมู่ 1 วัดสองแควใต้ หมู่ 2 วัดสบต่ำ หมู่ 3 วัดดอยเงิน หมู่ 3 วัดนาแก้วตะวันตก หมู่ 4 วัดจอมปิง หมู่ 5 วัดนากิ๋มเหนือ หมู่ 5 วัดกู่ทุ่งศาลา หมู่ 5 วัดศรีดอนมูล หมู่ 6 วัดป่าแข หมู่ 7 วัดพระธาตุจอมปิง หมู่ 8 และวัดสองแควสันติสุข หมู่ 9 เพื่อจัดทำข้อมูลและขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เพื่อจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนวอแก้ว
โดย ดร.ปัณณทัต กัลยา รอง ผอ.สำนักวิจัยและบริการทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผู้รับผิดชอบโครงการ U2T ชุมชนวอแก้ว กล่าวว่า การจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ใน 12 วัดในชุมชนวอแก้วมีนักศึกษาที่ได้รับจ้างงาน จำนวน 18 คนมาจากหลากหลายมหาวิทยาลัย ทั้ง ม.เชียงราย ม.พะเยา มรภ.ลำปาง เป็นต้น มาทำงานและใช้ชีวิตร่วมกับชุมชน เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนกลับมาอนุรักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมภายในชุมชนตนเอง โดยขอความร่วมมือจากเจ้าอาวาส ผู้นำชุมชนและชุมชนในการจัดทำฐานข้อมูลการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์และทำทะเบียนวัตถุโบราณ ซึ่งแต่เดิมเคยอยู่แบบกระจัดกระจายและไม่ได้รับการเก็บรักษาดีเท่าที่ควร นำมาทำความสะอาด อนุรักษ์ซ่อมแซม และจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งพบว่ามีโบราณวัตถุ พระพุทธรูปมากกว่า 6,000 รายการ มีคัมภีร์พระพุทธศาสนาและคัมภีร์ความรู้เรื่องของตำรับยา โหราศาสตร์ สูตรวิศวกรรมศาสตร์ในการสร้างวัดสร้างพระ ธรรมวินัย และจารึกประวัติศาสตร์ของชุมชน จึงได้จัดเป็นหมวดหมู่เพื่อรักษางานศิลปกรรมเหล่านี้ไว้ให้ทรงคุณค่า รวมทั้งป้องแมลง สัตว์มาทำลาย อีกทั้งป้องกันการสูญหายของงานศิลปกรรมด้วย และที่สำคัญเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนให้หันกลับมาดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่คนในชุมชนได้ร่วมกันสร้างและเก็บรักษาไว้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่ออนาคตของลูกหลานในชุมชน
ดร.ปัณณทัต กล่าวต่อว่า งานที่ผู้ได้รับการจ้างงานทำสุดท้ายแล้วจะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนนาแก้ว ที่มี 9 หมู่บ้าน เพื่อให้คนทั่วประเทศได้มาดู และจะนำมาซึ่งรายได้ของคนในชุมชน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้คนในชุมชนเอง
ด้าน ศ.ดร.เอนก กล่าวว่า อว.พร้อมสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ชุมชน เพราะถือว่ามีความสำคัญต่อชุมชนและประเทศชาติ พระพุทธรูปไม้ถือเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา ควรที่ประชาชนจะได้มาดูมาศึกษาความงามของศิลปโบราณ
วันนี้ (22 มี.ค.) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหารลงพื้นที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ที่ศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหล่ายทุ่ง ต.วอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง โดยเข้าตรวจเยี่ยมการทำงานของนักศึกษา บัณฑิต และประชาชนที่ได้รับการจ้างงาน การอนุรักษ์งานพุทธศิลป์และการทำทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในวัดจำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย วัดสองแควเหนือ หมู่ 1 วัดสองแควใต้ หมู่ 2 วัดสบต่ำ หมู่ 3 วัดดอยเงิน หมู่ 3 วัดนาแก้วตะวันตก หมู่ 4 วัดจอมปิง หมู่ 5 วัดนากิ๋มเหนือ หมู่ 5 วัดกู่ทุ่งศาลา หมู่ 5 วัดศรีดอนมูล หมู่ 6 วัดป่าแข หมู่ 7 วัดพระธาตุจอมปิง หมู่ 8 และวัดสองแควสันติสุข หมู่ 9 เพื่อจัดทำข้อมูลและขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เพื่อจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนวอแก้ว
โดย ดร.ปัณณทัต กัลยา รอง ผอ.สำนักวิจัยและบริการทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผู้รับผิดชอบโครงการ U2T ชุมชนวอแก้ว กล่าวว่า การจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ใน 12 วัดในชุมชนวอแก้วมีนักศึกษาที่ได้รับจ้างงาน จำนวน 18 คนมาจากหลากหลายมหาวิทยาลัย ทั้ง ม.เชียงราย ม.พะเยา มรภ.ลำปาง เป็นต้น มาทำงานและใช้ชีวิตร่วมกับชุมชน เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนกลับมาอนุรักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมภายในชุมชนตนเอง โดยขอความร่วมมือจากเจ้าอาวาส ผู้นำชุมชนและชุมชนในการจัดทำฐานข้อมูลการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์และทำทะเบียนวัตถุโบราณ ซึ่งแต่เดิมเคยอยู่แบบกระจัดกระจายและไม่ได้รับการเก็บรักษาดีเท่าที่ควร นำมาทำความสะอาด อนุรักษ์ซ่อมแซม และจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งพบว่ามีโบราณวัตถุ พระพุทธรูปมากกว่า 6,000 รายการ มีคัมภีร์พระพุทธศาสนาและคัมภีร์ความรู้เรื่องของตำรับยา โหราศาสตร์ สูตรวิศวกรรมศาสตร์ในการสร้างวัดสร้างพระ ธรรมวินัย และจารึกประวัติศาสตร์ของชุมชน จึงได้จัดเป็นหมวดหมู่เพื่อรักษางานศิลปกรรมเหล่านี้ไว้ให้ทรงคุณค่า รวมทั้งป้องแมลง สัตว์มาทำลาย อีกทั้งป้องกันการสูญหายของงานศิลปกรรมด้วย และที่สำคัญเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนให้หันกลับมาดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่คนในชุมชนได้ร่วมกันสร้างและเก็บรักษาไว้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่ออนาคตของลูกหลานในชุมชน
ดร.ปัณณทัต กล่าวต่อว่า งานที่ผู้ได้รับการจ้างงานทำสุดท้ายแล้วจะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนนาแก้ว ที่มี 9 หมู่บ้าน เพื่อให้คนทั่วประเทศได้มาดู และจะนำมาซึ่งรายได้ของคนในชุมชน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้คนในชุมชนเอง
ด้าน ศ.ดร.เอนก กล่าวว่า อว.พร้อมสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ชุมชน เพราะถือว่ามีความสำคัญต่อชุมชนและประเทศชาติ พระพุทธรูปไม้ถือเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา ควรที่ประชาชนจะได้มาดูมาศึกษาความงามของศิลปโบราณ