โฆษก กทม. เผยโครงการทำทางม้าลายต้นแบบ แก้ปัญหาการจอดรถบริเวณทางม้าลาย เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมคน พร้อมขยับขยายให้มีความสะดวกมากขึ้นทั้งผู้พิการและประชาชนทั่วไป โดยเลือกแยกอโศก เป็นที่แรก
วันนี้ (8 มี.ค.) ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์คลิปวิดีโอผ่านเพจเฟซบุ๊ก “เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง - Earth Pongsakorn Kwanmuang” บอกเล่าเรื่องราวของทางม้าลายต้นแบบ ที่จะจัดทำขึ้นใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน หลังพบปัญหามากมาย ซึ่งทางม้าลายต้นแบบที่แรกคือ “แยกอโศก” โดยทางเพจของท่านโฆษก ระบุข้อความว่า
ทางม้าลาย... “ต้นแบบ”
“สี่แยกอโศกมนตรี” เป็นแยกที่มีคนใช้รถ ใช้ถนนจำนวนมาก เป็นแยกที่มีปัญหารถติดมากอีกแยกหนึ่งในกรุงเทพฯ และภาพที่คุ้นตาของคนที่ผ่านแยกอโศกนี้ คือ
รถยนต์...จอดชิดเส้นทางม้าลาย เพราะไม่มีอะไรบอกว่า ต้องเว้นที่ให้รถจักรยานยนต์จอด หรือจอดทับทางม้าลาย เพราะหยุดรถไม่ทันไฟสัญญาณจราจร
รถจักรยานยนต์... จอดทับทางม้าลาย เพราะไม่มีที่จอดระหว่างรอสัญญาณไฟจราจร จอดล้ำหน้าเพื่อจะได้ไปได้เร็ว
คนข้ามถนน...มักเดินหลบ/เดินแทรก รถมอเตอร์ไซค์ที่จอดทับทางม้าลาย หรือเดินทางอื่นที่ไม่ใช่ทางม้าลายแทน ยิ่งผู้พิการหรือคนที่มีกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ ต้องหลบออกนอกทางม้าลาย
จะแก้ปัญหาต่างๆ ที่พูดนั้น อย่างไร? ให้ตอบโจทย์คนที่ใช้ทางม้าลายจริงๆ
มีหลายคนแนะนำให้แก้ที่ “จิตสำนึก” เพียงอย่างเดียว แต่ผมคิดว่าเราควร การออกแบบเชิงโครงสร้างสาธารณูปโภค เพื่อ“เปลี่ยนพฤติกรรมคน”
กทม. เลือก แยกอโศกฯ ในการทำ “ทางม้าลาย” ให้เป็น “ต้นแบบ” โดยทำทางม้าลายให้กว้างขึ้น เป็นสีแดง-ขาว มีคำเตือน “พื้นที่จับปรับ” เพิ่มพื้นที่ให้รถจักรยานยนต์จอดรอไฟแดง เจาะเกาะกลางถนนทำทางม้าลายให้เดินเลี่ยงตอม่อรถไฟฟ้า ยกพื้นถนนให้เป็นเนินหลังเต่าตรงทางม้าลายที่เลี้ยวซ้ายผ่านตลอดเพื่อให้รถชะลอตัว พร้อมทั้งทำทางเท้าให้กว้างขึ้น ปรับปรุงฝาท่อให้เรียบเสมอทางเท้า ทำทางลาดและปูแผ่นเบรลล์บล็อก (Braille Block) ให้คนที่ใช้วีลแชร์และคนพิการทางสายตาสามารถสัญจรได้สะดวกอีกด้วย รวมทั้ง ติดตั้งไฟส่องสว่างและไฟจราจรข้ามถนนแบบมีปุ่มกด เพื่อให้ทุกคนเดินข้ามทางม้าลายได้อย่างปลอดภัย
แต่ระหว่างที่เราได้ทดลองใช้ทางม้าลายบริเวณแยกอโศกนั้น ก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ขับรถจักรยานยนต์ ที่ยังคงจอดรถคร่อมทางม้าลายหรือจอดล้ำหน้าโดยไม่จอดในพื้นที่ให้จอดรอไฟแดงได้ กทม.จึงได้ขอความร่วมมือจาก สน.ทองหล่อ เพื่อ “จับ-ปรับ” บังคับใช้กฎหมาย รถจักรยานยนต์/รถยนต์ที่จอดคร่อมทางม้าลายหรือจอดล้ำเส้น และในระยะยาวจะติดตั้ง CCTV เพื่อใช้ระบบ AI ตรวจจับคนขับรถจักรยานยนต์/รถยนต์ที่กระทำความผิด
ขอขอบคุณผู้ที่ให้ความร่วมมือกับ กทม. ในการทำ #ทางม้าลายแยกอโศก ให้เป็นต้นแบบ...ได้แก่
ภาคีภาคประชาสังคม พี่ซาบะ ตัวแทนกลุ่ม #T4A เพจ Accessibility Is Freedom เข้าถึงและเท่าเทียม
คุณแบงค์ เพจโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย Thailand Infrastructure พ.ต.อ.ดวงโชติ สุวรรณจรัส ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ
หน่วยงานของ กทม. สำนักการโยธา สำนักจราจรและขนส่ง สำนักงานเขตวัฒนา สำนักงานเขตคลองเตย และขอขอบคุณคำแนะนำจากเพจ เฮ้ยนี่มันฟุตบาทไทยแลนด์
และเพื่อให้การออกแบบทางม้าลายที่แยกอโศกนี้ เป็นต้นแบบทางม้าลายที่ คนกรุงเทพทุกคนใช้ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย มาช่วยให้คำแนะนำและความเห็นกันด้วยนะครับผม
#ทางม้าลาย... “ต้นแบบ”#ทางม้าลาย... “ต้นแบบ”
“สี่แยกอโศกมนตรี” เป็นแยกที่มีคนใช้รถ ใช้ถนนจำนวนมาก เป็นแยกที่มีปัญหารถติดมากอีกแยกหนึ่งในกรุงเทพฯ และภาพที่คุ้นตาของคนที่ผ่านแยกอโศกนี้ คือ
#รถยนต์...จอดชิดเส้นทางม้าลาย เพราะไม่มีอะไรบอกว่า ต้องเว้นที่ให้รถจักรยานยนต์จอด หรือจอดทับทางม้าลาย เพราะหยุดรถไม่ทันไฟสัญญาณจราจร
#รถจักรยานยนต์... จอดทับทางม้าลาย เพราะไม่มีที่จอดระหว่างรอสัญญาณไฟจราจร จอดล้ำหน้าเพื่อจะได้ไปได้เร็ว
#คนข้ามถนน...มักเดินหลบ/เดินแทรก รถมอเตอร์ไซค์ที่จอดทับทางม้าลาย หรือเดินทางอื่นที่ไม่ใช่ทางม้าลายแทน ยิ่งผู้พิการหรือคนที่มีกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ ต้องหลบออกนอกทางม้าลาย
จะแก้ปัญหาต่างๆ ที่พูดนั้น อย่างไร? ให้ตอบโจทย์คนที่ใช้ทางม้าลายจริงๆ
มีหลายคนแนะนำให้แก้ที่ “จิตสำนึก” เพียงอย่างเดียว แต่ผมคิดว่าเราควร #การออกแบบเชิงโครงสร้างสาธารณูปโภค เพื่อ“เปลี่ยนพฤติกรรมคน”
🔹กทม. เลือก #แยกอโศกฯ ในการทำ “ทางม้าลาย” ให้เป็น “ต้นแบบ” โดยทำทางม้าลายให้กว้างขึ้น เป็นสีแดง-ขาว มีคำเตือน “พื้นที่จับปรับ” เพิ่มพื้นที่ให้รถจักรยานยนต์จอดรอไฟแดง เจาะเกาะกลางถนนทำทางม้าลายให้เดินเลี่ยงตอม่อรถไฟฟ้า ยกพื้นถนนให้เป็นเนินหลังเต่าตรงทางม้าลายที่เลี้ยวซ้ายผ่านตลอดเพื่อให้รถชะลอตัว พร้อมทั้งทำทางเท้าให้กว้างขึ้น ปรับปรุงฝาท่อให้เรียบเสมอทางเท้า ทำทางลาดและปูแผ่นเบรลล์บล็อก (Braille Block) ให้คนที่ใช้วีลแชร์และคนพิการทางสายตาสามารถสัญจรได้สะดวกอีกด้วย รวมทั้ง ติดตั้งไฟส่องสว่างและไฟจราจรข้ามถนนแบบมีปุ่มกด เพื่อให้ทุกคนเดินข้ามทางม้าลายได้อย่างปลอดภัย
▫️แต่ระหว่างที่เราได้ทดลองใช้ทางม้าลายบริเวณแยกอโศกนั้น ก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ขับรถจักรยานยนต์ ที่ยังคงจอดรถคร่อมทางม้าลายหรือจอดล้ำหน้าโดยไม่จอดในพื้นที่ให้จอดรอไฟแดงได้ กทม.จึงได้ขอความร่วมมือจาก สน.ทองหล่อ เพื่อ “จับ-ปรับ” บังคับใช้กฎหมาย รถจักรยานยนต์/รถยนต์ที่จอดคร่อมทางม้าลายหรือจอดล้ำเส้น และในระยะยาวจะติดตั้ง CCTV เพื่อใช้ระบบ AI ตรวจจับคนขับรถจักรยานยนต์/รถยนต์ที่กระทำความผิด
🙏ขอขอบคุณผู้ที่ให้ความร่วมมือกับ กทม. ในการทำ #ทางม้าลายแยกอโศก ให้เป็นต้นแบบ...ได้แก่
▫️#ภาคีภาคประชาสังคม พี่ซาบะ ตัวแทนกลุ่ม #T4A เพจ Accessibility Is Freedom เข้าถึงและเท่าเทียม
▫️คุณแบงค์ #เพจโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย Thailand Infrastructure
▫️พ.ต.อ.ดวงโชติ สุวรรณจรัส #ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ
▫️หน่วยงานของ กทม. #สำนักการโยธา #สำนักจราจรและขนส่ง #สำนักงานเขตวัฒนา #สำนักงานเขตคลองเตย
และขอขอบคุณคำแนะนำจากเพจ #เฮ้ยนี่มันฟุตบาทไทยแลนด์
📌และเพื่อให้การออกแบบทางม้าลายที่แยกอโศกนี้ เป็นต้นแบบทางม้าลายที่ #คนกรุงเทพทุกคนใช้ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย มาช่วยให้คำแนะนำและความเห็นกันด้วยนะครับผมโพสต์โดย เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง - Earth Pongsakorn Kwanmuang เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม 2021