xs
xsm
sm
md
lg

เข็มทิศสู่อนาคต! ม.กรุงเทพ ชู 3 หลักสูตรขานรับวิถีชีวิตยุค New Normal

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อไม่นานมานี้ บริษัทโฆษณาและการตลาดชื่อดัง GroupM และเอเยนซีในเครือได้จัดทำรายงานเรื่อง Coronavirus in Thailand-Trends & Implications for Brands and Marketers โดยสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จนกลายเป็น New Normal หรือความปกติใหม่

ผลสำรวจชี้ชัดว่า นอกจากความห่วงใยเรื่องสุขภาพแล้ว เหตุที่ผู้คนบางส่วนถูกเลิกจ้าง ถูกลดเงินเดือน หรือเผชิญอุปสรรคในการทำธุรกิจทำให้สถานภาพทางการเงินผันผวนและขาดความมั่นคงอย่างปุบปับฉับพลัน 66 เปอร์เซ็นต์ ของผู้บริโภคชาวไทย จึงหันมาใส่ใจเรื่องการวางแผนการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันมากขึ้นในขณะที่ชาวไทยอีก 52 เปอร์เซ็นต์หันมาสมัครดูรายการต่างๆ ผ่านการสตรีมมิ่ง (streaming) และ 44 เปอร์เซ็นต์ สั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าเดิม ซึ่งพฤติกรรม 2 ประการหลังก็เป็นผลพวงจากการใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้นนั่นเอง (ที่มาข้อมูล : http://www.groupmthailand.com/insightm/home/view/168)

ผลสำรวจไม่เพียงแสดงให้เห็นพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงทิศทางของอาชีพที่จะตอบรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเหล่านั้นด้วย ดังนั้น นักเรียนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่า ควรเลือกเรียนสาขาวิชาใดที่จะตอบโจทย์ตลาดงานในอนาคต เพราะโควิด-19 ได้มาพลิกโฉมตลาดงานเรียบร้อยแล้ว บางสาขาวิชาที่เคยอยากเรียน จึงไม่อาจตอบโจทย์อาชีพในฝันอีกต่อไป


มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าของไทยที่ได้รับการยอมรับว่ามีสาขาวิชาตอบรับกระแสโลกมาโดยตลอด จึงชู 3 หลักสูตรเด่นที่สอดคล้องวิถีชีวิตแบบ New Normal ดังกล่าว

หลักสูตรการวางแผนการเงินและการลงทุนคณะบริหารธุรกิจ ในภาวะเศรษฐกิจผันผวน ผู้คนเริ่มตระหนักว่า การฝากเงินในธนาคารเพียงอย่างเดียวไม่อาจให้ดอกผลเพียงพอต่อการดำรงชีวิต และหากไม่ออมเงินในรูปแบบอื่นๆ เช่น การลงทุนหุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม ตราสารอนุพันธ์ การทำประกันชีวิต การวางแผนเกษียณ การวางแผนภาษี การวางแผนมรดก ฯลฯ ชีวิตอาจเสี่ยงเกินไป แต่การลงทุนเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยนักวางแผนการเงินมาช่วยดูแลเพื่อให้ได้รับดอกผลอย่างเต็มที่ ซึ่งสาขาวิชานี้เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวของไทยที่สอนด้านนี้โดยตรงในระดับปริญญาตรี โดยนำหลักสูตรการสอบใบอนุญาต CFP (Certified Financial Planner) มาพัฒนาเป็นหลักสูตรทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะมีความรู้ตอบโจทย์พฤติกรรมการออมเงินของผู้คนในยุค New Normal อย่างแท้จริง


หลักสูตรวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการผลิตสื่อสตรีมมิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ ด้วยภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงเสริมเขี้ยวเล็บให้นักศึกษาด้วยการเพิ่มความรู้ด้านการผลิตสื่อสตรีมมิ่ง (สื่อที่เผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) เข้าไป เช่น การถ่ายทอดวิดีโอในยูทูป เฟซบุ๊ก หรือออนไลน์แพลตฟอร์มอย่าง Netflix เรียกว่า เป็นความรู้ที่สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุค New Normal มาก เพราะจากผลสำรวจข้างต้นระบุว่า ผู้คนหันมาเสพสื่อผ่านช่องทางสตรีมมิ่งมากขึ้น ซึ่งสื่อสตรีมมิ่งมีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างจากรายการโทรทัศน์ทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการชม ช่วงเวลาในการชม หรือแม้แต่รสนิยมในการเลือกเสพสื่อ สาขานี้จึงเสริมความรู้ในมิติของ Big Data เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถ่องแท้


หลักสูตรการตลาดดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด ผู้คนก็พากันใช้ชีวิตบนโซเชียลมีเดียมากขึ้นจนการตลาดดิจิทัลกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจอยู่แล้ว แต่สถานการณ์โควิด-19 ก็ยิ่งเร่งให้การตลาดดิจิทัลเติบโตมากขึ้น เร็วขึ้น และชัดเจนขึ้น เพราะผู้คนจำเป็นต้องอาศัยอยู่บ้านจากนโยบาย Lock Down ของรัฐบาลการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จึงมีอัตราสูงขึ้น อีกทั้งผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุก็ถูกสถานการณ์บังคับให้หันมายอมรับช่องทางนี้ การตลาดดิจิทัลเลยมีแนวโน้มจะเติบโตมากขึ้นเป็นลำดับ โดยสาขาการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดดเด่นด้วยการเรียนแบบ Project-based Learning กับผู้เชี่ยวชาญตัวจริงทั้งจาก Facebook, Line และ Google เป็นต้น

แม้ New Normal จะเป็นเรื่อง “ใหม่” แต่ท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นเรื่อง “ปกติ” ดังนั้น สิ่งสำคัญจึงไม่ใช่การปรับตัว ทว่า เป็นการมองไปยังอนาคตที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปต่างหาก และการเลือกเรียนสาขาให้ตอบโจทย์วิถีชีวิต New Normal นั้น เองจะเป็นเสมือนเข็มทิศนำไปสู่อนาคตโดยไม่หลงทาง

(Advertorial)


กำลังโหลดความคิดเห็น