เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)นายอภิชาติ การุณกรสกุลประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมนายธรรม จตุนาม รองประธานกรรมการ มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนางสาวเมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทวัลแคน โคอะลิชั่น โซเชียล เอ็นเตอร์ไพรซ์ ร่วมกันแถลงข่าว“ถอดรหัสศักยภาพคนพิการทางการมองเห็น สู่…โอกาสการจ้างงาน” และมีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการผลิตหนังสือเสียง 10,000 เล่ม ระหว่าง มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัทบริษัทวัลแคน โคอะลิชั่น โซเชียล เอ็นเตอร์ไพรซ์
นางภรณี กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีคนพิการร้อยละ 3.08 ของประชากรทั้งหมด ในจำนวนนี้มีคนพิการที่เรียนจบชั้นอุดมศึกษาร้อยละ 1.04 เกินครึ่งเป็นคนพิการทางการมองเห็น ซึ่งได้รับการจ้างงานน้อยกว่าคนพิการประเภทอื่น ๆสสส. จึงสนับสนุนโครงการสำรวจลักษณะงาน ทักษะที่จำเป็นในการทำงาน และการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผลต่อผู้พิการทางการเห็น โดยมีวัตถุประสงค์สำรวจอาชีพและทักษะที่เหมาะกับคนพิการทางการเห็น ในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ ยุคAI ซึ่งทักษะที่จำเป็น ได้แก่ 1.ทักษะที่ต้องใช้ความรู้ (Hard Skill) เช่น การใช้สื่ออินเทอเน็ต ทักษะภาษาต่างประเทศ ฯ 2. ทักษะทางสังคม (Soft Skill) เช่น ยอมรับตนเองในระดับดีมาก มีสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ดี และ3. ทักษะสนับสนุน (Support skill) เช่น ปรับตัวเข้ากับองค์กรได้ดี เข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ได้รวดเร็ว
“คนพิการทางการเห็นโดดเด่นเรื่องการฟัง พูด อ่าน พิมพ์สัมผัส และถอดเทปได้ดี ดังนั้นงานที่ทำได้ 1.งานที่ใช้การสื่อสาร เช่น ประสานงาน ประชาสัมพันธ์2. งานที่ใช้ความรู้/ทักษะเฉพาะ เช่น งานด้านกฎหมาย งานด้านภาษา3. งานธุรการ เช่น จดบันทึก เอกสารอิเล็กทรอนิกส์4.งานที่ใช้เทคโนโลยี เช่น ผลิตสื่อ ฐานข้อมูล5. งานบริการและงานนันทนาการ เช่น สร้างความบันเทิง งานให้บริการและ 6. งานที่ใช้ประสาทสัมผัสอื่น เช่น ผู้เชี่ยวชาญในบริษัทน้ำหอม นอกจากนี้ สสส.ยังสนับสนุนเรื่องการส่งเสริมโอกาสการมีงานทำโดยสนับสนุนการเตรียมความพร้อมของคนพิการและสถานประกอบการ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการผ่านการมีส่วนร่วมในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการมีส่วนร่วมในสังคม ทั้งกิจกรรมวิ่งด้วยกัน ดูหนังด้วยกัน เป็นต้น” นางภรณี กล่าว
นายอภิชาติ กล่าวว่า โครงการจ้างงานกระแสหลัก Inclusive workplace หรือ IW ทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการจ้างงานบัณฑิตและเยาวชนที่พิการ ทำหน้าที่ออกแบบ พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ให้เตรียมความพร้อมก่อนเข้าทำงานจริง แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.สร้างและพัฒนากระบวนการประสานงานและส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน 2.ส่งเสริมความพร้อมในการทำงานกับบัณฑิตพิการ 3.ส่งเสริมให้นักศึกษาพิการได้ฝึกงาน 4.สนับสนุนทุนอาชีพแก่ครอบครัวเยาวชนพิการให้เข้าถึงการศึกษา ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2556
นายธรรม กล่าวว่า โครงการห้องสมุดเบญญาลัย มีเป้าหมายให้คนพิการทางการเห็นมีงานทำในยุค AI โดยจะต้องส่งเสริมด้านการศึกษา อาชีพ ฟื้นฟูสมรรถภาพเต็มที่ ผ่านระบบห้องสมุดออนไลน์ แพลตฟอร์มนี้สามารถใช้ได้ทุกคนในการเพิ่มทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อสะท้อนความเสมอภาคในสังคม เพราะความรู้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก ย่อมสามารถสร้างความเท่าเทียมกันในสิทธิของมนุษย์
นางสาวเมธาวี กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการผลิตหนังสือเสียง 10,000 เล่มทำขึ้นมาเพื่อคนพิการวัยทำงานกว่า 3แสนคน ที่กำลังว่างงานและต้องพึ่งพาสวัสดิการของรัฐ ให้มีทักษะเท่าทันอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ ที่กำลังขาดแคลนแรงงานด้านจัดเตรียมข้อมูล (Data Labelling) ในฐานะบริษัทพัฒนาด้านนี้ จึงมองเห็นโอกาสที่จะทำให้ผู้พิการมีทักษะด้านนี้ผ่านแพลตฟอร์มและหลักสูตรออนไลน์ เพื่อสร้างโอกาสการทำงานรูปแบบใหม่ ผ่านความถนัดของผู้พิการท