xs
xsm
sm
md
lg

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สยามเฮมพ์ (Siamhemp) เปิดมุมมองใหม่ ในสัมมนาเชิงธุรกิจ “กัญชง – พืชเสพติดสู่พืชเศรษฐกิจแสนล้าน”

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หากพูดถึงกัญชงแล้ว อาจจะไม่รู้จักกันแพร่หลายเหมือนเช่นกัญชา ทว่าต่างเป็นพืชต้องห้าม เพราะในประเทศไทย กัญชงก็ยังถูกจัดเป็นพืชสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงปลูกอยู่ในวงจำกัดเฉพาะในพื้นที่ควบคุมเท่านั้น ตามกฎกระทรวงสาธารณสุข ปี2559

"กัญชง” หรือ “เฮมพ์” (Hemp) เป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับ "กัญชา” (Marijuana) โดยมีสารCBD (Cannabioil) สูง และมีสารออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท หรือ สารเสพติด (Tetrahydrocannabinol: THC) น้อยมาก โดยในช่อดอกกัญชามีค่า THC ประมาณ 1-10 เปอร์เซ็นต์ แต่ในกัญชงมีค่า THC ประมาณ 0.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

แม้ว่าคุณค่าในกัญชง ดูจะไม่สอดคล้องกับกฏหมายของไทย แต่เป็นพืชที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อยอดทางธุรกิจได้มากมาย และกําลังเป็นสินค้าที่นิยมของผู้บริโภคกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งต้น ใบ เมล็ด เปลือก กัญชงแปรรูปได้หลากหลายพันชนิด ตั้งแต่อุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่นําเส้นใยมาทําเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม อีกทั้งทำเสื้อเกราะกันกระสุนชั้นดีที่มีน้ำหนักเบา และสามารถใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ทำเยื่อกระดาษ (โดยเฉพาะกระดาษพิมพ์ธนบัตร) วัสดุหีบห่อ ฉนวนกันความร้อน ไบโอพลาสติก ทำอิฐ (Hempcrete) หรือคอนกรีต สำหรับงานก่อสร้าง ทำส่วนประกอบรถยนต์ ทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น พรม เก้าอี้ เป็นต้น

โอกาสนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สยามเฮมพ์ (Siamhemp) จะเปิดมุมมองใหม่ที่คนไทยต้องจับตา โดยขอเชิญผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และบุคคลทั่วไป ที่สนใจร่วมสัมมนาเชิงธุรกิจ “กัญชง – พืชเสพติดสู่พืชเศรษฐกิจแสนล้าน” โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญ อาทิ ศ.ดร อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, อาจารย์ กาญจนา เข่งคุ้ม อดีตผู้อำนวยการ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้เชี่ยวชาญ ในประเด็นที่น่าสนใจ เป็นต้นว่า การปลูกกัญชงเพื่อผลิตสาร CBD, การปลูกกัญชงเพื่อผลิตน้ำมันจากเมล็ดและเส้นใย, การสร้างโรงงานและผลิตกัญชงแต่ละประเภท, การนำสารสำคัญในกัญชงมาทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ, การเขียนโครงการใช้ประโยชน์จากกัญชง เพื่อเสนอขอโบอนุญาตผลิต (ปลูก) และ ผลิต (สกัด), กฎหมายเกี่ยวข้องกับพืชกัญชง พร้อมการถาม-ตอบ ครบจบทุกประเด็น

โดยงานสัมมนามีกำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08:30-17:00 น. ณ ห้อง Function A ชั้น 6 โรงแรมสยาม แอท สยาม กรุงเทพฯ บัตรราคาเพียง 4,900 บาท* (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จองบัตรและสำรองที่นั่งด่วน มีจำนวนจำกัด โทร. 064-636-4295 หรือ Line ID: @siamhemp


กำลังโหลดความคิดเห็น