รศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา
ภาควิชาตจวิทยา
เมื่อเอ่ยถึงสารทำให้ผิวขาวหรือไวเทนนิ่ง (Whitening) เราคงคุ้นหูกันพอสมควร เพราะเป็นส่วนผสมที่มีอยู่แทบทุกผลิตภัณฑ์ เพื่อการบำรุงรักษาความงาม ไม่ว่าคุณจะใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากน้อยเพียงใด หากคุณกำลังมีแผนจะเป็นคุณแม่หรือกำลังตั้งครรภ์ มีข้อคววระวังเกี่ยวกับไวเทนนิ่งมาฝากกัน
ไวเทนนิ่งแบ่งได้ 3 กลุ่มตามลักษณะที่เชื่อว่าสารนั้นทำให้ขาวได้อย่างไร ได้แก่
- กลุ่มที่มีผลยับยั้งการสร้างเม็ดสี ตัวอย่างเช่น สารไฮโดรควินิน
- กลุ่มที่มีผลลอกเซลล์ผิวหนังชั้นบน ตัวอย่างเช่น สารที่เป็นกรด ทั้งกรดวิตามินเอ วิตามินซี และกรดผลไม้
- กลุ่มอื่น ๆ เช่น สารอาร์บูติน และลิโคริช เป็นต้น
โดยทั่วไปคุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ครีมทาผิวได้ทุกชนิดโดยไม่เป็นอันตราย แต่สำหรับยากินที่เป็นกรดวิตามินเอ ซึ่งมักใช้กันในการรักษาสิวจำเป็นต้องระวังอย่างมาก กรดวิตามินเอนี้มีทั้งในรูปแบบการกินและการทา จากรายงานแพทย์ทั่วโลกพบว่ากรดวิตามินเอแบบกินมีผลต่อการตั้งครรภ์โดยตรง คือ
- มีผลต่อการสร้างอวัยวะของตัวอ่อนในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 1-3 เดือนแรก โดยมีผลต่อระบบหัวใจ ระบบประสาท และกระจกตา
- การเกิดผลดังกล่าว ไม่ขึ้นกับระยะเวลาหรือปริมาณที่ใช้ คือการใช้มานานหรือเพิ่งจะใช้ หรือใช้มากหรือน้อย ส่งผลดังกล่าวได้ทั้งนั้น ความรุนแรงขึ้นกับแม่และเด็กแต่ละคน
- ผู้ที่กินกรดวิตามินเอ เพื่อรักษาโรคบางอย่างนั้น จะต้องหยุดยาเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อน (แล้วแต่ชนิดของยา ซึ่งมีตั้งแต่ 1 เดือนจนถึง 2 ปี) จึงจะตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย
โดยเฉพาะในยากินรักษาสิวซึ่งหญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นกลุ่มที่มีโอกาสใช้มาก การใช้ยาเหล่านี้ควรสั่งโดยแพทย์ผิวหนัง
- ไม่กินยารักษาสิวที่มีกรดวิตามินเอเป็นส่วนผสม
- หากจำเป็นต้องได้รับยากิน ควรสอบถามคุณหมอก่อนว่า ถ้าตั้งครรภ์สามารถกินยานั้นได้หรือไม่
- การที่ผิวหนังแตกลายขณะตั้งครรภ์ขึ้นกับสภาพผิวตามพันธุกรรม หากกรรมพันธ์มีผิวแตกง่าย แม้ป้องกันก็แตกได้เช่นกัน
- ขนาดและความเร็วของผิวหนังที่ขยาย ถ้าขยายเร็ว ผิวหนังก็จะแตกลายได้
- การใช้ครีมบำรุงหรือมอยส์เจอร์ไรเซอร์ เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวขณะตั้งครรภ์ จะช่วยลดการแตกลายของผิวหนังหน้าท้องได้
โดยก่อนสั่งยา แพทย์ผิวหนังจะต้องให้ความรู้แก่ผู้ป่วยก่อนว่าห้ามตั้งครรภ์ในช่วงที่ใช้ยา และจะต้องมีการตรวจการตั้งครรภ์ในรายที่สงสัยก่อนให้ยาทุกราย ส่วนกรดวิตามินเอแบบทานั้นยังไม่มีรายงานว่ามีผลต่อเด็กในครรภ์ แต่ถ้าหากแม่ท้องกังวลว่าการทาสารดังกล่าวปริมาณมากจะทำให้มีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายก็ควรจะเลี่ยงดีกว่า
*******
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
#เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 รพ.ศิริราชปิดบริการเจาะเลือดที่ศูนย์ไตเทียมกัลยาณิวัฒนาถ.รถไฟ โปรดใช้บริการเจาะเลือดที่ห้อง 108 ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 1 แทน
#รพ.ศิริราชงดให้บริการคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 จะคลี่คลาย สามารถนัดหมาย/เลื่อนนัดออนไลน์ผ่านe-mail: specialclinic47@gmail.comหรือผ่าน App Siriraj Connectสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2419 9801
#กรณีผู้ป่วยคลินิกในเวลาราชการ รพ.ศิริราช ที่มีอาการคงที่มียารับประทานเพียงพออย่างต่อเนื่องขอให้ติดต่อเลื่อนนัดกับพยาบาลประจำแผนกที่มาตรวจรักษาหรือเลื่อนนัดออนไลน์ผ่าน App Siriraj Connectหรือกรณีไม่มียาเพียงพอหากไม่ประสงค์มารับยาด้วยตนเอง ขอให้ญาติที่มีสุขภาพแข็งแรงมารับยาแทน พร้อมแสดงบัตรประชาชน (ของผู้ป่วย) และเอกสารหลักฐานตามสิทธิการรักษามารับยา (กรณีแพทย์สั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น เจาะเลือด หรือเอกซเรย์ ก่อนพบแพทย์ สามารถนำผลตรวจจากโรงพยาบาลใกล้บ้านได้)
#พิพิธภัณฑ์ศิริราชปิดทำการถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน