xs
xsm
sm
md
lg

ไทยพบผู้ป่วยโควิดเพิ่ม 3 ราย กลับจากต่างประเทศทั้งหมด เคยติดเชื้อมาก่อน 2 ราย

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศบค.พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม 3 ราย เป็นคนไทยเดินทางกลับจากสหรัฐฯ 1 ราย สิงคโปร์ 1 ราย และคูเวต 1 ราย ทุกรายอยู่ในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ และพบ 2 รายเคยติดเชื้อ ผู้ป่วยรักษาหายเพิ่ม 7 ราย เหลือรักษาตัวอยู่ใน รพ.100 คน

วันนี้ (25 ก.ย.) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 3 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าพักใน State Quarantine ทั้งหมด โดยมาจากสหรัฐอเมริกา 1 ราย สิงคโปร์ 1 ราย และคูเวต 1 ราย ซึ่งวันนี้มีผู้ป่วยรักษาหายเพิ่ม 7 ราย

สำหรับผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุดอยู่ที่ 3,519 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,445 ราย และตรวจพบในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จำนวน 581 ราย จำนวนผู้ป่วยรักษาหายแล้วรวม 3,360 ราย ส่วนผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 100 ราย ขณะที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 59 ราย

โดยประวัติผู้ป่วยรายใหม่มาจากสหรัฐอเมริกา 1 ราย เป็นหญิงไทย อายุ 42 ปี อาชีพแม่บ้าน เดินทางมาถึงไทยเมื่อวันที่ 19 ก.ย. เข้าพัก State Quarantine ในจังหวัดชลบุรี และตรวจหาเชื้อครั้งที่ 1 ในวันที่ 23 ก.ย. ผลตรวจพบเชื้อ ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษา รพ.หนองใหญ่

มีประวัติเคยติดเชื้อมาก่อน โดยมาจากสิงคโปร์ 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 42 ปี อาชีพรับจ้าง เดินทางมาถึงไทยเมื่อวันที่ 18 ก.ย. เข้าพัก State Quarantine ในจังหวัดชลบุรี และตรวจหาเชื้อครั้งที่ 1 ในวันที่ 21 ก.ย. ผลตรวจพบเชื้อ เข้ารับการรักษา รพ.สัตหีบ กม.10 พบว่าประวัติเคยติดเชื้อ COVID-19 ขณะอยู่ที่สิงคโปร์

ส่วนอีก 1 ราย เดินทางมาจากคูเวต เป็นชายไทย อายุ 58 ปี อาชีพรับจ้าง เดินทางมาถึงไทยเมื่อวันที่ 22 ก.ย. เข้าพัก State Quarantine ในจังหวัดชลบุรี และตรวจหาเชื้อครั้งที่ 1 ในวันที่ 22 ก.ย. ผลตรวจพบเชื้อ เข้ารับการรักษา รพ.บางละมุง พบว่าประวัติติดเชื้อ COVID-19 จากคูเวต พักรักษาตัวอยู่ที่ รพ. และแคมป์คนงาน ก่อนเดินทางกลับไทย


สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 32,408,504 ราย
อาการรุนแรง 63,333 ราย
รักษาหายแล้ว 23,924,977 ราย
เสียชีวิต 987,724 ราย

อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 7,185,471 ราย
2. อินเดีย จำนวน 5,816,103 ราย
3. บราซิล จำนวน 4,659,909 ราย
4. รัสเซีย จำนวน 1,128,836 ราย
5. โคลอมเบีย จำนวน 790,823 ราย

ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 136 จำนวน 3,519 ราย


สำหรับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคตามพื้นที่แนวชายแดน รัฐบาลไทยได้ให้หน่วยงานด้านความมั่นคง ฝ่ายปกครอง สาธารณสุข กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) ร่วมกันเฝ้าระวังป้องกันโรคในพื้นที่ชายแดนอย่างเข้มข้น รวมถึงในจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรม เฝ้าระวัง ป้องกัน แรงงานที่ลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย ไม่ได้เข้าสู่ระบบการคัดกรอง ควบคุมโรคตามมาตรการอาจนำเชื้อมาแพร่ให้กับคนในชุมชนได้ จึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการ ไม่สนับสนุนการจ้างงานแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมายเข้าทำงาน โดยไม่ผ่านมาตรการเฝ้าระวังโรค อาจจะเป็นเหตุให้เกิดการแพร่เชื้อได้

อีกหนึ่งประเด็นน็นที่น่าสนใจนที่น่าสนใจ กรณีพบการแพร่ระบาดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่มีสาเหตุจากการปาร์ตี้ของนักศึกษา ทำให้นักศึกษา 2,500 คน ต้องอยู่ภายใต้มาตรการกักกันโรค และทางการท้องถิ่นได้ออกคำสั่งปิดสถานบันเทิงทุกแห่งในแคว้นโวด์และบังคับสวมหน้ากากในทุกสถานที่สาธารณะ ซึ่งประเทศไทยเพิ่งเกิดการรวมกลุ่มชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน ที่ผ่านมา ถือว่ามีความเสี่ยงที่อาจเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ โดยสัดส่วนผู้ติดเชื้อสะสมของประเทศไทยตั้งแต่เริ่มมีรายงานโควิด 19 พบว่ากลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงาน ช่วงอายุ 20-39 ปี มีการติดเชื้อรวมกันมากกว่าร้อยละ 50 และส่วนมากเป็นผู้ที่ไม่แสดงอาการ กระทรวงสาธารณสุขมีความห่วงใย ขอให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมในวันดังกล่าวเฝ้าระวังสังเกตอาการตนเองจนครบ 14 วัน หากมีอาการ ไข้ ไอเจ็บคอ น้ำมูก การรับรส/ กลิ่นลดลง อย่าปล่อยไว้ให้รีบไปรับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากกลุ่มนี้หากป่วยจะมีอาการรุนแรงและอาจเสียชีวิตได้

และขอให้ผู้ที่จัดการประชุม สัมมนา หรือจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคน ให้เข้มงวดมาตรการ โดยทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา จัดสถานที่เว้นระยะห่าง จัดจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ส่วนผู้ร่วมงาน ขอให้ความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัย เลี่ยงการตะโกนเนื่องจากอาจเกิดฝอยละอองน้ำลาย น้ำมูกกระจายและสัมผัสสู่ผู้อื่นได้ และลงทะเบียนเข้าออกสถานที่ที่ใช้บริการผ่าน “ไทยชนะ” ทุกครั้ง เพราะหากพบผู้ติดเชื้อจะง่ายต่อการติดตามผู้สัมผัสมาตรวจและเฝ้าระวังโรคต่อไป ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตนเอง สมาชิกในครอบครัว คนรอบข้าง ชุมชน สังคม และคนในประเทศไทย






































กำลังโหลดความคิดเห็น