เมื่อวันที่ 22 กันยายน ที่โรงแรมเมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในเสวนาและรับฟังความคิดเห็น “ยุทธศาสตร์สุขภาวะกลุ่ม LGBTIQN+ ฉบับแรกของประเทศไทย” ว่า สสส. ระดมนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดทำร่างยุทธศาสตร์สุขภาวะกลุ่ม LGBTIQN+ ปี 2564-2566 เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมด้านสุขภาวะของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างเข้มข้น ตั้งเป้าให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจที่ดีควบคู่กับการได้รับสิทธิในระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ สร้างความตระหนักรู้ให้คนในสังคมเป็นพื้นที่ปลอดภัยกับคนกลุ่มนี้ได้มีชีวิตอย่างเท่าเทียม
ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งสถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ และภาคประชาสังคม ดำเนินงานในด้านต่างๆ เช่น 1. โครงการเพศวิถีหลากหลายในความหมายของครอบครัว 2. โครงการขับเคลื่อนกฎหมายชีวิตคู่เพื่อสร้างความเท่าเทียมเรื่องการแต่งงานในสังคม 3. พัฒนาในเครื่องมือและกลไกการสนับสนุนสมาชิก ครอบครัว เพื่อน และคู่ชีวิต 4. ทบทวนสถานการณ์และเก็บข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพ พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ 5. พัฒนาแนวคำถามสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ในแบบสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 6. คู่มือสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในสถานการณ์โควิด-19
“ทุกวันนี้เราไม่ทราบจำนวนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่มีข้อมูลชัดเจนด้านสุขภาพ ยิ่งกว่านั้นพวกเขามักถูกเลือกปฏิบัติในสังคม ถูกบูลลี่ แต่หากมองในฐานะเพื่อนมนุษย์ พวกเขาควรได้รับสิทธิความเท่าเทียมในฐานะพลเมือง ซึ่งการเข้าถึงบริการต่างๆ ทั้งทางสังคมและสาธารณสุข มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ หัวใจหลักที่ สสส. ต้องการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาวะกลุ่ม LGBTIQN+” นางภรณี กล่าว
ดร.ชเนตตี ทินนาม อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความสำคัญของยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN คือ การทำให้กลุ่มคนข้ามเพศมีสุขภาวะทางสุขภาพที่ดี สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ ปัญญา และการมีชีวิตอยู่ในสังคม เพราะทุกอย่างเชื่อมโยงกันในองค์รวม หากทำให้เกิดความสมดุลในส่วนนี้ได้ ก็จะทำให้พวกเขาได้รับความเท่าเทียมในกระบวนการยุติธรรม เข้าถึงสิทธิต่างๆ เหมือนคนทั่วไป โดยที่ไม่ถูกตีตราว่ามีความแตกต่าง
สำหรับยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+มี 5 ข้อ คือ 1. การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2. การพัฒนาฐานข้อมูลและการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ LGBTIQN+ 3. การสร้างระบบบริการสุขภาวะที่เป็นธรรมและเข้าถึงด้านได้สำหรับ LGBTIQN+ 4. การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและชุมชน LGBTIQN+ เพื่อการส่งเสริมสุขภาวะ 5.การพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านการเสริมสร้างสุขภาวะ LGBTIQN+
“ยุทธศาสตร์ LGBTIQN+ มีการทำครอบคลุมเรื่องการแก้ปัญหาสถานการณ์ความหลากหลายทางเพศ 5 ด้าน คือ 1. ปัญหาด้านการศึกษา ถูกกลั่นแกล้งหรือเลือกปฏิบัติ 2. ปัญหาเศรษฐกิจ ถูกละเมิดสิทธิไม่ได้รับโอกาสจ้างงาน 3. ปัญหากฎหมาย ไม่รับรองสถานะบุคคลข้ามเพศ 4. ปัญหาสื่อ ที่มีการผลิตซ้ำ สร้างภาพจำด้านลบ และที่สำคัญที่สุด 5. ปัญหาด้านสุขภาพ ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรได้เท่าเทียมกัน“ ดร.ชเนตตี กล่าว
ด้าน พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า สังคมไทยต้องให้ความสำคัญกับคลินิก LGBT เพราะเป็นพื้นที่สร้างความสบายใจให้กับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ในทางการแพทย์พบว่า สิ่งที่ต้องดูแลคนกลุ่มนี้มี คือ การทำให้เขายอมรับในเพศวิถีของตัวเอง สร้างความเข้าใจครอบครัวให้ยอมรับในตัวตน ส่วนสถานการณ์สุขภาพ พบว่า ปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ถูกขอคำปรึกษามากที่สุด รองลงมาคือการขอความรู้และรับฮอร์โมนเพศ เพื่อความสุขในการใช้ชีวิตตามเพศวิถี และการปฏิบัติตัวอย่างไรให้ครอบครัวและสังคมรอบข้างยอมรับ โดยที่ไม่ถูกบูลลี่ และสุดท้ายคือเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งสถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ และภาคประชาสังคม ดำเนินงานในด้านต่างๆ เช่น 1. โครงการเพศวิถีหลากหลายในความหมายของครอบครัว 2. โครงการขับเคลื่อนกฎหมายชีวิตคู่เพื่อสร้างความเท่าเทียมเรื่องการแต่งงานในสังคม 3. พัฒนาในเครื่องมือและกลไกการสนับสนุนสมาชิก ครอบครัว เพื่อน และคู่ชีวิต 4. ทบทวนสถานการณ์และเก็บข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพ พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ 5. พัฒนาแนวคำถามสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ในแบบสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 6. คู่มือสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในสถานการณ์โควิด-19
“ทุกวันนี้เราไม่ทราบจำนวนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่มีข้อมูลชัดเจนด้านสุขภาพ ยิ่งกว่านั้นพวกเขามักถูกเลือกปฏิบัติในสังคม ถูกบูลลี่ แต่หากมองในฐานะเพื่อนมนุษย์ พวกเขาควรได้รับสิทธิความเท่าเทียมในฐานะพลเมือง ซึ่งการเข้าถึงบริการต่างๆ ทั้งทางสังคมและสาธารณสุข มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ หัวใจหลักที่ สสส. ต้องการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาวะกลุ่ม LGBTIQN+” นางภรณี กล่าว
ดร.ชเนตตี ทินนาม อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความสำคัญของยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN คือ การทำให้กลุ่มคนข้ามเพศมีสุขภาวะทางสุขภาพที่ดี สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ ปัญญา และการมีชีวิตอยู่ในสังคม เพราะทุกอย่างเชื่อมโยงกันในองค์รวม หากทำให้เกิดความสมดุลในส่วนนี้ได้ ก็จะทำให้พวกเขาได้รับความเท่าเทียมในกระบวนการยุติธรรม เข้าถึงสิทธิต่างๆ เหมือนคนทั่วไป โดยที่ไม่ถูกตีตราว่ามีความแตกต่าง
สำหรับยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+มี 5 ข้อ คือ 1. การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2. การพัฒนาฐานข้อมูลและการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ LGBTIQN+ 3. การสร้างระบบบริการสุขภาวะที่เป็นธรรมและเข้าถึงด้านได้สำหรับ LGBTIQN+ 4. การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและชุมชน LGBTIQN+ เพื่อการส่งเสริมสุขภาวะ 5. การพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านการเสริมสร้างสุขภาวะ LGBTIQN+
“ยุทธศาสตร์ LGBTIQN+ มีการทำครอบคลุมเรื่องการแก้ปัญหาสถานการณ์ความหลากหลายทางเพศ 5 ด้าน คือ 1. ปัญหาด้านการศึกษา ถูกกลั่นแกล้งหรือเลือกปฏิบัติ 2. ปัญหาเศรษฐกิจ ถูกละเมิดสิทธิไม่ได้รับโอกาสจ้างงาน 3. ปัญหากฎหมาย ไม่รับรองสถานะบุคคลข้ามเพศ 4. ปัญหาสื่อ ที่มีการผลิตซ้ำ สร้างภาพจำด้านลบ และที่สำคัญที่สุด 5. ปัญหาด้านสุขภาพ ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรได้เท่าเทียมกัน“ ดร.ชเนตตี กล่าว
ด้าน พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า สังคมไทยต้องให้ความสำคัญกับคลินิก LGBT เพราะเป็นพื้นที่สร้างความสบายใจให้กับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ในทางการแพทย์พบว่า สิ่งที่ต้องดูแลคนกลุ่มนี้มี คือ การทำให้เขายอมรับในเพศวิถีของตัวเอง สร้างความเข้าใจครอบครัวให้ยอมรับในตัวตน ส่วนสถานการณ์สุขภาพพบว่า ปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ถูกขอคำปรึกษามากที่สุด รองลงมาคือการขอความรู้และรับฮอร์โมนเพศ เพื่อความสุขในการใช้ชีวิตตามเพศวิถี และการปฏิบัติตัวอย่างไรให้ครอบครัวและสังคมรอบข้างยอมรับ โดยที่ไม่ถูกบูลลี่ และสุดท้ายคือเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์